SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลให้ประกันตัว ‘นักข่าว-ช่างภาพอิสระ’ หลังมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง ด้าน สมาคมนักข่าวฯ ออกแถลงการณ์ กังวลสิทธิเสรีภาพสื่อถูกปิดกั้น

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยว่า เวลา 14.46 น. วันนี้ (13 ก.พ. 67) ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวของประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระแล้ว หลังพนักงานสอบสวน ยื่นขออำนาจศาลฝากขัง คดีสนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหาย เมื่อปี 2566 พร้อมระบุว่า ทนายความกำลังยื่นขอประกันตัว

ต่อมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แจ้งว่า เวลา 15.50 น. ศาลอาญาให้ประกันตัวทั้งสองคนแล้ว วางเงินคนละ 35,000 บาท ไม่มีเงื่อนไขอื่น

สมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตย (DemAll) ออกแถลงการณ์ในช่วงค่ำ วันที่ 12 ก.พ. 67 มีเนื้อหาระบุว่า แถลงการณ์ การรายงานข่าวไม่ใช่อาชญากรรม กรณีผู้สื่อข่าวประชาไท และช่างภาพอิสระ ถูกจับกุมจากเหตุไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง เมื่อมีนาคมปี 66

จากเหตุการณ์ นายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวของประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระ ถูกตำรวจชุดนอกเครื่องแบบแสดงหมายจับ ข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ และนำตัวไปควบคุมไว้โดยไม่ให้สิทธิประกันตัว

คาดว่า มาจากกรณีทั้งคู่ติดตามรายงานข่าวเหตุการณ์ เมื่อ 28 มี.ค. 2566 กรณีที่ศิลปินอายุ 25 ปี ได้พ่นสีข้อความทำเป็นสัญลักษณ์ไม่เอา 112 และเครื่องหมายสัญลักษณ์ “อนาคิสต์” บนกำแพงวัดพระแก้ว ด้านตรงข้ามสนามหลวง

“สมาพันธ์สื่อไทยเพื่อประชาธิปไตย หรือ Thai Media for Democracy Alliance (DemAll) มีความเห็นร่วมกันว่า ผู้สื่อข่าวไม่ใช่อาชญากร การรายงานข่าวถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบธรรมของสื่อมวลชน ซึ่งกิจกรรมการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะอยู่ในขอบเขตของกฎหมายหรือไม่ สื่อย่อมสามารถถ่ายทอดเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อเขียนได้โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย จึงขอประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจในลักษณะยัดเยียดความผิดแบบเหวี่ยงแห ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน และขอเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้สื่อข่าวประชาไทและช่างภาพอิสระออกมาอย่างไม่มีเงื่อนไขโดยเร็วที่สุด”

ขณะที่ คณะกรรมการนิสิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศผ่านทางโซเชียลมีเดีย เชิญชวน เด็กนิเทศและนิสิตจุฬาฯ ใส่เสื้อสีดำ ร่วมกิจกรรม ยืนหยุดขัง เรียกร้องเสรีภาพในการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ให้ตำรวจปล่อยตัวนักข่าวประชาไทและสื่ออิสระ อื่นๆ ที่โดนจับไป บริเวณลานโลมา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 12.30 – 12.41 น.

 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ ในวันนี้ (13 ก.พ. 67) กังวลสิทธิเสรีภาพสื่อถูกปิดกั้น กรณีนักข่าวสำนักข่าวประชาไท และช่างภาพอิสระ ถูกตำรวจจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาฯ

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ กังวลสิทธิเสรีภาพสื่อถูกปิดกั้น ตามกรณีที่นักข่าว สำนักข่าวประชาไท และช่างภาพอิสระ ถูกตำรวจจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาลงวันที่ 22 พ.ค. 66 ในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนทำให้โบราณสถานเสียหายจากการขีดเขียนข้อความ และถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 67 นั้น

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รับทราบและติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประสานกับสำนักข่าวประชาไทต้นสังกัดของนักข่าวดังกล่าว เพื่อยืนยันความชัดเจนว่าเป็นการปฏิบัติงานข่าวจริงตามที่บรรณาธิการต้นสังกัดได้รับรองให้ไปปฏิบัติหน้าที่

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในหลายประเด็น เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วนรอบด้าน และมีการประชุมหารือของกรรมการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ทราบว่า นักข่าวประชาไท และช่างภาพอิสระ ถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 67

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ขอแสดงความกังวลถึงการตั้งข้อกล่าวหาว่า “ร่วมสนับสนุนการกระทำผิดในคดีอาญา” จะเป็นการบั่นทอนต่อสิทธิเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าไปทำหน้าที่รายงานข่าวทั้งในเหตุการณ์ที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบต่อสังคม ทำให้โอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการยุติธรรมจะมีความชัดเจนกับสังคม และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพและคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่

นอกจากนี้ ในโอกาสของการพิสูจน์ในข้อกล่าวหาดังกล่าว ผู้ถูกกล่าวหาไม่มีท่าทีหลบหนีการต่อสู้คดีในชั้นศาล เพื่อความเป็นธรรม สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาสมควรจะได้รับสิทธิ์ และขอความกรุณาในชั้นศาล ในการพิจารณารับการประกันตัวชั่วคราว เพื่อออกมาสู้คดีแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างเต็มที่ตามหลักของกระบวนการยุติธรรม และเพื่อพิสูจน์ว่าเหตุดังกล่าวเกิดจากการทำหน้าที่สื่อมวลชนภายใต้กรอบจริยธรรม หรือเป็นพฤติการณ์อื่นๆ ต่อไป

หากสื่อมวลชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ใจภายใต้กรอบกฎหมาย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ มีช่องทางในการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะด้านความช่วยเหลือในการจัดหาทนายความต่อสู้คดีตามกรอบความร่วมมือข้อตกลงร่วมกัน (MOU) กับสภาทนายความ สามารถติดต่อผ่านช่องทางต่างๆของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ

สุดท้ายขอเรียกร้องให้บรรณาธิการและต้นสังกัด กำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานข่าวทำงานอยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ กฎหมาย ยึดหลักการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน นำเสนอข้อมูลข่าวสารเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน นำเสนอข่าวสารด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง รอบด้าน เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการที่ตำรวจจับกุมนักข่าวและช่างภาพอิสระ หลังไปทำข่าวนักกิจกรรมพ่นกำแพงวัดพระแก้ว เมื่อปี 2566 ว่า ตนตามที่อ่านในหน้าข่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่ากรณีนี้รัฐบาลจะฟ้องปิดปากสื่อ นายเศรษฐา กล่าวว่า “รัฐบาลนี้ให้ความแฟร์กับสิทธิเสรีภาพสื่อพอสมควร ผมว่าการที่ผม ท่านก็เห็นว่าท่านอยู่กับผมมา 6 เดือนนี้ มีอะไรผมก็ตอบตลอดเวลา ผมให้เกียรติซึ่งกันและกันตลอดเวลา เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อ ผมเชื่อว่ารัฐบาลนี้ทุกรัฐมนตรีทุกท่านให้ความสำคัญและให้เกียรติซึ่งกันและกันมาโดยตลอด”

“ส่วนเรื่องนักข่าวคนนี้จะไปทำอะไรผิดหรือไม่นั้น ก็ถือเป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องไปดูแลให้เหมาะสม แน่นอนครับถ้าเกิดจะให้ผมสั่งการ ผมก็สั่งการไม่มีการกลั่นแกล้งแน่นอน ทุกอย่างว่าไปตามตัวบทกฎหมายยืนยัน ยืนยันครับ ผมเชื่อว่าการกระทำของรัฐบาลนี้และรัฐมนตรีทุกท่านเป็นสิ่งพิสูจน์ว่าเราให้สิทธิและเสรีภาพสื่อ” นายเศรษฐา กล่าว

 

 

 

[ประมวลภาพ คุมตัวนักข่าว ช่างภาพอิสระ ส่งฝากขังต่อศาล] 

ภาพ ชนากานต์ เหล่าสารคาม / Thai news pix

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

ภาพ ธนัญชัย แก้วโสวัฒนะ / Thai News Pix

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า