SHARE

คัดลอกแล้ว

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond : หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์) กลับมาได้รับความนิยมในการเป็นเครื่องมือระดมทุนของบริษัทขนาดใหญ่อีกครั้ง ประเดิมด้วยเจ้าแรกที่สร้างความฮือฮา คือ SIRI ออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์โดยให้ดอกเบี้ยสูงถึง 8.5 % ขณะที่รายล่าสุด MINT เปิดขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ชุดใหม่ให้กับนักลงทุน สถาบันต่างประเทศ จำนวน 300 ล้านดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.1% ต่อปี

ข้อดีของหุ้นกู้นี้ในมุมของผู้ออก 5 ปีแรกจะไม่ถูกนับเป็นหนี้ จึงไม่กระทบต่อ อัตราหนี้สินต่อทุน(D/E) ของบริษัท จึงเป็นที่สังเกตว่า หลัง 5 ปี หุ้นกู้จะถูกนับเป็นหนี้

ดังนั้นผู้ออกมักจะไถ่ถอนคืนเมื่อครบ 5 ปี เพื่อไม่ให้กระทบ DE สามารถระดมทุนได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินสถาบันการเงิน อีกทั้งสามารถเลื่อนการชำระดอกเบี้ยแต่ละงวดได้ ในมุมของผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ และสามารถคาดการณ์แหล่งที่มาของรายรับได้ แต่มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงขึ้นตาม

โดยบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ออก Perpetual Bond ทั้งหมด 8 บริษัท เฉพาะมูลค่าในประเทศ ได้แก่

ANAN  6,000 ล้านบาท

CPALL  20,000 ล้านบาท

CPF 15,000 ล้านบาท

IVL 15,000 ล้านบาท

MINT 15,000 ล้านบาท

PF 508 ล้านบาท

PTTEP 5,000 ล้านบาท

TTCL 500 ล้านบาท

แม้ความเสี่ยงสูงแต่นักวิเคราะห์มองว่าหากเข้าใจธรรมชาติประเภทนี้ก็น่าลงทุน

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (ASPS) ให้สัมภาษณ์ workpointTODAY วิเคราะห์การออก Perp Bond ของหลายบริษัทขณะนี้ว่า จริงๆ บริษัทในไทยมีการออก Perpetual Bond มาหลายปีแล้ว เพียงแต่ช่วงนี้อาจได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะแต่ละบริษัทพยายามปรับโครงสร้างการเงิน เพื่อให้ภาระหนี้เป็นภาระหนี้ระยะยาวเพิ่มมากที่สุด

เพราะโดยธรรมชาติของ Perp Bond เป็นตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายทุนอยู่กึ่งกลางระหว่างตราสารหนี้ธรรมดากับทุน แต่อายุชำระคืนหรือการไถ่ถอนไม่มีกำหนดแน่นอนจึงมีส่วนคล้ายทุน ในเมื่อ Perp Bond อยู่ระหว่างตราสารหนี้กับทุน อัตราผลตอบแทนจาก Perp Bond ต้องจ่ายระหว่างสองข้างนี้

เป็นเหตุที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยของ Perp Bond สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ทั่ว ๆ ไป คนที่จะเข้าไปลงทุนกับตราสารประเภทนี้ คือ 1. ต้องเชื่อมั่นกับภาพรวมของบริษัทหรือธุรกิจที่จะไปซื้อ  Perp Bond ว่า สามารถดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีแบรนด์ของสินค้าที่ติดตลาดอยู่แล้ว เช่น ANAN หรือ MINT ที่แบรนด์สินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็จะทำให้คนไหลเข้าไปซื้อ

แต่ถ้ามองให้มุมของคนที่ออกตราสารประเภทนี้ จะเป็นตราสารที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง จึงมักจะมีเงื่อนไขว่า ภายใต้เงื่อนไขอันใดอันหนึ่งที่ตั้งไว้พอถึงกำหนดเวลา เช่น 5 ปี จะมีการไถ่ถอนตราสารตรงนี้คืนก็ได้ แต่ถ้าไม่ไถ่ถอนก็จะมีอายุต่อเนื่องไปไม่มีกำหนด (จนกว่าบริษัทจะเลิกกิจการ) สำหรับคนที่ซื้อไปแล้วถ้าอยากซื้อขายเปลี่ยนมือ Perp Bond ต้องหาตลาดรอง จากโบรกเกอร์ต่างๆ ที่มีโต๊ะบอนด์ซื้อขายอยู่

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม (คนกลาง)

Perp Bond ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดูไม่ค่อยดี

นายเทิดศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติมเรื่องที่บริษัทหรือธุรกิจต่างๆ ออก Perp Bond กันมาในช่วงนี้ เป็นเพราะอัตราดอกเบี้ย ในท้องตลาดถูก เมื่ออัตราดอกเบี้ยถูก คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่คนจะล็อกเงินไว้ในระยะยาวอยู่แล้ว และอีกเหตุผลคือสภาพเศรษฐกิจก็ดูไม่ค่อยจะดี เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่สามารถปรับโครงสร้างทางการเงินให้ปลอดภัยได้มากที่สุด ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำ

“เสน่ห์ของ Perp Bond เมื่อบริษัทออกแล้วเวลาบันทึกบัญชี ตราสารประเภทนี้เป็นทุน และไม่ได้ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงขึ้น และอีกขาหนึ่งมันไม่ได้มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่จะบังคับหรือชัดเจนอะไร บริษัทจะสามารถบริหารกระแสเงินสดได้ง่ายมากขึ้น น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้ออก Perp Bond กัน แต่อย่างที่บอกไม่ใช่ทุกคนที่คิดจะออก แล้วออกได้ บริษัทที่ออกได้ต้องมีขนาดใหญ่ บริษัทที่คนเชื่อมั่น ไม่เช่นนั้นให้เราใส่เงินไปแล้ว บอกไม่รู้คืนเมื่อไหร่ ให้ใครไม่รู้ คงไม่มีใครซื้อเหมือนกัน”

หลังโควิดคลี่คลายคนเริ่มกลัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

นักวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส บอกว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์มาก เพราะเท่าที่ติดตามเห็น 2 บริษัทใหญ่ คือ SIRI และ ANAN นอกจากนั้นเป็นกลุ่มธุรกิจอื่น เช่น MINT แต่ก็ยอมรับว่า “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ออกหุ้นกู้กันหลายบริษัท แต่ในทัศนะคือเป็นเรื่องปกติ เพราะบริษัทเอกชนใช้การออกหุ้นกู้ แทนการกู้เงินจากธนาคารมาหลายปีแล้ว  แต่ที่มาเป็นประเด็น เพราะคนเริ่มกลัวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เลยถูกพูดถึงมากขึ้น และอยู่ในสปอร์ตไลท์

ทั้งนี้หากจัดลำดับผลตอบแทนการลงทุน แบ่งตามประเภทสินทรัพย์ จากข้อมูลของ ThaiBMA พบว่า ในปี 2562 ปีที่การลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยให้ผลตอบแทนสูงกว่าสินทรัพย์เสี่ยง

1. พันธบัตรรัฐบาล (ทุกช่วงอายุ) ให้ผลตอบแทน 14.83%

2. ทองคำ ให้ผลตอบแทน 12.82 %

3. หุ้นกู้ภาคเอกชน (อันดับเครดิต BBB- ขึ้นไป) 5.35%

สำหรับตัวอย่าง “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” ที่สร้างความฮือฮากับนักลงทุน บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ยักษ์ใหญ่โรงแรม ร้านอาหาร ไลฟ์สไตล์ ที่เปิดขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ ระดมเงินเพื่อชำระคืนเงินกู้และเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท โดยมีการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในวันที่ 23 มิถุนายนว่า ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่มีกำหนดไถ่ถอน (Perpetual Bond) ชุดใหม่ให้กับนักลงทุน สถาบันต่างประเทศ จำนวน 300 ล้านดอลลาร์ อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.10% ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือน โดยมีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ค้ำประกัน

ขณะที่วงการอสังหาริมทรัพย์ ที่คึกคักในการออกหุ้นกู้ทั่วไปอยู่แล้ว ก็มีเจ้าใหญ่ที่ขายหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ คือ บริษัท  แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ที่เสนอขาย Subordinated Perpetual Bond หรือหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนฯ เจ้าแรกของปีนี้ วงเงินไม่เกิน 3,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยในช่วง 5 ปีแรก สูงถึง 8.50 %ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เป็นการวางแผนการด้านเงินเพื่อรองรับการเติบโตที่แข็งแกร่ง ที่มีเป้าหมายเป็นเบอร์หนึ่งของอสังหาริมทรัพย์ไทย ดันยอดเติบโตสู่ 120,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 3 ปี อีกบริษัทอสังริมทรัพย์ที่มีสินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) ก็ออกหุ้นชุดใหม่ วงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ที่ระดับ BB+ มาเสนอขาย

“High Risk High Return” ตามทฤษฎีการเงิน การลงทุนใดที่ได้รับผลตอบแทนสูง ย่อมมีความเสี่ยงสูงเป็นเงาตามตัว ภายใต้เงื่อนไข “วิน-วิน” ที่ “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” มีให้กับทั้งบริษัทที่เสนอขายและนักลงทุนผู้ซื้อ แต่การตัดสินใจเลือกตราสารหนี้ประเภทนี้ “ความเชื่อใจ” ในฝีมือการบริหารธุรกิจนั้นๆ เป็นส่วนสำคัญมากที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า