Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เครือข่ายผลิตสุรา’ บุกร้องสภาฯ ค้านติดฉลากน่ากลัวบนขวด ‘กรมควบคุมโรค’ ชี้แจงปมกระแสข่าว ‘ฉลากใหม่’ ไม่จริง

วันนี้ (28 ก.พ. 67) นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กทม. พรรคก้าวไกล นำตัวแทนเครือข่ายธุรกิจอุตสาหกรรมสุรา นักวิชาการ รวมถึงสมาคมผู้ประกอบการนำเข้าและผลิตสุราแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตไวน์ภายในประเทศ ยื่นหนังสือต่อ นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และนายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เพื่อคัดค้านและเรียกร้องให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง กรณีการติดฉลากเป็นรูปน่ากลัวบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำ ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือน สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 (1) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวบริการ อาหารและเครื่องดื่ม ร้านอาหาร และโรงแรมที่พัก ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากร่างประกาศฯ ไม่เห็นด้วยและมีความประสงค์ให้ยกเลิกเพิกถอนร่างประกาศฯ นี้ เนื่องจากไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและนานาอารยประเทศ รวมถึงไม่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันและนวัตกรรมของผู้ประกอบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและผู้ประกอบการในระดับชุมชน ส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 420,000 ล้านบาท โดยที่ รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ปิดโอกาสการเป็นครัวโลกของประเทศไทย โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลกำลังดำเนินการปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย ดึงนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อและมีคุณภาพสูงทั้งที่มาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจและกลุ่มไมซ์ (Meetings, Incentives, Conferences, and Exhibtions หรือ MICE) ให้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทย
ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติโดยส่วนใหญ่ถือว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินดื่มและสังสรรค์อย่างรับผิดชอบ แต่บทบัญญัติตามร่างประกาศฯ นี้ กลับด้อยค่าภาพลักษณ์ และบั่นทอนโอกาสในการยกระดับให้ประเทศไทยในการเป็นจุดหมายด้านการท่องเที่ยวชั้นนำระดับหรูหราของภูมิภาคและของโลก

นอกจากนี้ ร่างประกาศฯ นี้ มีความทับซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องสุรา ซึ่งกำหนดให้ฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องแสดงข้อความ “คำเตือน : ห้ามจำหน่ายสุราแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ : การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง : บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่ควรดื่ม” และกฎหมายของกรมสรรพสามิตที่กำหนดให้ต้องแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์ลงบนฉลากสุรา โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวนี้อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังได้แสดงกราฟฟิกสัญลักษณ์การรณรงค์การดื่มไม่ขับ การไม่ดื่มขณะตั้งครรภ์ รวมถึงดื่มมาตรฐาน ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นสากลและใช้เป็นการทั่วไปในต่างประเทศทั่วโลกบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยความสมัครใจ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสร้างบรรทัดฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มอย่างเป็นอันตราย

และมาตรการนี้มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผิดกฎหมาย ได้แก่ สุราลักลอบนำเข้าและสุราปลอม เนื่องด้วยผู้บริโภคมีความต้องการซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่ปรากฎข้อความหรือรูปภาพคำเตือนที่มีความรุนแรง ไร้ความเป็นอารยะ อันไม่พึงประสงค์บนบรรจุภัณฑ์ รัฐบาลพึงให้ความสำคัญและส่งเสริมมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มอย่างเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มจนเกินพอดี การเมาแล้วขับ และการดื่มก่อนวัยอันควร ทางกลุ่มจึง ขอให้คณะ กมธ. พิจารณาการดำเนินการอย่างเร่งด่วนภายใต้บริบทและอำนาจ ของคณะกมธ. ในการยกเลิกเพิกถอนประกาศดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่ร้ายแรงต่อภาวะทางเศรษฐกิจของชาติ การประกอบการธุรกิจเอกชน ประชาชน รวมทั้งนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

นายเท่าพิภพ กล่าวว่า เรื่องการติดฉลากเป็นรูปน่ากลัว เพื่อควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กระทรวงสาธารณสุข ที่รับฟังความคิดเห็นอยู่ ถือเป็นประเด็นสำคัญในสังคม ทั้งนี้กรณีมีโฆษกพรรคการเมือง และโฆษกของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กรมควบคุมโรค บอกว่าตนบิดเบือนข้อมูลเรื่องนี้ตนขอชี้แจงว่าหากไปดูตามมาตรา 26 ของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข นั่งหัวโต๊ะ จะหาว่าตนบิดเบือนได้อย่างไรก็ไม่ทราบ ดังนั้นอยากให้มีวุฒิภาวะหน่อย อย่างไรก็ตาม ตนยังชื่นใจ ที่มีนพ.ทศพรมาด้วย มีตัวแทนทั้ง 2 ฟากฝั่งของการเมือง ฝ่ายค้านและรัฐบาล จึงน่าจะมีข้อสรุปที่ดีไปพิจารณา เบื้องต้นได้ยินว่าเรื่องการติดฉลากนี้จะไม่ผ่าน ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี

นายเท่าพิภพ กล่าวต่อว่า นพ.ชลน่านดูแลกำกับข้าราชการได้ดีแค่ไหน การปรับคณะรัฐมนตรีก็ใกล้เข้ามาแล้ว ซึ่งเดือนหน้าจะมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าสภา ตนและพรรคก้าวไกลได้เสนอร่างยกเลิกร่าง พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับนี้ ตนคิดว่าข้าราชการออกกฎ ใช้กฎหมายเอง เป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม

“ดังนั้นถ้ารัฐมนตรีที่เป็นเจ้ากระทรวงเอง มีความรับผิดชอบ มาจากการเลือกตั้ง มาจากฝั่งการเมืองต้องคำนึงถึงเรื่องนี้” นายเท่าพิภพ กล่าว

ด้าน นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงในวันที่ 27 ก.พ. 67 ประเด็นการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการออกข้อบังคับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับติดบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทุกประเภท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามและจะมีผลใช้บังคับได้ทันทีนั้น

กระแสข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด โดยร่างกฎหมายที่กำลังเป็นข่าวอยู่นั้น ได้แก่ ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ฉลาก พร้อมทั้งข้อความคำเตือนสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้า พ.ศ. …. ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านระบบกลางทางกฎหมาย และสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่าน Google Form ระหว่างวันที่ 12-29 ก.พ. 67

ซึ่งขั้นตอนหลังจากที่รับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นแล้ว จะนำมาสรุปผล เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการร่างและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรืออนุบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ประกอบการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศอีกครั้ง ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างประกาศฉบับนี้มีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธกรณีในข้อตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade Agreement : TBT Agreement) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องแจ้ง (Notification) กฎระเบียบ ที่อาจส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการค้าของประเทศสมาชิกอื่น จึงต้องมีการแจ้งเวียนร่างประกาศดังกล่าวให้กับประเทศสมาชิก WTO เพื่อพิจารณาให้ความเห็น หลังจากดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จสิ้น จึงจะสามารถเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลงนามเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า