SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒน์ฯ เผยไตรมาส 2 ปีนี้ สถานการณ์แรงงาน-จ้างงานดีขึ้น ทุกกลุ่มอาชีพพบปัญหาหมดไฟในการทำงาน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2565 เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 65 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ สรุปเรื่องที่น่าสนใจได้ดังนี้

สถานการณ์แรงงานไตรมาส 2 ปี 65 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยผู้มีงานทำ มี 39 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากการขยายตัวของการจ้างงาน นอกภาคเกษตรกรรม ที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะสาขาการผลิต สาขาขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ที่ขยายตัวได้ร้อย 6.1, 12.1 และ 4.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี สำหรับสาขาที่มีการจ้างงานลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้าง สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร โดยการจ้างงานหดตัว ร้อยละ 5.4 และ 2.6 ตามลำดับ

ซึ่งการจ้างงานที่ชะลอตัวในสาขาการก่อสร้าง เนื่องจากความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจที่แม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สาขาโรงแรม/ภัตตาคาร การจ้างงานปรับตัวลดลง เนื่องจากภาคการเท่องเที่ยวยังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัว สำหรับภาคเกษตรกรรม มีการจ้างงาน 11.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ 0.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมกลับไปทำงานในสาขาเดิมตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงช่วงปกติ โดยภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 42.3 และ 46.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวนผู้เสมือนว่างงานปรับตัวลดลงจาก 2.8 ล้านคนในไตรมาส 2 ปี 2564 เหลือ 2.2 ล้านคนในปัจจุบัน และผู้ทำงานล่วงเวลา (ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์) มีจำนวน 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.37 ลดลง ทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน และไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะเดียวกันการว่างงานยังปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่ม โดยผู้ว่างงานระยะยาว (ผู้ว่างงานนานกว่า 1 ปี) มีจำนวน 1.5 แสนคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาส 2 ปี 2564 การว่างงานตามระดับการศึกษาลดลงในทุกระดับการศึกษา และอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ร้อยละ 2.17 ลดลงจากร้อยละ 2.77 จากปีช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สภาภัฒน์ฯ ระบุประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 2 เรื่องหลักๆ คือ

1. ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อต่อแรงงาน โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงลดลง โดยเฉพาะของแรงงานทักษะต่ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ มาตรการลดค่าไฟฟ้า มาตรการลดค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และอยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ คนละครึ่ง ระยะที่ 5 นอกจากนี้คณะกรรมการค่าจ้างอยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับแรงงานจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้บ้าง

2. การขาดแคลนแรงงาน จากภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น และเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แบ่งเป็น

– การขาดแคลนแรงงานทักษะปานกลาง-สูง พบว่า มีความไม่สอดคล้องของทักษะแรงงานและความต้องการ สะท้อนจากความต้องการแรงงานที่ส่วนใหญ่เป็นความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนตามการขยายตัวของการส่งออก ขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่กลับจบการศึกษาในด้านบริหารธุรกิจ สังคมศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ซึ่งอาจต้องเร่งรัดให้มีการ ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการ

– การขาดแคลนแรงงานทักษะต่ำ สะท้อนจากจำนวนแรงงานข้ามชาติที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงปกติ หรือช่วงปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดโดยปัจจุบัน กระทรวงแรงงานได้มีการเปิดให้นายจ้าง / สถานประกอบการ ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) เพื่อสามารถอยู่และทำงานได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 ซึ่งอาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน

– ปัญหาการหมดไฟในการทำงาน ปัจจุบันแรงงานทั่วโลกจำนวนมากเริ่มมีภาวะหมดไฟในการทำงาน และลาออกจากงานมากขึ้น ซึ่งการสำรวจของวิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สำรวจแรงงานในกรุงเทพมหานคร ปี2562 พบว่า แรงงานในทุกกลุ่มอาชีพมีภาวะหมดไฟในระดับสูง กล่าวคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 77, รองลงมาเป็นบริษัทเอกชน ร้อยละ 73, ข้าราชการ ร้อยละ 58 และธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 48 ดังนั้น นายจ้าง/องค์กรต่างๆ ต้องการกระตุ้นให้มีโครงการที่สร้างสรรค์และออกแบบให้คนในองค์กรมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน

นอกจากนี้ หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัวชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้

ไตรมาส 1 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงจากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 89.2 ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามความกังวลของผู้บริโภคจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำให้ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม

หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัวชะลอลง และคุณภาพสินเชื่อทรงตัว แต่ต้องเฝ้าระวังหนี้เสีย โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงต้องติดตามผลกระทบจากค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบต่อลูกหนี้

ไตรมาส 1 ปี 2565 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.65 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงจากร้อยละ 3.8 ในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 89.2 ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามความกังวลของผู้บริโภคจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และทำให้ครัวเรือนชะลอการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ทรงตัว โดยมีสัดส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.78 ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ที่ช่วยชะลอไม่ให้เกิดหนี้เสียเพิ่ม

อย่างไรก็ตาม เรื่องหนี้ครัวเรือน ในระยะถัดไป มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ

– ผลกระทบของภาระค่าครองชีพที่อาจกดดันให้ครัวเรือนมีความต้องการสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงมีการก่อหนี้มากขึ้น

– อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของครัวเรือนเพิ่มขึ้นและกระทบต่อครัวเรือนที่ขอสินเชื่อใหม่ เนื่องจากจะต้องรับภาระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้น

– คุณภาพสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อยานยนต์ โดยสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นและสินเชื่อบัตรเครดิต มีสัดส่วนสินเชื่อ NPLs ต่อสินเชื่อรวมปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถยนต์มีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชำระน้อยกว่า 3 เดือน) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้น สะท้อนความเสี่ยงของการเกิด NPLs โดยเฉพาะในครัวเรือนกลุ่มที่มีภาระหนี้สูง หรือมีกันชนทางการเงินต่ำ

รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2565 ฉบับเต็มที่นี่ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า