Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักเรียนชาย ม.1 ยิงเพื่อนร่วมชั้นเสียชีวิต เพราะถูก Bully อย่างหนัก

นักเรียนหญิง ป.5 ผูกคอตายในห้องน้ำ เพราะถูกเพื่อน Bully

 

การ Bully คืออะไร  แล้วปัจจุบันการ Bully ในโรงเรียนร้ายแรงแค่ไหน

Bully หรือ การกลั่นแกล้ง มีหลายรูปแบบทั้งทางกาย เช่น ใช้กำลัง ข่มขู่ให้หวาดกลัว  หรือใช้คำพูด เช่น ล้อเลียนให้อับอาย  รวมถึงคอมเมนต์ต่างๆ บนโลกออนไลน์ และการกีดกันออกจากกลุ่มเพื่อนหรือไม่ให้เข้าร่วมกลุ่ม โดยกระทำซ้ำๆ

ทำให้เด็กที่ถูก Bully เกิดความเครียด ซึมเศร้า รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ไม่มีที่ยืนในสังคม

ผลกระทบที่ตามมาอาจทำให้เด็กรู้สึกแย่กับโรงเรียน ไม่อยากไปเรียน เรียนต่อไม่ได้ จนสุดท้ายต้องลาออกจากโรงเรียน หรือที่รุนแรงกว่านั้น อย่างบางกรณีเด็กที่ถูก Bully อาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและถึงขั้นฆ่าตัวตาย

พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ระบุว่า ปัจจุบันเจอเคสที่ได้รับผลกระทบจากการ Bully ในโรงเรียน อายุน้อยลง  คือพบตั้งแต่เด็กเล็กช่วงประถม และเจอเคสที่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น

“ยังไม่มีการสำรวจลงไปในระดับโรงเรียนนะคะ แต่เคสที่เดินเข้ามาพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาด้วยปัญหาการรังแกกันมีมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็สะท้อนถึงขนาดของปัญหานี้” พญ.โชษิตา กล่าว

มองว่า “เด็กแค่เล่นกัน” เป็นทัศนคติที่ผิด

พญ.โชษิตา อธิบายว่า บางครั้งเด็กอาจยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบของสิ่งที่เขาทำ ทั้งต่อผู้อื่นและต่อตนเอง เพราะฉะนั้นหากพ่อแม่หรือคุณครูมองว่าการ Bully คือ “เด็กเล่นกัน” แล้วปล่อยเหตุการณ์นั้นผ่านไป โดยที่ไม่ได้แก้ไขอะไรเลย เด็กที่ Bully เพื่อนจะเข้าใจว่า การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องที่ทำได้

ส่วนเด็กที่ถูกรังแกซ้ำๆ ก็อาจไม่กล้าบอกผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือแก้ปัญหา หรือไม่ได้ทำให้เด็กรู้สึก “ปลอดภัย” ดังนั้น เมื่อเกิดการ Bully ขึ้น เด็กก็จะปกปิดไว้จนปัญหาค่อยๆ สะสมรุนแรง

“ผู้ใหญ่ต้องแสดงให้เด็กเห็นว่าการ Bully กันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้” พญ.โชษิตา ย้ำ

 

ควรทำอย่างไร เมื่อลูกถูก Bully ที่โรงเรียน

อันดับแรก พ่อแม่ต้องเปิดใจรับฟังโดยไม่ตัดสิน และถ้าลูกมาเล่าว่าถูกเพื่อน Bully พ่อแม่ควรจะทำให้ลูกเห็นว่า พวกเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  จากนั้นไปพูดคุยกับคุณครูอย่างจริงจังเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับลูก ทำให้ลูกรู้สึกว่า “โรงเรียนยังเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย”

อันดับต่อมา พ่อแม่ควรสอนลูกให้รับมือกับสถานการณ์เมื่อถูกกลั่นแกล้ง เช่น บอกเพื่อนที่มา Bully ว่าเราไม่ชอบ บอกผู้ใหญ่ (คุณครู) ที่สามารถแก้ไขปัญหาให้เราได้ เดินหนี หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้ถูก Bully

 

เด็กที่เป็น ‘ผู้กระทำ’ ก็ได้รับผลกระทบทางจิตใจ

โดยส่วนมากแล้วผู้ใหญ่มักมุ่งแก้ปัญหาให้กับเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งมากกว่า แต่ พญ.โชษิตา ชี้ว่า การช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรม Bully คนอื่นก็สำคัญเช่นกัน

“ในกรณีของเด็กที่เป็น ผู้รังแก  จะมีความหลากหลาย บางคนอาจได้รับผลกระทบจากการถูกแกล้งมาก่อน หรือมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือบางกรณีเด็กอาจมีปัญหาทางจิตเวช เช่น โรคสมาธิสั้น หรือ กลุ่มออทิสติก ทำให้เขามีทักษะสังคมไม่ดี การช่วยเหลือเด็กให้ตรงจุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเราไม่ช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ เขาอาจพัฒนาไปเป็นผู้ใช้ความรุนแรงประเภทอื่น เช่น ทำผิดกฎหมาย

ลงโทษ ไม่ช่วยแก้ปัญหาระยะยาว

การลงโทษ  ไม่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แม้อาจทำให้เด็กหยุดหรือระงับพฤติกรรม Bully ได้ชั่วครั้งชั่วคราว แต่เขาจะมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งแบบปกปิด หลบซ่อนไม่ให้ผู้ใหญ่รู้มากขึ้น สุดท้ายแล้วเด็กก็จะไม่ได้ลดการ Bully คนอื่นลง

“การช่วยเหลือที่ยั่งยืนต้องค้นหาว่า เด็กมีพฤติกรรม Bully จากอะไร แล้วทำให้เด็กเข้าใจว่าการ Bully เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ รวมถึงต้องทำให้เด็กเห็นว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมคืออะไร”

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แนะนำว่า การป้องกันการ Bully ควรทำตั้งแต่เด็กเล็ก ผู้ใหญ่ต้องค่อยๆ ฝึกฝนเขา เตรียมทักษะการเข้าสังคม เมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้

 

สอนเด็กให้เคารพคนอื่น เคารพตนเอง

“เด็กไม่เข้าใจเรื่องความแตกต่างเป็นต้นตอของการรังแกกัน”

พญ.โชษิตา บอกว่า การ Bully ส่วนใหญ่เกิดจากการดึงเอาจุดด้อยหรือความแตกต่าง เช่น หน้าตา สีผิว รูปร่าง หรือเพศ  ขึ้นมาเป็นประเด็นทำให้เด็กอีกคนรู้สึกอับอายหรือมีปมด้อย

เพราะฉะนั้นการฝึกเด็กให้เข้าใจว่า ทุกคนมีความแตกต่าง  และฝึกให้เด็กเคารพสิทธิของคนอื่น เคารพความแตกต่าง รวมถึงเคารพตนเอง จึงเป็นวิธีการป้องกันการ Bully ที่ยั่งยืน

 

ฟังสัมภาษณ์ พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า