SHARE

คัดลอกแล้ว

 ‘พัชรวาท’ รมว.ทส. วาง 3 กฎเหล็ก แก้ปมพิพาท ‘ทับลาน’ เซฟผืนป่า-เซฟประชาชน ตัดวงจรนายทุน นักการเมืองไม่ให้มีเอี่ยว

ความเคลื่อนไหวต่อกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความคิดเห็น การเพิกถอนพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อนำไปเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-12 กรกฎาคม 2567 จนเกิดเป็นกระแสคัดค้านในโซเชียลมีเดียไทย

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็น โดยกรมอุทยานฯ พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินของชาวบ้านประมาณ 58,582ไร่ ซึ่งจะดูแลชาวบ้านเป็นหลัก ส่วนพื้นที่กว่า 2.65 แสนไร่ เป็นพื้นที่เขตอุทยานทับลานทั้งหมด ไม่ใช่ที่ดินทำกินทั้งหมด คณะกรรมการอุทยาน จะเป็นผู้พิจารณา ย้ำว่าจะเร่งรัดให้พิจารณาภายใน 30 วัน ส่วนที่ประชาชนในสังคมไม่เห็นด้วยก็พร้อมรับฟัง

หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสร็จสิ้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น ล่าสุด ได้ให้นโยบายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการเร่งด่วน คือ

1. ให้พิจารณาสิทธิ์ชาวบ้านในการถือครองที่ดิน สปก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมืองถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิ์ให้ชัดเจน

2. ให้ความเป็นธรรมชาวบ้าน ที่อยู่มาดั้งเดิมกว่า 20 ปี เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน คาดว่ามีประมาณ 5 หมื่นไร่

3. การจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำกิน ต้องไม่ตัดผืนป่าอุดมสมบูรณ์ ห้ามตัดพื้นที่ต้นน้ำ หรือที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไปเพราะต้องรักษาผืนป่าไว้ อาจพิจารณาตัดแบ่งเฉพาะที่ประชาชนอาศัยและทำกินอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการทุกอย่าง ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย

[ อธิบดีกรมอุทยานฯ ยอมรับ เป็นข้อบกพร่องของกรมป่าไม้ในอดีต ]

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช กล่าวว่า ปัญหานี้ยืดเยื้อมา 40 ปีแล้ว พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติมาก่อน ต่อมาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เข้ามาถือครองจนกลายที่อยู่อาศัยกฎหมาย พื้นที่ 50,000 กว่าไร่ แต่หลังจากนั้นมีประกาศอุทยานแห่งชาติไปประกาศทับพื้นที่ ยอมรับเป็นข้อบกพร่องของกรมป่าไม้ในอดีต ซึ่งตอนนี้ได้พูดคุยให้กันพื้นที่ชาวบ้านออกและสำรวจแนวเขตใหม่

ซึ่งเป็นมติ ครม. ปี พ.ศ. 2541 ให้มีการสำรวจแนวเขตใหม่ ในปี พ.ศ. 2543 แต่ว่าแนวเขตใหม่ไม่ไปถึงจุดสิ้นสุดของกฎหมาย สถานภาพจึงเป็นป่าในการดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเขตเดิมในปี พ.ศ. 2524

หลายรัฐบาลที่ผ่านมาได้พยายามแก้ไขปัญหาที่ดินทับซ้อนของชาวบ้าน ได้ประชุมผ่าน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ซึ่งมีมติออกมาให้กันแนวที่ดินชุมชนที่อยู่ 265,000 ไร่ ไปอยู่ในการดูแลของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรียุคพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และมีมติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ว่า ให้ดำเนินการตามข้อเสนอของ สคทช.

แต่บุคคลใดก็แล้วแต่ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายจะไม่ได้รับการยกเว้น จากนั้น กรมอุทยานฯ จะมาดำเนินการตามกฎหมาย หากจะปรับปรุงแนวเขต ต้องรับฟังความเห็นประชาชน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้ จากนั้นจะนำความเห็นทั้งหมด มารวมกับความเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่ทำประชาพิจารณ์ไปแล้ว เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

โดยนำข้อมูลทั้งหมด เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ที่มี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน คาดว่าจะต้องรวบรวมข้อมูลและนำเสนอ ในระยะเวลา 30 วัน

นายอรรถพล ยอมรับว่า พื้นที่ 265,000 ไร่ มีทั้งพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทำกินเดิม และในจำนวนนี้ประมาณ 12,000 ไร่ เป็นกลุ่มรีสอร์ท บ้านพักของนายทุน ที่มีการเปลี่ยนมือซื้อขายที่ดินเป็นทอดๆ ดังนั้นจะต้องพิจารณาว่าคนที่ครอบครองนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร ยืนยัน กรมอุทยานฯ ว่าจะยึดหลักความถูกต้อง

ส่วนที่กระแสสังคมมองว่า มติ ครม. วันที่14 มีนาคม 2566 นั้น เอื้อประโยชน์นายทุน กลุ่มการเมืองที่เข้าไปครอบครองที่ดินโดยไม่ต้องรับผิดนั้น นายอรรถพล กล่าวว่า รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ปัญหาที่ดินทำกิน จึงมองว่าที่ประชาชนอาศัยทำกินอยู่ให้คงสภาพเป็นที่ดินของรัฐ เพียงแต่ ส.ป.ก. ต้องรู้ว่าใครมีหรือไม่มีคุณสมบัติในการครอบครอง

[ ‘ธรรมนัส’ โยนเผือกร้อน #Saveทับลาน ไม่เกี่ยวกับ ก.เกษตร ]

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า กระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เรื่องอุทยานแห่งชาติทับลาน สืบเนื่องมาจากรัฐบาลที่แล้ว ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 มีการนำความเห็น คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เสนอครม. เรื่องการปรับแบ่งเขตปี พ.ศ. 2543 ถือเป็นเรื่องสำคัญ กระทรวงเกษตรไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเรื่องนี้เลย หากคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติเห็นชอบอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติ ต้องนำไปดำเนินการ ซึ่งขณะนี้มีการเปิดรับฟังเสียงประชาชนในพื้นที่จึงขอชี้แจงให้เข้าใจว่า ไม่ใช่เป็นเพราะรัฐบาลชุดนี้ เพราะจะเกิดความเข้าใจผิด มีสื่อบางสำนักนำเสนอข่าวมีการโจมตีและพาดพิงส.ป.ก. อาจทำให้เกิดความเสียหายได้

ผู้สื่อข่าวถามถึงการตั้งข้อสังเกตว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน มีบางรีสอร์ทที่พรรคพลังประชารัฐ ไปจัดสัมมนาถูกพาดพิงเชื่อมโยงถึงการออกมติ ครม. เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 นั้น ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ตนออกจากพรรคมาแล้วในช่วงนั้น จึงไม่ทราบ

เมื่อถามย้ำว่ามีความกังวลว่าหากออกแนวเขตตามนั้นอาจเป็นการนิรโทษกรรมให้กับนายทุนทั้งหมดที่บุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่า ร.อ.ธรรมนัส ตอบว่า “ไม่หรอกครับ ต้องมีการจำแนกให้ชัดเจนว่าอันไหนเกษตรกรอันไหนเป็นกลุ่มทุน” พร้อมยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการงัดข้อกันภายในระหว่าง 2 กระทรวงแต่อย่างใด

‘อุทยานแห่งชาติทับลาน’ โซเชียลฯ ติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ค้านเพิกถอนที่อุทยานฯ กว่า 2.6 แสนไร่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า