SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) เตือนวัยรุ่นที่ทดลองกินขนมผสมกัญชา ระวังอันตราย แนะผู้ปกครองเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลาน

นายแพทย์ มานัส โพธาภรณ์  รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ไทยจัดกัญชาให้อยู่ในประเภทสารเสพติดให้โทษ ประเภท 5 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ออกกฤทธิ์ผสมผสาน ทั้ง กระตุ้นประสาท กดประสาท และหลอนประสาท กัญชาเป็นพืชที่มีสารเคมีอยู่มากกว่า 750 ชนิด สารหลักๆ ที่พบมากคือ THC และ CBD ซึ่ง THC ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและมีฤทธิ์เสพติด เมื่อเสพเข้าไปจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่สมอง โดยจะออกฤทธิ์ภายใน 2-3 นาที นานถึง 3-5 ชั่วโมง

ในต่างประเทศนิยมนำสาร THC มาทำเป็น ขนม ในรูปแบบอื่นๆ เช่น เจลลี่ ช็อกโกแลต ไอศกรีม ขนม เพราะบางประเทศกัญชาเป็นสินค้าถูกกฎหมาย แต่สำหรับประเทศไทย กัญชายังเป็นสารเสพติด แต่ด้านกฎหมายได้มีการผ่อนปรนให้มีการนำเข้ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเกี่ยวกับด้านการศึกษาวิจัยเท่านั้น  ดังนั้นหาก ผลิด นำเข้า ครอบครอง ไม่ว่ามาในรูปแบบใด หากไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. จะมีความผิดตามกฎหมาย

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า เจลลี่กัญชา เป็นที่นิยมในต่างประเทศ เพราะสามารถใช้กัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย เพื่อนันทนาการ แต่สำหรับประเทศไทยยังถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเจลลี่กัญชา หรือ “เจลลี่เมา” มีส่วนผสมหลักคือ กัญชา และมีสาร THC อยู่ในปริมาณที่สูง ซึ่ง THC เป็นสารอันตราย ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทและมีฤทธิ์เสพติด เจลลี่กัญชาถูกออกแบบให้มีสีสันสดใสน่ารับประทาน จึงเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น และจะทำให้มีอาการผ่อนคลาย เคลิบเคลิ้ม ล่องลอย ลดอาการเครียด และอารมณ์ดี ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือบางรายไม่เคยใช้มาก่อน จะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว อาเจียน มึนงง ตาพล่า กล้ามเนื้อไม่มีแรง และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ กัญชา และ THC ยังมีผสมในอาหารรูปแบบต่างๆ เช่น ลูกอม ช็อกโกแลต คุกกี้ บราวนี่ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ครีมทาผิว หากบริโภคหรือใช้บ่อยครั้ง นานไปอาจจะทำให้เกิดอาการเสพติด

กรมการแพทย์จึงฝากย้ำเตือนกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงผู้ที่จะเริ่มทดลองรับประทานหรือใช้สินค้าต่างๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชา ให้ตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบที่จะตามมา ทั้งนี้ฝากผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตุพฤติกรรมของบุตรหลานรวมถึงบุคคลใกล้ชิด หากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเข้าข่าย ควรพูดคุย บอกกล่าวถึงอันตราย และผลกระทบที่จะตามมา

หากประสบปัญหาเกี่ยวกับยาและสารเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์  จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า