SHARE

คัดลอกแล้ว

ครป. จับตาเงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจฯ 400,000 ล้านบาท ต้องโปร่งใสมีธรรมาภิบาล ชี้อาจมีการล็อคสเปค เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองไม่ทันเวลา

นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้จัดประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อตรวจสอบการทำงานและแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) โดยมีความเห็นและข้อเสนอดังนี้

1. ครป. เห็นว่า หลังวิกฤตการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจไทยจะเกิดวิกฤต ขนาดเศรษฐกิจจะเล็กลงและเต็มไปด้วยหนี้สาธารณะระยะยาว จากเงินกู้ที่ใช้โดยขาดประสิทธิผล รัฐบาลใช้เงินเกินตัว งบกลางหมดไปหลายแสนล้านและตรวจสอบไม่ได้ ในขณะที่ไร้ความหวัง สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยอับจนปัญญาและไม่มีทางออกให้สังคม จึงเป็นปัญหาความล้มเหลวของประเทศไทยในระยะยาว โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากคือธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม สถานประกอบการ ร้านอาหาร นักดนตรีและคนทำงานกลางคืน ซึ่งจะฟืนตัวได้ช้าที่สุด จะเกิดการล้มละลายของสถานประกอบกลางขนาดกลาง-เล็ก บางแห่งเกิดการย่อยยัปอัปปางไม่สามารถฟื้นตัวได้ บางคนก็ได้ฆ่าตัวตายไปแล้ว แต่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการเยียวยาแก้ไข นอกจากนโยบายให้สถาบันการเงินอนุมัติวงเงินให้เงินกู้จำนวนหนึ่ง ขณะนี้การจ่ายคนงานในระบบประกันสังคมล่าช้ามาก จะครบ 3 เดือนแล้วแต่คนตกงานยังไม่ได้เงินจำนวนมาก และต่อไปคนตกงานจะมากขึ้นกว่าเดิมมาก อาชีพคนทำงานกลางคืน นักดนตรี และคนตกงานจะกระจาย รัฐบาลเลยดำริจะตั้งโรงทานขึ้น ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขปัญหา

2. ขณะที่ความเหลื่อมล้ำมหาศาล ช่องว่างการกระจายรายได้แย่ติดอันดับโลก รัฐบาลยังไม่มีนโยบายการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างที่คนเพียง 10% ครอบครองโภคทรัพย์กว่า 90% ของประเทศ นอกจากการขอความเห็นจาก 20 มหาเศรษฐี ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เห็นโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมมหาศาล กลุ่มทุนเข้าครอบครองสินค้าอุปโภค-บริโภค และหาประโยชน์จากวิกฤติและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สมควรเป็นบริการสาธารณะจากรัฐ เช่น การผลิตไฟฟ้า พลังงานและรัฐวิสาหกิจต่างๆ กลายเป็นเศรษฐกิจผูกขาดของกลุ่มทุนธุรกิจการเมือง ยังไม่มีการแก้ไขกฎหมาย BOI และ EEC ที่เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจรายใหญ่ที่กอบโกยรายได้ไปจากสังคมไปกว่าครึ่งค่อนศตวรรษ เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม เพื่อหยุดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจผูกขาดเอกชน ปัจจุบันรัฐและทุนกลายเป็นเนื้อเดียวกันผูกขาดประเทศในนาม “ประชารัฐ” ต้องแก้ไขโครงสร้างและนโยบายทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้เพื่อสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

3. ครป.และเครือข่ายภาคประชาชนกำลังจับตาโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้วยเพดานเงินกู้ 400,000 ล้าน ภายใต้ พรก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท และเห็นว่า รัฐบาลจะต้องให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้วย ไม่ใช่เรื่องขององค์กรภาครัฐอย่างเดียว เท่าที่มีการตรวจสอบเรื่องนี้อาจจะมีการคอร์รัปชั่นเงินกู้ของประเทศหากไม่กระทำให้โปร่งใสมีธรรมาภิบาล และอาจกลายเป็นเพียงเงินกู้ 4 แสนล้านในมือ 3 พี่น้องตระกูล ป. เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้มาจากหน่วยงานราชการทั้งหมด โดยสภาพัฒน์ฯ ภายใต้สำนักนายกฯ รับเป็นเจ้าภาพ แต่กระทรวงการคลังบริหารจัดการ โดยที่กระทรวงมหาดไทยมียอดขอใช้งบประมาณมากที่สุด นอกจากนั้น การตั้งอนุกรรมการทั้ง 3 ชุดรวมคณะกรรมการ 42 คนแต่ต้องพิจารณาโครงการมากกว่า 3 – 4 หมื่นโครงการภายใน 20 วัน เท่ากับต้องพิจารณาโครงการวันละกว่า 2,000 โครงการซึ่งเป็นไปไม่ได้หากไม่มีการล็อกสเป็คไว้ก่อนแล้ว

4. นอกจากนี้รัฐบาลกำลังลักหลับประชาชนในช่วงโควิด-19 พยายามลักไก่ผลักดันการเข้าเป็นสมาชิก CPTPP เพื่อเป็นลูกไล่ของมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เข้ายึดครองทรัพยากรของชาติ ทั้งที่รัฐบาลควรสนับสนุนการเกษตรกรรมที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหลังพิงที่สำคัญของคนไทย ส่งเสริมภาคการผลิตที่สมดุล พลังงานสะอาด ที่จะเป็นรากฐานในระยะยาว รวมถึงความเป็นเมืองท่าแห่งการค้าขายและ Supply chain ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทยตั้งแต่ยุคสมัยสุวรรณภูมิ รัฐบาลควรส่งเสริมให้ชุมชนสร้างรากฐานและสามารถจัดการตัวเองได้ รวมถึงดูแลภาคแรงงานที่เป็นกำลังสำคัญที่สุดในการฟืนฟูประเทศ ประเทศไทยจะต้องดูแลและรักษาภาคแรงงานไว้ แรงงานในระบบ นอกระบบ และภาคเกษตรกรรม คือกำลังที่สำคัญที่สุดของไทยในอนาคต ไม่ใช่ 20 มหาเศรษฐีที่ผูกขาดเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ครป. ขอให้รัฐบาลระมัดระวังการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยอ้างอำนาจพรก.ฉุกเฉินฯ ใช้อำนาจนอกวัตถุประสงค์ในการควบคุมโรคเพื่อควบคุมประชาชน ตามหนังสือที่กระทรวงกลาโหมมีถึง กสทช. ขอให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือส่งข้อมูลตำแหน่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ รวมถึงการทำบิ๊กดาต้า (Big Data) รวมถึงการเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นไทยชนะเพื่อติดตามพลเมือง หากมีเป้าหมายด้านความมั่นคงและผลประโยชน์จากระบบข้อมูลข่าวสาร

“ครป.จะจับตาการใช้งบประมาณเงินกู้เพื่อฟืื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจุบันหนี้สาธารณะของประเทศไทยทะลุ 7 ล้านล้านบาทแล้ว รัฐบาลจะต้องประหยัดและหาวิธีแก้ไขปัญหาการสะสมโภคทรัพย์ผูกขาดของโครงสร้างเศรษฐกิจ มากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นซึ่งซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพราะเงินเหล่านั้นก็หมุนเวียนไปสู่เศรษฐกิจส่วนบนในที่สุด เงินกู้ควรจะต้องส่งเสริมเศรษฐกิจรากฐานเพราะเป็นภาระของลูกหลานในอนาคตที่จะต้องแบกภาระและร่วมรับผิดชอบไปอีกนาน ไม่ใช่ให้หน่วยงานรัฐบาลและท้องถิ่นนำไปสร้างถนนและสิ่งปลูกสร้างอย่างเดียว และโครงการส่วนใหญ่สามารถใช้งบประมาณประจำปีได้อยู่แล้ว อย่าปล่อยให้เป็นมหากาพย์การทุจริตเงินกู้ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในการเมืองไทยเลย” นายเมธา เลขาธิการครป. กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า