Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยให้เห็นถึงความต้องการทองคำทั่วโลกในปี 2565 (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ที่เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (YoY)

โดยปริมาณความต้องการทองคำพุ่งแตะ 4,741 ตัน สูงสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ปี 2554 โดยเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสที่สี่ของปี 2565 จากการซื้อของทองของธนาคารกลาง ประกอบกับการลงทุนของผู้บริโภครายย่อยยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย ความต้องการทองคำของผู้บริโภคในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 เพิ่มขึ้น 9% YoY จาก 12.4 ตัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ไปเป็น 13.5 ตัน

ด้วยแรงหนุนจากความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำที่สูงขึ้น 8% YoY จาก 10.0 ตัน ในไตรมาส 4 ปี 2564 เป็น 10.8 ตันในไตรมาส 4 ปี 2565 และความต้องการอัญมณีที่เพิ่มขึ้น 15% YoY จาก 2.4 ตัน ในไตรมาส 4 ปี 2564 ไปเป็น 2.8 ตัน ในไตรมาส 4 ปี 2565

‘แอนดรูว์ เนย์เลอร์’ (Andrew Naylor) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาค APAC (ไม่รวมประเทศจีน) ของสภาทองคำโลก กล่าวว่า แม้ตลาดส่วนใหญ่ในอาเซียนจะมีการลงทุนของนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้นในปี 2565 แต่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น

เพราะความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำรายปีปรับตัวลดลงมาเล็กน้อย มาอยู่ที่ 28.5 ตัน ส่วนความต้องการอัญมณีรายปีในประเทศยังคงค่อนข้างซบเซาหากเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาดแม้ว่าความต้องการรายไตรมาสจะสูงกว่าก็ตาม

สำหรับ Key Highlight ของรายงานฉบับล่าสุด พบว่า ความต้องการรายปีของธนาคารกลางเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวไปอยู่ที่ 1,136 ตัน ในปี 2565 จาก 450 ตัน ในปีก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 55 ปี

โดยมียอดซื้อในไตรมาส 4 ปี 2565 เพียงไตรมาสเดียวที่สูงถึง 417 ตัน ซึ่งทำให้ยอดรวมในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 พุ่งไปมากกว่า 800 ตัน

ส่วนสาเหตุหลักมาจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Uncertainty) และความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งแรงซื้อหลักมากจากธนาคารกลางในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ซึ่งรวมถึงประเทศไทย

สำหรับความต้องการในฝั่งการลงทุน (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ปี 2565 เพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา โดยมีผลมาจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. การชะลอตัวของเงินทุนไหลออกจากกองทุนทองคำประเภท ETF ที่เห็นได้ชัด

และ 2. ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำที่แข็งแกร่ง ซึ่งทองคำแท่งและเหรียญทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยมของนักลงทุนในหลายประเทศทั่วโลก และนับว่าเป็นปัจจัยที่มาช่วยชดเชยความต้องการที่ถดถอยในประเทศจีน

ในฝั่งของยุโรป การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำรวมในปี 2565 พุ่งทะลุ 300 ตัน จากแรงหนุนของความต้องการที่มีความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในเยอรมนี

นอกจากนี้ ความต้องการยังเพิ่มขึ้นอย่างมากในพื้นที่ตะวันออกกลาง โดยดีมานด์รายปีเพิ่มขึ้นถึง 42% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

สำหรับความต้องการอัญมณีในปี 2565 ลดลงเล็กน้อยที่ 3% มาอยู่ที่ 2,086 ตัน ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการของอัญมณีในประเทศจีนที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดกว่า 15% เพราะการล็อกดาวน์ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาทองคำในไตรมาสที่ 4 ยังส่งผลให้ความต้องการอัญมณีรายปีลดลงอีกด้วย

ด้านอุปทานของปี 2565 ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาแตะ 4,755 ตัน และยังคงสูงกว่าในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด อีกทั้งการทำเหมืองทองคำยังเพิ่มขึ้นเป็น 3,612 ตัน ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบสี่ปีที่ผ่านมา

‘หลุยส์ สตรีท’ (Louise Street) นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของสภาทองคำโลก (World Gold Council) เสริมว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา เราได้เห็นระดับความต้องการทองคำรายปีที่สูงที่สุดในรอบทศวรรษ

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่สูงของธนาคารกลางเพื่อสำรองไว้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย จากที่ตลาดทองคำมีบทบาทในการสร้างความสมดุล

แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เกิดเงินทุนไหลออก ETF ในทางเทคนิค แต่ในขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นก็กระตุ้นให้มีการลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำมากขึ้น โดยความต้องการในการลงทุนเพิ่มขึ้นที่ 10% จากปีที่ผ่านมา

สำหรับปี 2566 ยังเต็มไปด้วยความท้าทาย จากภาวะเศรษฐกิจที่อาจถดถอยลงทั่วโลก ซึ่งอาจทำให้แนวโน้มของการลงทุนทองคำเปลี่ยนไป หากอัตราเงินเฟ้อลดลงในอนาคต การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำอาจมีอุปสรรค

ในทางกลับกันความต้องการกองทุนทอง ETF อาจได้รับอานิสงส์จากกค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง และการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในระดับปานกลาง

ขณะที่ความต้องการบริโภคอัญมณี คาดว่าจะยังฟื้นตัวได้ ด้วยแรงหนุนจากความต้องการที่กลับมาเมื่อประเทศจีนเปิดประเทศอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจร่วงหนักกว่าเดิม ผู้บริโภคจะต้องรัดเข็มขัดในส่วนของรายจ่าย ซึ่งอาจเป็นการทำให้ดีมานด์ในส่วนนี้ลดต่ำลง

‘แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้หลากหลาย แต่ทองคำก็เคยพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นสินทรัพย์ที่น่าลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจนั้นมีความผันผวนและโดดเด่นในด้านของมูลค่าในฐานะสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ระยะยาว’

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า