SHARE

คัดลอกแล้ว

อย. ชี้แจงประชาชนทุกคนสามารถใช้ส่วนของกัญชง-กัญชงที่ไม่เป็นยาเสพติดได้ ไม่มีเหลื่อมล้ำ โดยต้องมาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาต สามารถนำใบไปประกอบอาหารรับประทานในครัวเรือนหรือจำหน่ายภายในร้านของตนได้แต่หากทำผลิตภัณฑ์สุขภาพจำหน่ายจะต้องขอเลข อย. ตามกฎหมายของแต่ละผลิตภัณฑ์ เตือน เด็ก สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังการรับประทานอาหารจากกัญชา

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

วันที่ 6 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีข้อสงสัยในการปลดล็อกส่วนของกัญชง กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดว่า เป็นการเอื้อเฉพาะบางหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า กรณีโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถประกอบอาหารจากใบกัญชาได้ เพราะทั้งสองแห่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาและได้ขอแก้ไขโครงการเพื่อนำใบกัญชาไปใช้ประโยชน์แล้ว

หากผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชารายอื่นต้องการนำใบหรือส่วนต่าง ๆ ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยยื่นขอแก้ไขแผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่ อย. และขอยืนยันว่า ประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งสถาบันกัญชาทางการแพทย์ได้เปิดช่องทางจับคู่ระหว่างผู้ที่สนใจใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่เป็นยาเสพติดกับผู้ได้รับอนุญาตปลูก โดย สามารถลงทะเบียนที่ http://bit.ly/2N4NC3R

ทั้งนี้ การนำใบกัญชาไปประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือนหรือจำหน่ายในร้านอาหารของตัวเองสามารถทำได้ แต่หากนำส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย จะต้องขออนุญาตภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นด้วย ขณะนี้สามารถขออนุญาตเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของเมล็ดกัญชงและสารสกัดของเมล็ดกัญชง และผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้ภายนอก เช่น ยาหม่อง ยาน้ำมัน ยาครีม ที่มีส่วนประกอบของใบ ลำต้น กิ่งก้านและรากกัญชา กัญชงได้แล้ว ส่วนการขยายการใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำกฎหมายให้มีผลใช้บังคับต่อไป

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ทั้งนี้ การนำใบกัญชาไปประกอบอาหารยังมีข้อควรระวัง เนื่องจากการใช้กัญชาในอาหารเป็นสิ่งใหม่ ผู้บริโภคบางคนอาจยังไม่คุ้นเคย ควรเริ่มต้นรับประทานแต่น้อย นอกจากนี้ ผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังในการรับประทาน โดย อย. และ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะจัดทำชุดความรู้ในการรับประทานและประกอบอาหารจากกัญชาอย่างปลอดภัยเพื่อเผยแพร่ในเร็ว ๆ นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า