Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การขอปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวของ กทม. เป็น 104 บาท สำหรับราคาสูงสุดจากต้นสายถึงปลายสาย กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “แพงเกินไป”

ราคา 104 บาท มีที่มาจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปัจจุบัน ประกอบด้วยช่วงการเดินรถ 3 ส่วน คือ 1 เส้นทางหลัก และอีก 2 ส่วนต่อขยาย

ตามสัญญาสัมปทาน

• เส้นทางหลัก (หมอชิต – อ่อนนุช) มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16 – 44 บาท

• ส่วนต่อขยายที่ 1 (หมอชิต – คูคต) มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท

• ส่วนต่อขยายที่ 2 (อ่อนนุช – เคหะฯ) มีอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท

เมื่อนำค่าโดยสารทั้ง 3 ส่วนมาบวกกัน โดยตัดค่าแรกเข้า (15 บาท) ตรงจุดเชื่อมต่อระหว่างส่วนต่อขยายออก จะได้ราคาค่าโดยสารสูงสุดที่ 104 บาท จากคูคต – เคหะฯ

อย่างไรก็ดี หากมีการขึ้นค่าโดยสารตามราคานี้จริง คนกรุงเทพฯ จะต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้าต่อเที่ยวสูงสุดถึง 30% ของค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ถ้านั่งไปกลับก็คูณสองเป็น 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ/วัน ดังนั้นเมื่อพิจารณาสัดส่วนค่าโดยสารใหม่ต่อค่าแรงขั้นต่ำแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนจะเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าอย่างเท่าเทียม

แต่สิ่งที่น่าตกใจกว่านั้น คือ ราคา 104 บาท อาจเป็นแค่จุดเริ่มต้นของปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพง

รถไฟฟ้ายิ่งหลากสี ค่าโดยสารยิ่งแพง เพราะสัญญาสัมปทาน

ทุกวันนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการทั้งหมด 6 สาย ได้แก่ สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีน้ำเงิน สีม่วง สีทอง และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ขณะที่อีก 2 สาย คือ สีชมพูและสีเหลือง จะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

รถไฟฟ้าแต่ละสีมีผู้ได้รับสัมปทานแตกต่างกัน รวมถึงรายละเอียดของสัญญาสัมปทานก็ถูกกำหนดไว้ไม่เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 10 สัญญา ส่งผลให้การคิดอัตราค่าโดยสารเป็นไปอย่างไม่สอดคล้องและซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างเช่น

• สายสีเขียวส่วนหลัก (หมอชิต – อ่อนนุช) มีทั้งหมด 25 สถานี อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16 – 44 บาท

• สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – หัวลำโพง – ท่าพระ) มีทั้งหมด 38 สถานี อัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 17 – 42 บาท

• สายสีชมพู (แคราย – มีนบุรี) มีทั้งหมด 30 สถานี คาดว่าอัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 14 – 42 บาท

หากมองแยกเป็นสาย จะสังเกตว่าค่าโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 42 – 44 บาท ถือว่าไม่สูงนัก เพราะรัฐมีนโยบายกำหนดเพดานราคาเอาไว้ แต่ปัญหาค่าโดยสารแพงจะเกิดขึ้นทันที เมื่อผู้โดยสารต้องนั่งรถไฟฟ้ามากกว่า 1 สาย เพราะต้องจ่าย “ค่าแรกเข้า” ใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนระบบ

อธิบายง่ายๆ ค่าแรกเข้า คือ ราคาเริ่มต้น เมื่อผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า ปัจจุบันอยู่ที่ 15 – 17 บาท หลังจากนั้นค่าโดยสารจะค่อยๆ ถูกคิดเพิ่มตามจำนวนสถานี เฉลี่ยที่ 2 – 4 บาท/สถานี

ในการเดินทาง 1 เที่ยว ผู้โดยสารควรจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และถูกคิดค่าโดยสารตามระยะทาง

แต่ทุกวันนี้ไม่เป็นอย่างนั้น กรณีเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามากกว่า 1 สาย ในการเดินทาง 1 เที่ยว เช่น ขึ้นสายสีเขียว (BTS) ต่อสายสีน้ำเงิน (MRT) หรือขึ้นสายสีเขียว (BTS) ส่วนหลัก ต่อสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ผู้โดยสารจะต้องจ่ายค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกัน ทั้งที่เป็นการเดินทางเที่ยวเดียว ทำให้ค่าโดยสารแพงและไม่สะท้อนระยะทาง

เปรียบเทียบให้เห็นภาพ เช่น กรณีที่ 1 เดินทางจากสถานีพระราม 9 ไปสถานีบางหว้า นั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายเดียว จำนวน 15 สถานี เสียค่าโดยสาร 42 บาท กับกรณีที่ 2 เดินทางจากสถานีพระราม 9 ไปสถานีพหลโยธิน 59 นั่งรถไฟฟ้า 2 สาย (น้ำเงิน – เขียวอ่อน) จำนวน 15 สถานีเท่ากัน แต่เสียค่าโดยสาร 70 บาท หรือแพงกว่ากันถึง 28 บาท เป็นเพราะกรณีที่ 2 มีการเปลี่ยนระบบ ผู้โดยสารต้องเสียค่าแรกเข้า 2 ครั้ง แทนที่จะถูกคิดค่าโดยสารตามจำนวนสถานี

นี่จึงเป็นปัญหาของการที่รัฐกำหนดเพดานค่าโดยสารของรถไฟฟ้าแยกเป็นสาย ตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานที่ทำแยกกันต่างกรรมต่างวาระ แต่ไม่ได้กำหนดเพดานค่าโดยสารที่เหมาะสมของทั้งระบบ

ตัดค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อนออก ค่าโดยสารก็ยังแพงอยู่ เพราะค่าโดยสารต่อกิโลเมตรแพง

ข้อเสนอ 104 บาท เป็นตัวอย่างของค่าโดยสารที่ตัดค่าแรกเข้า 15 บาท ช่วงส่วนต่อขยายคูคต และส่วนต่อขยายเคหะฯ ออกไปแล้ว แต่ค่าโดยสารก็ยังแพงอยู่ (ราคาเต็มแบบไม่ตัด คือ 158 บาท) ดังนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่องการเก็บค่าแรกเข้าที่ซ้ำซ้อนแล้ว อัตราค่าโดยสารต่อสถานีก็อาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐต้องทบทวน

ไม่เช่นนั้น เมื่อรถไฟฟ้าเชื่อมต่อกันหลายสายมากขึ้นในอนาคต ค่าโดยสารก็จะยิ่งแพงจนไม่เอื้อให้คนที่อยู่ชานเมืองนั่งรถไฟฟ้าเข้ามาในเมืองได้ เช่น คนที่อยู่มีนบุรีอาจต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้าสูงถึง 99 – 113 บาท/เที่ยว เพื่อเดินทางไปที่สยาม ขณะที่ค่ารถตู้อยู่ที่ประมาณ 50 บาท ส่งผลให้การเชื่อมต่อของโครงข่ายรถไฟฟ้าในอนาคตอาจไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจริงๆ เพราะค่าโดยสารแพงเกินไป

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ TDRI เสนอในการเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “ค่าโดยสารรถไฟฟ้าหลากสี กับราคาที่ประชาชนต้องแบกรับ” ว่ารัฐสามารถปรับปรุงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าโดย 1.) ยกเลิกค่าแรกเข้าทุกโครงการ 2.) ปรับปรุงอัตราค่าโดยสารให้สะท้อนระยะทาง และใช้อัตราค่าโดยสารร่วมกันทุกสาย 3.) กำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุดของระบบ ซึ่งหากจะปรับปรุงแก้ไขอัตราค่าโดยสารใหม่ รัฐจะต้องแก้ไขสัญญาสัมปทาน และอาจต้องจ่ายค่าชดเชยให้เอกชนบางส่วน

อย่างไรก็ดี วันที่ 16 ก.พ. นี้ คงต้องรอดูว่ารถไฟฟ้า BTS จะมีการปรับขึ้นค่าโดยสารเป็น 15 -104 บาทหรือไม่ ส่วน กทม. และรัฐบาลจะแก้ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อประโยชน์ของประชาชนได้อย่างไร

 

อ้างอิง

www.facebook.com/tdri.thailand/videos/528789464708023

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า