SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เปิดศูนย์บริการรับตัวอย่างอย่างเป็นทางการที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักภาพผู้ประกอบการและรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเกษตรและประมงในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

วันที่ 10 ก.ค. 62 นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมนายนราวิทย์ เปาอินทร์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เซ็นทรัลแล็บไทย เป็นประธานร่วมเปิดศูนย์บริการรับตัวอย่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างเป็นทางการ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาศักภาพสินค้าในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมการการท่องเที่ยว และการขนส่งโลจิสติกส์ โดยเหตุผลที่เซ็นทรัลแล็บไทย เลือกจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจุดรับตัวอย่าง เนื่องจากเล็งเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สามารถรองรับการให้บริการผู้ประกอบการ และ หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในภาคใต้ตอนบนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังเป็นการรักษามาตรฐานของสินค้าก่อนจะส่งไปตรวจวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนและแม่นยำ การขนส่งสินค้าในระยะทางไกลจำเป็นต้องถูกควบคุมมาตรฐาน ในการขนส่งสินค้าไปตรวจสอบยังสาขาสงขลาและสาขาอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ และขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยตรวจสอบและวิเคราะห์สินค้าในพื้นที่ภาคใต้

นายนราวิทย์ กล่าวว่า ศูนย์บริการแห่งใหม่นี้พร้อมที่จะเปิดให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อให้ตัวอย่างส่งเข้าถึงห้องปฏิบัติการได้รวดเร็ว ด้วยผลการทดสอบมีความถูกต้องแม่นยำเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด ซึ่งจะส่งผลให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าที่ส่งตรวจมีมาตรฐานที่ปลอดภัยในการบริโภค เพิ่มศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน

ด้าน นายสุทธิพงษ์ ระบุว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่สำคัญคือ การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร โดยมีเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ 2 ข้อ คือ 1.มูลค่าทางเศรษฐกิจของยางพาราและปาล์มน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และ 2.สินค้าเกษตรมีคุณภาพปลอดภัยระดับมาตรฐาน ซึ่งจะต้องได้รับการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับของสินค้าในจังหวัด สู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศปัจจุบัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคการเกษตร มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ นอกจากนี้ยังมีการทำปศุสัตว์และประมงในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น อุตสาหกรรมปลาป่น อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง น้ำมันปาล์มดิบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ซึ่งในจังหวัดมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 730 โรงงาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า