Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้บริหารไฟเซอร์ชี้ มีบางประเทศที่ไม่ได้เลือกวัคซีนของบริษัทในตอนแรก กลับมาติดต่อขอซื้อในภายหลัง

วันที่ 8 พ.ค. 2564 อัลเบิร์ต เบอร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ (Pfizer) ออกมาอธิบายถึงความพยายามของบริษัทในการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมตั้งแต่กลางปีที่แล้ว พร้อมทั้งชี้ว่าการยกเว้นสิทธิบัตรของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จะเป็นผลเสียต่อการพัฒนาในอนาคต

นายเบอร์ลาเปิดเผยผ่านบัญชี LinkedIn ของตนว่า ไฟเซอร์ตัดสินใจเสนอขายวัคซีนตั้งแต่มิ.ย. 2563 ผ่านการตั้งราคาที่เป็นธรรมสำหรับแต่ละชาติ โดยกลุ่มประเทศร่ำรวยจะต้องจ่ายในราคาของ 1 มื้ออาหาร และต้องฉีดให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางจะได้สิทธิ์ซื้อในราคาเพียงครึ่งเดียว และกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ จะสามารถซื้อได้ในราคาต้นทุน

แม้ไฟเซอร์ได้ประกาศไปว่าจะส่งมอบวัคซีนให้ทั่วโลกได้ 2,500 ล้านโดสในปี 2564 แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในบริษัทอยู่ที่ 3,000 ล้านโดส วัคซีนเหล่านี้ผลิตขึ้นมาสำหรับทุกคน ไม่ใช่เฉพาะชาติร่ำรวยหรือยากจน ที่ผ่านมาไฟเซอร์ทำข้อตกลงไปแล้วกับ 116 ประเทศ และกำลังต่อรองในขั้นท้ายๆ กับอีกหลายประเทศ โดยมียอดสั่งจองแล้ว 2,700 ล้านโดสในปีนี้ และคาดว่า 40% หรือกว่า 1,000 ล้านโดส จะถูกส่งไปที่ประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ

ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า วัคซีนของไฟเซอร์ที่ส่งมอบไปแล้ว 450 ล้านโดส ส่วนใหญ่ไปอยู่กับประเทศรายได้สูง นายเบอร์ลาชี้แจงว่า ไฟเซอร์ได้ติดต่อไปทุกประเทศให้สั่งจองวัคซีนแล้ว เพื่อที่บริษัทจะได้จัดสรรจำนวนโดสอย่างเหมาะสม แต่ในความเป็นจริง มีเพียงประเทศรายได้สูงที่สั่งจองไว้เป็นส่วนใหญ่ 

เมื่อเป็นเช่นนั้น นายเบอร์ลาจึงรู้สึกกังวล และได้พยายามติดต่อไปยังผู้นำของประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ ทั้งทางจดหมาย โทรศัพท์ และส่งข้อความ เพื่อกระตุ้นให้ประเทศเหล่านี้สั่งจองเอาไว้ เนื่องจากวัคซีนมีจำนวนจำกัด

อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่ตัดสินใจสั่งจองวัคซีนของไฟเซอร์และวัคซีนจากเจ้าอื่นๆ เนื่องจากเทคโนโลยี mRNA ยังไม่ได้รับการพิสูจน์เพียงพอ ณ เวลานั้น บางประเทศไม่แม้กระทั่งอนุมัติวัคซีนด้วยซ้ำ 

แต่เมื่อผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นเกิดปัญหา ไม่สามารถส่งมอบได้ทันตามที่เคยบอกไว้ ทำให้หลายประเทศที่ไม่ได้เลือกวัคซีนของไฟเซอร์ในตอนแรก พยายามติดต่อกลับมาอีกครั้ง โชคดีที่ไฟเซอร์เพิ่มกำลังการผลิตเอาไว้ก่อน จึงสามารถตกลงเซ็นสัญญากับประเทศเหล่านั้นได้  

ในส่วนของรายงานที่เผยว่า สหรัฐฯ อาจยกเว้นสิทธิบัตรของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อความเท่าเทียมทางวัคซีนนั้น นายเบอร์ลาให้ความเห็นว่า อาจส่งผลให้ผู้พัฒนารายอื่นๆ ไม่กล้าที่จะเสี่ยงลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาอีกต่อไป อย่างไฟเซอร์เองมีการลงทุนกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (62,000 ล้านบาท) โดยไม่รู้เลยว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และเขาเองก็ไม่แน่ใจว่า นักลงทุนจะยอมลงทุนกับบริษัทเล็กๆ หรือไม่ หากทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาไม่ได้รับการคุ้มครอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า