SHARE

คัดลอกแล้ว

Bitcoin เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่หลายคนยังคงมองว่ามีความเสี่ยง แต่ในระดับโลก Bitcoin เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาที่มีการยอมรับบิตคอยน์ผ่านกองทุน ETF หลายประเทศยังเริ่มนำ Bitcoin มาใช้เป็นทุนสำรองของประเทศแล้ว

และหากพูดถึงประเทศที่ใช้บิตคอยน์เป็นทุนสำรองสูงสุดตามลำดับก็จะมี สหรัฐอเมริกา จีน สหราชอาณาจักร เอกซัลวาดอร์ รวมถึงประเทศเล็กๆ อย่าง ‘ภูฏาน’ 

ที่น่าสนใจคือ การถือครอง Bitcoin ของ ‘รัฐบาลภูฏาน’ นอกจากจะใช้เป็นทุนสำรองแล้วยังสามารถใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ด้วย 

เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร? ‘ภูฏาน’ ใช้ Bitcoin  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังไงบ้าง? TODAY Bizview จะสรุปให้ฟัง

[ ภูฏาน ไม่เด่นเทคโนโลยี เน้นให้คนอยู่กับชีวิตจริง แต่ซ่อนเหมือง Bitcoin ไว้ทำเงินอยู่ ]

เริ่มจากการทำความรู้จัก ‘ภูฏาน’ กันคร่าวๆ กันก่อน

ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ มีธรรมชาติที่สวยงาม สถาปัตยกรรมแปลกตา ประชากรในประเทศก็แค่ราวๆ 8 แสนคนเท่านั้น ซึ่งแนวคิดการพัฒนาก็ไม่เหมือนประเทศอื่น เพราะเน้นไปที่ความสุขของประชาชนเป็นหลัก ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขอันดับต้นๆ ของโลก 

โดยภูฏานไม่ได้มีเทคโนโลยีที่เอื้อต่อชีวิตประจำวันมากมาย แต่เน้นให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สร้างความอบอุ่นของครอบครัว รัฐบาลแทบจะไม่ให้ผู้คนในประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายพื้นฐานอย่างค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอมหรืออะไรเลย บ้านเมืองก็เป็นเมืองเงียบๆ สงบสุขให้ความรู้สึกปลอดภัย

อย่างที่บอกไปว่าเมืองแห่งนี้ไม่ได้โดดเด่นในเทคโนโลยี แต่รัฐบาลภูฏานกลับถือ Bitcoin เป็นทุนสำรองของประเทศอยู่ที่ 13,000 เหรียญ มูลค่ากว่า 780 ล้านดอลลาร์หรือราวๆ 2.8 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 27% ของ GDP 

โดยบิตคอยน์ทั้งหมดได้มาจากการ ‘ขุดเหมือง’ ที่เป็นของตัวเอง สามารถขุดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ในสายตาคนทั่วโลกก็ไม่คาดคิดว่าประเทศแห่งนี้จะมีเหมืองขุดบิตคอยน์ซ่อนอยู่

เพราะโดยปกติแล้วประเทศอื่นๆ เวลาจะเก็บ Bitcoin เข้ารัฐนั้นจะมาในรูปยึดจากคดีความทางกฎหมาย เช่น คดีฟอกเงิน ขณะที่ภูฏานเก็บ Bitcoin เองผ่านการสร้างเหมืองขุดตั้งอยู่บนพื้นที่ของโครงการ Education City ซึ่งจริงๆ พื้นที่นี้มันควรจะกลายเป็นสถานศึกษา แต่ทว่ารัฐบาลเอาไปดัดแปลงเป็นเหมืองขุด Bitcoin 

สำหรับการลงทุนใน Bitcoin ของภูฏาน รัฐบาลมีบริษัทที่ชื่อ Druk Holding & Investments (DHI) เป็นผู้ดำเนินการทำเหมือง Bitcoin นี้ โดยมีการขุด Bitcoin วันละ 1-5 เหรียญ ซึ่งส่วนใหญ่เก็บเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ มีการย้าย Bitcoin ไปไว้ในแพลตฟอร์มต่างๆ เตรียมขายเพื่อทำกำไรบ้างบ้างตามความผันผวนของราคา แต่ส่วนใหญ่จะขายเมื่อมีความต้องการใช้เงินเท่านั้น  

นอกจาก Bitcoin ที่ถือครองแล้ว ทางการภูฏานยังมี Ethereum มูลค่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราวๆ 1.2 พันล้านบาท  BNB มูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐราวๆ 100 ล้านบาท  และสินทรัพย์บนบล็อกเชน Polygon มูลค่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือราวๆ 7.2 แสนบาทอีกด้วย

[ สนับสนุน Bitcoin ได้กำไรมาเอาไปเงินไปพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ]

ในภาพรวมเศรษฐกิจภูฏานมีรายได้หลักๆ เข้าประเทศจากการท่องเที่ยว การขายไฟฟ้าพลังน้ำ และการเกษตร ยิ่งช่วงโควิด-19 นักท่องเที่ยวเข้ามายังภูฏานไม่ได้ เศรษฐกิจยิ่งอ่อนแอ รัฐบาลจึงทำเหมือง Bitcoin ขึ้นเพื่อกระจายแหล่งรายได้ของประเทศ 

ซึ่งรัฐบาลมีทัศนคติแง่บวกกับการขุดเหมือง Bitcoin และสินทรัพย์ดิจิทัลมากๆ จนทุ่มลงทุนให้กับการพัฒนาเหมืองแร่และรณรงค์ให้นักเรียนเข้าใจในสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น

เช่นในปี 2021 ภูฏานเริ่มขยายการลงทุนในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพื่อสนับสนุนการทำเหมือง Bitcoin  โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่เคยเป็นโครงการ Education City ในเมืองหลวงทิมพู จากนั้นระหว่างปี 2021 ถึงปี 2023 ก็ลงทุนกับเหมือง Bitcoin เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเงินลงทุนเกือบ 500 ล้านดอลลาร์หรือราวๆ 1.8 หมื่นล้านบาท

ถัดมาในปี 2023 บริษัท DHI ของรัฐบาลก็ร่วมมือกับบริษัท Bitdeer ของสิงคโปร์เพื่อสร้างกองทุนขุด Bitcoin สีเขียว โดยใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนของประเทศ ขณะนี้ภูฏานมีศูนย์ทำเหมือง Bitcoin  5 แห่ง และอยู่ในระหว่างการสร้างแห่งที่ 6 ในปี 2024

มากไปกว่านั้นผลสำรวจจากนักศึกษาของการเงินเศรษฐศาสตร์สากลของมหาวิทยาลัยในภูฏานกว่า 91% รู้จักคริปโตเคอเรนซี และส่วนใหญ่มีความเห็นเชิงบวกต่อคริปโตไปด้วย

นอกจากนี้ นโยบายการลงทุนของรัฐภูฏานไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะคริปโตเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โดรนและศูนย์ข้อมูล อีกทั้งยังมีเหมืองแร่ที่ใช้สำหรับการสกัดแมกนีเซียมและกราฟีนด้วย 

โดยที่รายได้จากการทำเหมืองขุด Bitcoin และการขายคริปโตเคอเรนซี รัฐบาลนำไปใช้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศ เช่น ในปี 2023 ได้ใช้ผลกำไรจากการขาย Bitcoin เพื่อเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการ 50% ไปพัฒนาทุนส่วนๆ อื่นๆ ในประเทศ หรือพูดง่ายๆ ว่าในการขายทำกำไรแต่ละครั้งรัฐบาลจะเอาเงินไปใช้พัฒนาให้ประชาชน

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียคาดการณ์ว่า GDP ของภูฏานจะเติบโต 4.4% ในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้น 7% ในปี 2025 ถือเป็นตัวเลขที่เติบโตดีไม่น้อย 

และนี่คือภูฏานประเทศเล็กๆ ในหุบเขา เมืองที่โดดเด่นในธรรมชาติ ศาสนาพุทธ ความเงียบสงบ ห่างไกลเทคโนโลยี แต่ใครจะคิดว่ารัฐบาลจะหัวสมัยใหม่ หาเงินเพื่อประเทศด้วยวิธีเหล่านี้.. 

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า