Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธปท. ย้ำไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงิน เพื่อความได้เปรียบทางการค้า หลังไทยติดโผ ‘ส่อบิดเบือนค่าเงิน’ ของกระทรวงการคลัง สหรัฐฯ พร้อมยืนยันไม่กระทบการค้าการลงทุน สร้างความมั่นใจสหรัฐฯ ต่อเนื่อง แม้ล่าสุดกดดันบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 29.91 บาท/ดอลลาร์

นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

วันที่ 17 ธ.ค. 2563 นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังวันที่ 16 ธ.ค. 2563 กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาจัดไทยเข้าสู่กลุ่มเฝ้าติดตาม (monitoring List) ด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่า 2% ของ GDP ซึ่งขัดต่อเกณฑ์และเงื่อนไขภายใต้กฎหมายภายในของสหรัฐฯ

ธปท. ยืนยันว่า ธปท.ไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้สื่อสารทำความเข้าใจกับทางการสหรัฐฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของไทย รวมถึงสร้างความมั่นใจว่าไทยดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น และจะเข้าดูแลค่าเงินบาทเมื่อมีความจำเป็นเพื่อชะลอความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้รุนแรงเกินไปทั้งในด้านแข็งค่าและอ่อนค่า

“การถูกจัดเข้ากลุ่มเฝ้าติดตาม (monitoring list) ไม่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจที่มีการค้าการลงทุนกับสหรัฐฯ ภาคธุรกิจทั้งไทยและสหรัฐฯ ยังคงดำเนินธุรกิจกันได้ตามปกติ และการประเมินดังกล่าวไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายของ ธปท. เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศ รวมถึงการดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นไปตามหน้าที่ของธนาคารกลางและความจำเป็นของสถานการณ์”

อย่างไรก็ตาม จากการเผยแพร่รายงานการประเมินนโยบายเศรษฐกิจและอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ ฉบับล่าสุด ในรอบนี้มีคู่ค้า 10 ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเฝ้าติดตาม (monitoring list) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมนี อิตาลี สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ไทย และอินเดีย โดยในวันที่ 17 ธ.ค. 2563 หลังจากการเผยแพร่รายงานดังกล่าว ค่าเงินบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท/ดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว และเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 29.91 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ กลุ่มเฝ้าติดตาม (monitoring list) หมายถึงกลุ่มประเทศใดที่อาจมีการบิดเบือนค่าเงิน เพื่อความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ ที่ขาดดุลการค้าต่อเนื่อง โดยวิธีการที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆ เข้ามาทำธุรกรรมให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงมากกว่าปัจจัยพื้นฐานของประเทศอย่างมาก โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าประเทศใดบิดเบือนการค้ามี 3 ข้อ ได้แก่ (1) การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่า 2% ของ GDP (2) การเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และ (3) การสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 2% ของ GDP

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า