SHARE

คัดลอกแล้ว

ใช่คุณรึเปล่า ที่ต้องคอยเป็น ‘ตัวรับจบ’ เมื่อเพื่อนร่วมงานทำได้ไม่ตรงตามมาตรฐาน ใช่คุณด้วยรึเปล่า ที่หัวหน้านึกถึงเป็นคนแรกๆ เมื่ออยากทำงานด่วนให้เสร็จภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว

และใช่คุณอีกรึเปล่า ที่ทำมาหมดทุกอย่างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการโปรโมตเลื่อนขั้นสักที

สำหรับนักวิชาการผู้ศึกษาศาสตร์ว่าด้วยจิตวิทยาคนทำงาน เรียกสิ่งนี้ว่า ‘The workhorse trap’ หรือกับดักของพนักงานที่ทำงานอย่างหนัก รักองค์กรมากแต่กลับไม่ก้าวหน้า ไม่ได้รับการมองเห็น และไม่ได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงาน Superstar สักที

‘อลิสัน ฟราเกล’ (Alison Fragale) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพให้ความเห็นไว้ว่า พนักงาน Workhorse มักมีความคิดติดอยู่ในลูปที่ว่า “ยังมีอะไรที่ฉันพอจะทำได้อีกมั้ย” ทำทุกอย่างไปเรื่อยๆ ที่ได้รับคำสั่งมาแบบไม่มีข้อแม้ และคิดว่า การทุ่มเทความพยายามทั้งหมดเป็นสิ่งที่ต้องทำหากอยากขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนตำแหน่งไปอีกขั้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความพยายามที่ว่ามาเป็นสิ่งที่ ‘ใครๆ ก็ทำได้’ ฟราเกลบอกว่า สถานะตัวรับจบเป็นเรื่องของการอุทิศชีวิต ไม่ได้ยึดโยงกับเพอฟอร์แมนซ์ที่โดดเด่นเปล่งประกายแต่อย่างใด ถ้าอยากโดดเด่น อยากได้รับการมองเห็น สิ่งที่ต้องทำคือหาบิ๊กโปรเจกต์มาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ และต้องเปลี่ยนวิธีที่เพื่อนร่วมงานกับหัวหน้ามองมาที่เราให้ได้

[ อย่ารอให้คนอื่นรู้เอง พูดออกไปเลยว่า ฉันทำอะไรบ้าง ]

ธรรมชาติของมนุษย์โดยเฉพาะวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆ การจะพูดออกไปว่า เราทำอะไรมาบ้างอาจดูเป็นเรื่องโอ้อวดเกินจริงไปหน่อย แต่อยากให้ลองเปลี่ยนความคิดกลับมุมมองกันดูใหม่ เพราะศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์บอกว่า ทุกคนมีโอกาสที่จะโชว์ผลงานให้คนอื่นๆ เห็นว่า ทำอะไรไปบ้าง แต่เรากลับละทิ้งโอกาสนั้นไปดื้อๆ

ยกตัวอย่างเช่น เวลามีเพื่อนร่วมงานแผนกอื่นเดินสวนแล้วถามไถ่ว่า ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง การตอบเพียงว่า “สบายดี” หรือ “ช่วงนี้ยุ่งๆ” ไม่ก่อให้เกิดบทสนทนาอะไร ลองใช้วิธีแชร์ประสบการณ์ที่กำลังทำ แลกเปลี่ยนว่า งานที่ถืออยู่เป็นอย่างไร โดยเฉพาะชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ ให้ระวังเส้นแบ่งระหว่างแชร์มุมมองกับการบ่นดีๆ เลือกบอกเล่าเฉพาะส่วนที่เป็นบวกก็พอ

บทความจาก The Wall Street Journal ยกตัวอย่างกรณีของพนักงานสตาร์ทอัพที่ทำงานอย่างตั้งอกตั้งใจหลายปี อยู่เบื้องหลังการสร้างแผนกขายและทำเงินให้บริษัทหลายล้านเหรียญ แต่เธอกลับไม่ได้รับการเลื่อนขั้น หลังจากนั้นจึงตัดสินใจลาออกแล้วไปเริ่มงานใหม่ในตำแหน่ง Operations Manager ที่ Google

ตอนนั้นเองที่เธอเริ่มใช้วิธีการบอกให้ทุกคนรู้ว่า ขอบข่ายความรับผิดชอบของตัวเองมีอะไรบ้าง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ซึ่งกลยุทธ์นี้ทำให้ผู้บริหารระดับบนมองเห็นเช็กลิสต์ความสำเร็จ และเธอเองก็สามารถกันงานที่อยู่นอกความรับผิดชอบออกไปได้ด้วย

[ อยากโดดเด่น ต้องหยุดเป็น ‘Invisible Labor’ ]

งานวิจัยของ ‘เทสซา เวสต์’ (Tessa West) นักจิตวิทยาสังคมผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ระบุว่า มีคนทำงานกว่า 80% ที่ต้องรับบทบาท ‘ตัวรับจบ’ ในองค์กร และพบว่า งานที่เพิ่มมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน

เธอบอกว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักคิดว่า การทำงานเหล่านี้จะทำให้พวกเขาได้รับเครดิตไปเต็มๆ แต่แท้จริงแล้วเครดิตเหล่านั้นวนเวียนอยู่ในความคิดความทรงจำของหัวหน้ามากกว่า (ในกรณีที่หัวนายจำได้ด้วยนะ) นอกจากนี้ แม้ว่าคุณจะทำเพิ่ม ทำเยอะ แต่เรื่องราวระหว่างบรรทัดก็ไม่ได้เป็นผลดีกับองค์กรหรือตัวหัวหน้าสักเท่าไหร่

จะเป็นอย่างไรถ้ามีการเปิดเผยต่อสาธารณะว่า คุณยอมทำสไลด์แทนเพื่อนร่วมงาน หรือรับโทรศัพท์หัวหน้าเพื่อคุยเรื่องงานตอนสี่ทุ่ม จึงไม่น่าแปลกใจ ที่สุดท้าย ‘งานงอก’ เหล่านี้จะกลายเป็นงานที่มองไม่เห็น

ทริคคือเวลาได้งานเพิ่ม ให้หาจังหวะถามหัวหน้าของคุณไปด้วยว่า งานนี้มัดรวมกับการประเมินเพอฟอร์แมนซ์ประจำปีด้วยหรือไม่ บางกรณีหัวหน้าจะกลับไปตกตะกอนได้ว่า พนักงาน Superstar จะเลือกรักษาเวลาของพวกเขา เพื่อทุ่มพลังงานไปกับการทำงานของตัวเองให้มีประสิทธิภาพที่สุด หรือถ้าใช้วิธีนี้ไม่ได้ผลจริงๆ ลองกลับมาทบทวนดูว่า งานที่กำลังทำอยู่ช่วยยกระดับ Resume ของเราได้หรือไม่

ถ้าคำตอบคือใช่ก็เป็นเรื่องดีไป แต่ถ้าไม่ใช่ก็คงต้องคิดดูดีๆ อีกทีว่า ควรจะไปต่อหรือพอแค่นี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า