Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่ม CARE จัดงานให้นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ภาคประชาชน เสนอความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในฝัน หลายคนเห็นตรงกันต้องสั้น กระชับ เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ขณะที่กลุ่มเตรียมรณรงค์ทางความคิดล้างภาพจำประชาชนไม่ใช่เจ้าของประเทศ

วันที่ 8 ส.ค. 2563 ที่ลิโด คอนเน็ก กลุ่ม CARE จัดงาน “CARE ชวน คิด เคลื่อน เขียน รัฐธรรมนูญฉบับในฝัน ของประชาชน” โดยเชิญนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคม ภาคประชาชน 14 คนเสนอความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญในฝันของตนเอง

รศ.โกวิท วงส์สุรวัฒน์ กล่าวว่า แม้ตนจะสอนหนังสือมาตั้งแต่ปี 2515 และสอนเรื่องรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด แต่ก็ขอสารภาพว่า ไม่ค่อยรู้เรื่องว่ารัฐธรรมนูญไทยเป็นอะไร เพราะอ่านไม่รู้เรื่อง เริ่มตั้งแต่เรื่องคำปรารภ ที่ขึ้นด้วยคำว่า ศุภมัสดุ … และเนื้อหาก็ยิ่งยาวมากขึ้น

ตนได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ก็แปลกใจที่รัฐธรรมนูญของสหรัฐมีความยาวแค่ 10 หน้า แต่ใช้มาได้นานถึง 231 ปี เมื่อกลับมาสอนที่ไทยว่ารัฐธรรมนูญที่ดีเป็นอย่างไร ก็พบว่าของเราไม่เข้าเกณฑ์เลย ที่ทำท่าว่าจะดีคือ ฉบับปี 2540 ก็ยาวเกินไป ใครจะไปนั่งอ่าน ตนเห็นรัฐธรรมนูญไทยมา 20 ฉบับ มองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะคนไม่อ่าน เพราะอ่านก็ไม่รู้เรื่อง แม้แต่ครูบาอาจารย์ก็อ่านไม่รู้เรื่อง ควรจะเขียนสั้นใช้ภาษาคนธรรมดา และไม่ควรมีเรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เริ่มมาตั้งแต่ฉบับปี 2492 แล้วก็มีมาโดยตลอด แล้ตอนหลังก็ยังมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เข้าไปอีก

รศ.โกวิท กล่าวว่า ทางออกวิกฤติ ตนเห็นว่าต้องเขียนรัฐธรรมนูญให้คนอ่านรู้เรื่อง เขียนให้สั้น กรณีของสหรัฐอเมริกา ตอนที่ตนเรียนจบและสอนที่ไฮสคูล ที่อิลินอยส์ เขากำหนดว่าเด็กที่จะเรียนจบชั้นประถมศึกษาจะได้ใบประกาศนียบัตรต้องสอบรัฐธรรมนูญให้ผ่าน เรียนจบชั้นมัธยมก็ต้องสอบเป็นเรื่องเป็นราว เรียนมหาวิทยาลัยก็มีการเรียนวิชาการเมืองการปกครองสหรัฐเป็นวิชาบังคับ และต้องสอบให้ได้ ซีเป็นอย่างน้อย ดังนั้น คนของเขาจึงต้องอ่าน ต้องสอบ ต้องเข้าใจ เขาจึงเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพของตน การจะมาตีกิน หลอกลวงโกหก เป็นเรื่องยาก

รศ.โกวิท กล่าวติดตลกด้วยว่า ตอนมี รัฐธรรมนูญปี 2540 ตนเกิดไอเดียบังคับลูกศิษย์ไปคัดเนื้อหามาส่ง ตั้งแต่นั้นสุขภาพตนก็แย่ลง เพราะถูกแช่งด่าเผาพริกเผาเกลือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญยาว ต้องใช้สมุดเขียนด้วยลายมือมาส่งถึง 2 เล่ม

“อยากได้รัฐธรรมนูญในฝันที่คนอ่านรู้เรื่องและสั้นหน่อย ที่มีปัญหาเพราะเราอ่านไม่รู้เรื่องแล้วก็เถียงกัน”

ด้านนายธีรชัย ระวิวัฒน์ นักศึกษา ชั้นปี 4 คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตนไม่ได้มีความรู้รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์เท่ากับอาจารย์หลายท่าน และไม่ได้เป็นนักต่อสู้ทางการเมืองเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพเหมือนกับนักต่อสู้หลายๆ ท่าน ตนเป็นแค่เด็กคนหนึ่งจาก จ.ราชบุรี ที่ไม่ได้ต่างจากเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน ตนจึงจะขอพูดเรื่องรัฐธรรมนูญในฝันของเด็กโง่คนหนึ่ง ไม่ใช่ในฐานะนักศึกษา
ตนอยากจะเชิญชวนให้มองรัฐธรรมนูญในมุมใหม่ ที่ไม่ใช่กฎหมายสูงสุด หรือกฎกติกา แต่จะมองในฐานะคู่ชีวิต ในฐานะแฟนของเรา รัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้มาแล้ว 20 ฉบับ เหมือนเรามีแฟนมาแล้ว 20 คน เหมือนกับใครที่เดินเข้ามาแล้วก็จากไป มีทั้งเดินเข้ามาด้วยความหวังดี เข้ามาด้วยความประสงค์ร้าย มีทั้งเดินเข้ามาแล้วแล้วสบายใจ มีความหวัง มีทั้งเดินเข้ามาแล้วอยู่ไม่เท่าไรเขาจะต้องเดินจากไป
สเป็กของคนที่ชอบ ตนอยากได้คนที่อยู่ด้วยแล้วอบอุ่น รู้สึกปลอดภัย รู้สึกว่าไม่ทอดทิ้งเรา รัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน เราอยากได้ฉบับที่ประกาศใช้แล้วเราอุ่นใจ ปลอดภัยจากอำนาจรัฐที่จะมาริดรอน รู้สึกอุ่นใจที่จะมีบทบัญญัติที่ไม่ทอดทิ้งเราจากอำนาจรัฐ หรือจากอำนาจทั้งในและนอกระบบที่ป่าเถื่อน
เราอยากได้คนที่ไม่จู้จี้จุกจิก ระแวงเราไปหมด รับธรรมนูญก็เหมือนกัน เราไม่อยากได้ที่มีข้อบังคับมากมายหยุมหยิมขยับไม่ได้ ไม่ไว้ใจเราในฐานะประชาชน ไม่เชื่อว่าเราคิดเองได้ ต้องมีหน่วยงานคอยมาตรวจสอบ ตีกรอบความคิด

เราอยากได้คนที่คุยกับเรารู้เรื่อง คนที่จะเป็นแฟนกันได้ต้องคุยภาษาเดียวกันรู้เรื่อง แม้ว่าจะพูดคนละเรื่อง แต่สามารถอธิบายแนวคิดระหว่างกันแล้วเข้าใจได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงควรเข้าใจง่าย ไม่ต้องยาก พูดภาษาเดียวกับเรา ไม่ต้องใช้ภาษากฎหมายที่ยากมากมายต้องอาศัยใครมาวินิจฉัยและตีความให้
เราอยากได้คนที่ไม่ว่าจะทะเลาะกันเท่าไร เราจะปรับตัวเข้าหากันเพื่อรักษาความสัมพันธ์ไว้ เช่นกันเราอยากได้รัฐธรรมนูญที่ปรับแก้ได้ไม่ใช่แก้ยากจนเกินไปหรือง่ายจนเสียหลักการที่ควรยึดถือ
เราอยากได้คนที่คิดถึงเรา ทำเพื่อเรา มองว่าเราเป็นคนสำคัญ เช่นกันเราอยากได้รัฐธรรมนูญที่คิดถึงและทำเพื่อประชาชน ออกแบบมาเพื่อประชาชน ไม่ใช่ดีไซน์มาเพื่อพรรคการเมือง มองประชาชนเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวอักษร
รัฐธรรมนูญจึงควรแค่ใส่หลักการง่ายๆ แต่ขอให้มั่นคงในหลักการ 3 ข้อ 1.ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดจริงๆ 2.หลักว่าด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคนรวยคนจน อำนาจเก่าอำนาจใหม่อยู่ร่วมกันได้ ทุกคนมีที่ยืน 3.หลักว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ
“ถ้าเราเจอคนที่ใช่เราจะอยากอยู่กับเขาไปนานๆ แล้วเมื่อนานเข้าเราจะเกิดความผูกพันจนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต รัฐธรรมนูญจะกลายเป็นจิตวิญญาณและศูนย์รวมใจ เมื่อนั้นจะเกิดกระบวนการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญขึ้นเองเพราะความรัก เราจะไม่ยอมให้ใครถือปืนแล้วฉีกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปจากเรา ถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หวังว่าจะไม่มีพื้นฐานมาจากความโกรธและความเกลียดชัง แต่ขอให้ร่างจากความรัก เพราะความรักจะเป็นเกราะป้องกันรัฐธรรมนูญของพวกเราได้ดีที่สุด”

ขณะที่นางลักขณา ปันวิชัย หรือ “คำ ผกา” พิธีกรและคอลัมนิสต์ ในฐานะผู้แทนกลุ่ม CARE กล่าวว่า จากแนวคิดของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะถูกฉีกไปกี่ครั้ง แต่ฉบับที่ยังคงอยู่คือ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย ซึ่งหมายถึง สำนึกแห่งความเป็นไพร่เป็นทาส ความงมงายที่ก่อรูปเป็นวาทกรรม ฝังในจิตสำนึกว่าประเทศไทยไม่ใช่เป็นของราษฎรซึ่งทำให้การรัฐประหารประสบความสำเร็จมีความชอบธรรม และถูกมองว่าเป็นเครื่องมือเดียวในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในสังคมไทย


ดังนั้น กลุ่ม CARE เห็นว่าถ้าจะมีรัฐธรรมนูญที่จะไม่ถูกฉีกทิ้ง ต้องฉีกรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมให้สำเร็จ ต้องประกาศอิสรภาพจากอำนาจที่กดไว้ โดยจะรณรงค์ผ่านสื่อว่าด้วยประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญ โดยเป็นคลิปที่นำเสนอต่อเนื่องให้เข้าใจง่ายผ่านทาวงเพจของกลุ่ม และจะต่อยอดไปถึงการสร้างบทสนทนาว่าด้วยรัฐธรรมนูญที่พึงมีของสังคมไทยให้กว้างขวางที่สุด เพื่อระดมความเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในรัฐธรรมฉบับวัฒนธรรมใหม่ และสร้างรัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรที่จะยั่งยืนในสังคมไทยต่อไป โดยจะเขียนให้ไม่เกิน 30 หน้ากระดาษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า