SHARE

คัดลอกแล้ว

ชัชชาติ เปิดหนึ่งเหตุผลทราฟฟี่ฟองดูว์ประสบความสำเร็จ เพราะมีทีมงานคนรุ่นใหม่ ไม่มีประสบการณ์การเมือง หรือทำราชการมาก่อน จึงคิดนอกกรอบไม่ได้แก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ 

วันนี้ (22 มิ.ย.2565) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ร่วมวงสนทนาถึงอนาคตของประเทศไทย ร่วมกับ นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ในงานสัมมนา ‘สู่โอกาสใหม่ Stronger Thailand’ ที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ ซอยรางน้ำ ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์มติชน และมีนายสรกล อดุลยานนท์ หรือ ‘หนุ่มเมืองจันท์’ เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ช่วงหนึ่งผู้ดำเนินรายการถามว่า ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีการทำเรื่องบายพาสจากประชาชนมาถึงหน่วยงานเลย เช่นการนำทราฟฟี่ฟองดูว์ มา มีการบายพาสทันที และผู้ว่าฯทำงานง่ายมาก คือให้ชาวบ้านฟ้องและเขตต่างๆ แก้ปัญหา 

นายชัชชาติ กล่าวว่า ทราฟฟี่ฟองดูว์ที่จริงคำนี้คือลึกกว่านั้นคือคำว่าแพลตฟอร์ม ซึ่งที่ผ่านมาภาคธุรกิจทำงานนานแล้ว ถามว่าแพลตฟอร์มคืออะไร เมื่อก่อนระบบธุรกิจเป็นแบบไปป์ไลน์ เช่นถ้ามีเรื่องร้องเรียนส่งมาที่มาที่ผู้ว่าฯ  ผู้ว่าฯ บอกรองผู้ว่าฯ บอกรองปลัด จนไปถึงเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีท่อที่เชื่อมโยงระหว่างปัญหากับผู้แก้ ถ้าใครเส้นใหญ่ก็ท่อใหญ่ แก้ได้เลย ใครไม่มีเส้นก็ติดไม่ได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งระบบไปป์ไลน์ทุกคนก็พยายามหาท่อของตัวเอง หาคอนเนคชัน  ขึ้นอยู่กับว่าใครจะสามารถหาท่อที่จะเชื่อมโยงได้และจะพยายามรักษาท่อนี้ไว้ แต่พอเป็นแพลตฟอร์ม คือไม่มีท่อ เป็นเหมือนกระดานใหญ่ๆ ใครมีเรื่องก็โยนเรื่องเข้ามา เช่น อยากจะสั่งอาหาร คนจะให้บริการเราเห็นก็หยิบเลย ไม่ต้องมีไปป์ไลน์ นี่คือแนวคิดที่เอกชนทำมาเป็นสิบปีแล้ว

พอมาใช้กับระบบราชการ คือเราให้ประชาชนยื่นเรื่องเข้ามา ก็จะรู้ว่าเขตไหน พอเห็นผู้ว่าฯไม่ต้องสั่งการแล้ว  ผอ.เขตมาเห็นก็ดึงเรื่องไปแก้ได้เลย เพราะประชาชนมองเห็นอยู่และก็รู้ว่า เรื่องนี้ค้างอยู่บนแพลตฟอร์มกี่วัน  นี่คือรูปแบบที่ทำให้การแก้ปัญหาเร็วขึ้น สุดท้ายทุกคนก็ตื่นตัว จะสังเกตว่าตนไม่ได้สั่งการเลย

ปัจจุบันมีคนแจ้งเข้ามาเกือบ 4 หมื่นเรื่อง แก้ไขไปมากกว่า 10% กว่า 5 พันเรื่อง โดยที่ผมไม่ต้องออกคำสั่งเลย และข้าราชการทุกคนก็แข่งกันเอาเรื่องไป ผมว่ามันลึกกว่านั้นอีก เราเห็นเลยว่าเขตนี้รับเรื่องไป สั่งไปให้ฝ่ายนี้ ค้างอยู่กี่วัน สั่งคนนี้ คนนี้ค้างกี่วัน  เพราะฉะนั้น

สามารถเป็นเคพีไอที่ลงไปลึกไป ว่าเรื่องติดอยู่ที่ใคร ปัญหาอยู่ที่ใครมันคือสิ่งที่ผมว่ามันเป็นการปฏิวัติระบบราชการ ซึ่งอันนี้ผมว่ามันจะมีพลัง 

“พูดตรงๆ ตอนแรกมีเขตที่ต่อต้าน คือคนที่ไม่คุ้น บอกว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องรับผิดชอบของเรา เขตทำไม่ได้หรอกเรื่องอย่างนี้ พอเอามาปุ๊บกลายเป็นเราเสียเคพีไอ อย่างเรื่องไฟดับ บางทีเขาให้การไฟฟ้านครหลวงมาซ่อม น้ำประปารั่ว ถนนไม่เรียบเป็นคนอื่นไง เขตบอกว่าเอาเรื่องมาให้เรารับผิดชอบ ก็บอกว่าไม่ต้องกังวลเห็นปัญหาดีแล้ว อันไหนที่คุณไม่ได้รับผิดชอบ ก็ชี้แจงประชาชนไปแต่ว่าอย่าตอบว่าผมไม่ต้องรับผิดชอบ แต่บอกว่ากำลังประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ “

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ถามว่าแพลตฟอร์นี้มันดียังไงแพลตฟอร์มนี้ทลายไซโล เหมือนเป็นถัง เขตนี้ก็ถังนึง เขตนี้ก็ถังนึง แพลตฟอร์มนี้มันทะลวง ไซโลและมันจะทะลวงมากกว่านั้น มันจะทะลวงไปนอก กทม. มันจะทะลวงไปที่การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง ตำรวจ สุดท้ายแล้วทุกคนต้องส่งหน่วยงานมาร่วมกับเรา เพื่อให้ไซโลนี้มันถูกทะลวง แล้วก็เอาแพลตฟอร์มดิจิทัลนี่เข้าไปล้วงให้หมด  นี่แค่สองอาทิตย์นะ ถามว่าใช้เงินไหม  ไม่ได้ใช้เงินสักบาทเลย ไม่ได้ใช้งบประมาณเพิ่มเลย แต่ว่าเร็วขึ้น นี่คือรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป ผมว่าในอนาคตมันคือแพลตฟอร์ม มันทลายระบบราชการ  หรืออย่างนโยบาย สองร้อยกว่านโยบาย ยังไม่ต้องรับการรับรองจาก กกต. แต่บางเขตเขานำนโยบายไปทำแล้ว ตนคิดว่านี่มีพลังในการเปลี่ยมายเซตของข้าราชการได้ 

นอกจากนี้นายชัชชาติ ยังกล่าวถึงความสำเร็จของการนำแพลตฟอร์มนี้มาใช้ด้วยว่า 

“ผมว่าอันนึงที่ให้ทำเราสำเร็จได้คือทีมงาน ทีมงานเราไม่มีประสบการณ์ ไม่เคยทำการเมือง ถ้าทำการเมืองหรือทำราชการมาก่อน มันมีต้นทุนที่มีกรอบความคิด ถ้าเราเคยเป็นราชการมาก่อน มาแก้ปัญหาเดิมๆ มันก็คือคิดแบบกรอบเดิม ทีนี้กลุ่มเราเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่รู้เลยชอบเสี่ยง ไม่กลัวเลยคิดนอกกรอบได้เยอะ” 

ส่วนเรื่องการไลฟ์ ของนายชัชชาติเมื่อถามถึงวิธีการสื่อสารของนายชัชชาติ ซึ่งไลฟ์มีคนดูสด 10,000-50,000 คน ส่วนคลิปดูตั้งแต่ 4,000,000 – 5,000,000 วิว  ซึ่งในไลฟ์มีการเล่าถึงปัญหาให้ประชาชนฟัง และวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งตรงนี้มีวิธีการอย่างไรบ้าง

นายชัชชาติ กล่าวว่า “ขั้นนึงนะ เราคงต้องมีกึ๋นหรือมีความรู้ระดับนึง เหมือนว่าต้องสะสมความรู้ไประดับนึงเรื่องที่เราจะไปดู สมมติจะไปดูเรื่องน้ำท่วมก็ต้องรู้ละเอียดว่าน้ำมีวิธีอะไร คือถ้าเกิดเราเข้าใจเรื่องนี้ไม่ดี เราจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ไม่ได้ นี่คือหลักการเลย อธิบายแล้วเหมือนวัวพันหลัก คือขั้นแรกคุณต้องเข้าใจในเรื่องที่คุณจะลงไปดูก่อน ถ้าไม่รู้ก็หาอ่านก่อน แล้วก็ค่อยๆอธิบายง่ายๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ผมว่าต้องเป็นตัวของตัวเอง แล้วถ้าไม่รู้ก็บอกไม่รู้  แล้วไปหาข้อมูลมาเพิ่ม”

และบางช่วงยังเล่าอีกว่า บางเรื่องก็เป็นเรื่องไร้สาระ วันนั้นผมไปกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อ คนดู 4 ล้านกว่าวิว คิดว่าคนคงเครียดจากชีวิตประจำวัน ซึ่งก็ไม่ได้บังคับ แต่ตนชอบตรงที่มีฟีดแบค เช่นน้ำท่วมทีมงานเก็บฟีดแบคไป  หรืออย่างไปออกกำลังกายมีคนตื่นตี 5 มาวิ่งตาม มันคือพลังบวก อีกเรื่องวันอาทิตย์ ไปเดินในสวน มีผู้เด็กหญิงวัยรุ่น มาบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า เดินมาบอกว่าหนูดูไลฟ์อาจารย์แล้วมีพลังใช้ชีวิต แค่คนนี้คนเดียวตนก็ยอมไลฟ์ถวายหัวแล้ว แล้ว  ทำให้คนมีพลังในชีวิตเพิ่มขึ้น ตนจะไลฟ์ใครจะด่าผมไม่ว่า แต่มีน้องคนหนึ่งที่ได้ประโยชน์ตนว่าโอเคแล้ว นี่คือสิ่งที่ให้กำลังใจเรา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า