Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 64 วาระ 2 พิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล เผยลงพื้นที่เจอคนลำบากสาหัสเหมือนกำลังเผชิญสึนามิเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลยังจัดงบไม่เหมาะสม ไม่ตอบโจทย์สถานการณ์

วันที่ 16 ก.ย. 2563 ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 วาระ 2 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล อภิปรายมาตรา 4 เรื่องวงเงินงบประมาณรายจ่ายในภาพรวมจำนวนทั้งสิ้น 3,286,000 ล้านล้านบาท โดยระบุว่า จากการเดินทางไปในพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาจากประชาชน ได้รับเสียงสะท้อนส่วนใหญ่ว่า พวกเขาได้รับความลำบากและรู้สึกหมดอาลัยตายอยากมากที่สุดในชีวิต จึงมีข้อแนะนำไปยังรัฐบาล 5 ข้อเพื่อเปลี่ยนให้งบประมาณปี 2564 สามารถตอบโจทย์ของประเทศและของประชาชนได้มากขึ้น
นายพิธา กล่าวว่า ประชาชนจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งก็คือคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เราอยู่ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง ประชาชนต้องดิ้นรนสายตัวแทบขาด ชักหน้าไม่ถึงหลัง หมดอาลัยตายอยากที่สุดยุคหนึ่งในชีวิตของพวกเขา ตนเห็นมากับตาตัวเอง น้ำตาของพี่คนขับรถตู้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่บอกว่า ผมเป็นลูกค้าคนแรกของเขาในรอบหกเดือนหรือกว่า 180 วัน รถของเขาจอดนิ่งและไม่มีรายได้เข้ากระเป๋าแม้แต่บาทเดียว เขาบอกว่าคิดไม่ออกจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายค่าเทอมลูก
หรือกรณีของนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ หลายคนมีความฝันที่จะเป็นผู้ประกอบการ SMEs จึงไปเปิดร้านอาหารแต่กลายเป็นขาดทุนพังพินาศในเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่จบการศึกษา หรือจะเป็นกรณีพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ที่ขายน้ำมะพร้าวบนรถปิคอัพ ซึ่งเขาทั้งคู่เพิ่งตกงานจากโรงงานแผงวงจรไฟฟ้าต้องมาเริ่มอาชีพใหม่ตอนอายุ 45 ปี เพราะถูกทางโรงงานปลดออกครั้งใหญ่จากวิกฤติเศรษฐกิจ นี่คือเรื่องราวของประชาชนคนไทยในเวลานี้ที่กำลังเผชิญกับสึนามิทางเศรษฐกิจ ประชาชนรู้สึกเหมือนจมน้ำและหายใจไม่ออก เป็นยุคที่ยิ่งดิ้นรนก็ยิ่งยากจน
แต่ในทางกลับกัน ยุคนี้กลับเป็นยุคที่มีผู้บริหารและการใช้งบประมาณอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อความยากลำบากของพี่น้องประชาชน งบประมาณจำนวนมากที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังมาพิจารณา ต้องบอกว่าทั้งในแง่ของปริมาณและวิธีการจัดสรร หากทำให้ดีจะตอบโจทย์ประเทศหรือเป็นห่วงชูชีพ และสามารถเป็นความหวังสุดท้ายของประชาชนได้
นายพิธา ยังกล่าวถึงข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในสิ่งที่ต้องเปลี่ยน 5 ประการ ได้แก่ 1.โครงสร้างงบประมาณยังคงไม่ตอบโจทย์มหาวิกฤติที่เผชิญอยู่ โลกปรับไทยต้องเปลี่ยนแบบ Big Bang ในเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่การเปลี่ยนแบบนิดหน่อยธรรมดา แต่ปรากฏว่างบประมาณของกระทรวงหลักแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่สามารถรองรับ วิกฤตและ After shock หรือภาวะหลังวิกฤตได้
2.งบที่ตัด ตัดไม่จริง งบประมาณที่ตัดไปส่วนใหญ่เป็นการเลื่อนพิจารณาออกไปเป็นปีงบประมาณหน้าเท่านั้นโดยเฉพาะงบกลาโหมหรืองบประมาณบางโครงการ เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว เมื่อกรรมาธิการตัดงบไปแล้วเพื่อยุติโครงการเนื่องจากชาวบ้านคัดค้าน แต่กรมชลประทานกลับใช้วิธีนำงบประมาณปี 2563 ที่เหลือมาเดินหน้าโครงการต่อ
3.รัฐราชการโตขึ้น 4% ทุกปีซึ่งโตเร็วกว่า GDP อีก จากงบประมาณตามมาตรา 4 ทั้งหมดจำนวน 3.286 ล้านล้านบาท พบว่าเป็นงบบุคลากรภาครัฐไปแล้ว 1.1 ล้านล้านบาท หรือ 1 ใน 3 ของงบประมาณทั้งหมด การที่งบบุคลากรภาครัฐยังคงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% สวนทางกับจำนวนข้าราชการที่ปรับลดลง
4.ท้องถิ่นถูกรีดภาษี และได้เงินชดเชยไม่เพียงพอ แม้ว่าในวาระที่ 2 กรรมาธิการจะปรับเพิ่มงบให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 5,900 หน่วย เป็นเงินงบประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากก่อนหน้านี้รัฐบาลได้สั่งลดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ซึ่งเป็นภาษีที่ท้องถิ่นเก็บเองใช้เอง ด้วยเหตุนี้ การลดภาษีดังกล่าวจึงกระทบกับ อปท. ทั้งหมด 7,800 หน่วยงานเป็นมูลค่าเงิน 34,000 ล้านบาท หมายความว่า จะยังมี อปท. อีกกว่า 2,000 หน่วยไม่ได้เงินชดเชยคิดเป็น 24,000 ล้านบาท ทั้งที่ อปท.คือหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
5. ประมาณการฐานะทางการคลัง ที่อาจทำให้คลังถังแตก ถ้ารัฐบาลใช้งบประมาณตามมาตรา 4 จะขาดดุลประมาณ 6 แสนล้านบาท สำนักงบประมาณประเมินรายได้ของรัฐตกไป 2.5 แสนล้านบาท ดังนั้นรัฐอาจต้องเดินงบขาดดุล 8.5-9 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดดุลจำนวนมากและต่อเนื่อง ทำให้เงินต้นและดอกเบี้ยปีถัดๆ ไปที่ต้องไล่จ่ายจะกลายเป็นงูกินหางที่สร้างข้อจำกัดในปีถัดๆ ไป
“ในเมื่อสถานการณ์สภาวะคงคลังของประเทศเป็นแบบนี้ สถานการณ์งบประมาณเป็นแบบนี้ ผมเชื่อว่าถ้าจัดสรรงบประมาณให้ดี งบประมาณ 3.2 ล้านล้านบาท ถ้าเราจัดได้ตรงจุดตรงเป้าหมาย จะสามารถนำพาประเทศไทยพ้นวิกฤติได้ และคงสถานะคงคลังของประเทศไทยต่อไปได้ ถ้าเราตัดงบประมาณที่ไม่จำเป็นออกไป”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า