SHARE

คัดลอกแล้ว

ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว .มหิดล กล่าวถึงอุทาหรณ์รถชนขอบทางด่วนเด็ก 6 ขวบกระเด็นออกนอกรถเสียชีวิต ย้ำผู้ปกครอง ติด ‘คาร์ซีท’ เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก

  • กระบะพุ่งไปชนขอบทางด่วน เด็ก 6 ขวบกระเด็นเสียชีวิต

จากกรณี อุบัติเหตุ รถกระบะพุ่งไปชนขอบทางด่วน วงแหวนกาญจนาภิเษก บางพลี-สุขสวัสดิ์ ทำให้เด็กชายอายุ 6 ขวบ ที่นั่งมาในรถกระเด็นทะลุกระจกออกมาแล้วตกลงไปด้านล่างทางด่วน เสียชีวิต เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา 

ล่าสุด รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากกรณีข่าวพ่อขับรถกระบะป้ายแดงเกิดอุบัติเหตุชนขอบทางด่วนอย่างแรง ส่งผลให้ลูกอายุ 6 ขวบ ตกทางด่วนเสียชีวิต ต้องของแสดงความเสียใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก 

  • ...จราจรทางบก ให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ใช้ ‘คาร์ซีท’

ส่วนในเรื่องความปลอดภัยของเด็กที่โดยสารรถยนต์นั้น ปัจจุบันมีการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2565 มีผลบังคับใช้วันที่ 5 ธ.ค. 2565 กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ใช้ที่นั่งนิรภัยตั้งแต่แรกเกิด 

และเด็กความสูงต่ำกว่า 135 ซม. ซึ่งเป็นความสูงเฉลี่ยของเด็กอายุ 9 ปี ต้องใช้ที่นั่งเสริมหรือเข็มขัดนิรภัยขึ้นกับอายุของเด็ก แม้จะมีข้อกฎหมายออกมาแล้ว แต่ต้องขอทำความเข้าใจกับสังคมว่า ที่นั่งนิรภัยหรือที่นั่งเสริมมีความจำเป็น

  • อุบัติเหตุส่วนใหญ่จะเห็นเด็กกระเด็นอยู่นอกรถ

เมื่อรถเคลื่อนตัวมาด้วยความเร็วระดับหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนแปลงความเร็วกะทันหัน เช่น 80-100 กม./ชม. แล้วเปลี่ยนเป็น 0 จากการชน เบรก กระแทกต่างๆ ทั้งสิ่งของและคนในรถจะเคลื่อนที่ต่อด้วยความเร็วเท่าเดิม ทำให้เด็กยังเคลื่อนตัวต่อด้วยความเร็วเท่าเดิม คือ 80-100 กม./ชม. ก็จะเหินลอยชนโครงสร้างรถยนต์ทะลุกระจกออกนอกรถ 

นี่คือสิ่งที่เห็นตลอดที่เกิดอุบัติเหตุ จะเห็นภาพเด็กอยู่นอกรถยนต์ ถ้าไม่ต้องการให้กระเด็นออกนอกรถ ต้องมีระบบยึดเหนี่ยว ซึ่งรถยนต์ทุกประเภทมีระบบยึดเหนี่ยวที่เป็นมาตรฐานระบบเดียวคือ เข็มขัดนิรภัย

  • เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ใช้ไม่ได้กับเด็กสูงน้อยกว่า 135 ซม.

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ยังบอกอีกว่า เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ทุกรุ่นทุกประเภท ไม่สามารถใช้ได้สำหรับเด็กที่สูงน้อยกว่า 135 ซม. หรือ 9 ขวบ จึงไม่สามารถโฆษณาว่าเป็นรถครอบครัวได้ ตราบใดที่ไม่แนะนำให้มีระบบยึดเหนี่ยวเพิ่มเติม หรือที่นั่งนิรภัยหรือที่นั่งเสริม 

ผู้ขายมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องบอกผู้บริโภคว่าสินค้าชิ้นนี้ไม่เหมาะเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีหรือสูงน้อยกว่า 135 ซม. หากโฆษณาว่าเป็นรถครอบครัวถือว่าผิด ต้องขอให้หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคลงไปตรวจสอบเรื่องนี้ 

สำหรับที่นั่งนิรภัย/ที่นั่งเสริม กรณีเด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ จะเป็นแบบที่นั่งที่หันไปด้านหลังรถ มีระบบยึดเหนี่ยวตัวเด็กและยึดที่นั่งกับตัวรถ อายุ 2-6 ปี จะเป็นแบบหันไปด้านหน้ารถ มีระบบยึดตัวเด็กและยึดที่นั่งกับรถ ส่วนอายุ 4-11 ปี จะมีแบบที่นั่งเสริม ที่ใช้เข็มขัดนิรภัยล็อกเด็กไปพร้อมกับที่นั่ง

  • องค์การอนามัยโลก สนับสนุนการใช้ ‘คาร์ซีท’

ขณะที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นห่วงในเรื่องนี้เช่นกัน  นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 มาตราที่ 123 ระบุไว้ว่าคนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ 

และองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่อง “ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก” และสนับสนุนการใช้ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 70 

ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี 2560 มีมติเห็นชอบ 12 เป้าหมายโลก สำหรับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยในเป้าหมายที่ 8 กำหนดให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานยนต์หรือใช้อุปกรณ์รัดตึงนิรภัยสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐานให้ใกล้เคียงร้อยละ 100

  • การเลือกคาร์ซีทสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย

ด้านนพ.อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมถึงการเลือกที่นั่งนิรภัยที่ปลอดภัยสำหรับเด็กว่า 

1. ควรจัดให้มี  ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก และใช้งานอย่างถูกวิธีตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์

2. เลือกรูปแบบคาร์ซีทและติดตั้งให้เหมาะสมตามช่วงอายุ สรีระ น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็ก โดยที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กแรกเกิด-3 ปี ควรใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ ซึ่งจะปลอดภัยมากที่สุด หรือเด็กที่มีอายุ 2-6 ปี สามารถใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าได้ ส่วนเด็กที่เริ่มโต ควรใช้บูสเตอร์ซีท เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยปกติ 

3. มีมาตรฐานความปลอดภัย จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ กรณีเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยมือสอง ควรสำรวจสภาพไม่มีรอยบุบหรือแตก สายรัดหรือเข็มขัดมีสภาพดี และอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 6 ปี

4. อ่านคำแนะนำการใช้การติดตั้งอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

5. สำหรับรถเก๋ง ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะหลัง ไม่ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะด้านหน้าข้างคนขับ เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กอาจโดนกระแทกจากถุงลมนิรภัยได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า