SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลเร่งแก้แล้ง หนุน 2,041 โครงการ ป้องชาวบ้านขาดน้ำอุปโภคบริโภค สทนช. เดินหน้าแก้ภัยแล้ง หลัง ครม.เห็นชอบของบกลางเพิ่มเติมเร่งด่วน วงเงินกว่า 3,079 ล้านบาท สนับสนุนแผนปฏิบัติการภัยแล้ง 2,041 โครงการ ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เน้นป้องกันขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงินงบกลางปี 2562 (ไปพลางก่อน) รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นการป้องกันบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบเป็นวงกว้าง ในฤดูแล้ง ปี 2562/63 ในพื้นที่รวม 54 จังหวัด รวม 2,041 โครงการ ในวงเงินทั้งสิ้น 3,079 ล้านบาทเศษ ซึ่งจะดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก และการประปาส่วนภูมิภาค โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้

1.ในพื้นที่เขตบริการการประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 50 โครงการ วงเงิน 1,159 ล้านบาท  ครอบคลุมพื้นที่ประปาภูมิภาค 61 สาขา 31 จังหวัด สถานพยาบาล 224 แห่ง ดำเนินการโดยการประปาส่วนภูมิภาค

2.นอกพื้นที่เขตบริการการประปา 1,991 โครงการ วงเงินประมาณ 1,920 ล้านบาท โดยดำเนินการโดย 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย

  • ขุดเจาะบ่อบาดาล 1,100 โครงการ โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) กองทัพบก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) วงเงิน 1,300 ล้านบาท
  • จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน 230 โครงการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) วงเงิน 145 ล้านบาท
  • ซ่อมแซมระบบน้ำประปา 654 โครงการ โดย อปท. วงเงิน 451 ล้านบาท
  • โรงพยาบาล ได้มีการสำรวจโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยมีแผนปฏิบัติการฯ แบ่งเป็น ขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ โดย นทพ. วงเงิน 0.88 ล้านบาท และซ่อมแซมระบบน้ำประปา 4 โครงการ โดย อปท. วงเงิน 22.89 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังรับทราบการปรับแผนดำเนินการงบประมาณปกติปี 2563 ของหน่วยงาน เพื่อเร่งรัดดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เช่น ขุดเจาะบ่อบาดาล การซ่อมแซมระบบประปา การเชื่อมโยงแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคอีก 1,337 โครงการ วงเงิน 2,950 ล้านบาท แบ่งเป็น การประปานครหลวง 4 โครงการ วงเงิน 32 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค 173 โครงการ วงเงิน 653 ล้านบาท และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1160 โครงการ วงเงิน 2,265 ล้านบาท เพื่อเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในระยะเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

สำหรับมาตรการป้องกันผลกระทบกับพื้นที่เกษตร แบ่งเป็น 1) พื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยได้มอบให้กรมชลประทาน (ชป.) กรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ 2) นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และอปท. ร่วมสำรวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรง ยืนต้นตาย จำนวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทำแผนและมาตรการเสนอในระยะต่อไป

ขณะเดียวกัน ยังเห็นขอบมาตรการด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ชป. ทน. ทบ. กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กฟผ. นทพ. และกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็น รถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำ 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ำ 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้ปภ. รับไปดำเนินการวางแผนการใช้งาน

“ทุกโครงการเป็นการบูรณาการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ของทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญในเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ในฤดูแล้งนี้ ซึ่งเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาโครงการเร่งด่วนเหล่านี้ คือ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เป็นรูปธรรม ให้ชาวบ้านไม่ได้รับความเดือดร้อนมีน้ำอุปโภคบริโภคทันท่วงที” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า