SHARE

คัดลอกแล้ว

ชัชชาตินำร่องเร่งฟื้นฟูคลองหัวลำโพง พัฒนาให้สะอาด ชี้เป็นเรื่องท้าทาย ถ้าทำได้ขยายผลไปทั่ว กทม.

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดกิจกรรมฟื้นฟูคลองหัวลำโพง ตามโครงการนำร่อง (Pilot Project) เนื่องในวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ 20 กันยายน 2565 ณ บริเวณหน่วยเก็บขยะทางน้ำคลองหัวลำโพง เขตคลองเตย พร้อมทั้งร่วมปลูกต้นอโศกอินเดีย จำนวน 70 ต้น 

นายชัชชาติ กล่าวว่า วันนี้ 20 กันยายน เป็นวันอนุรักษ์และพัฒนาคูคลอง ซึ่งหลายเดือนที่ผ่านมาเราได้ไปพูดคุยกับสภาอุตสาหกรรม จึงคิดว่าเรื่องคูคลองเป็นเรื่องสำคัญของกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นเราจะลองเลือกคูคลองที่มันโหดๆ เพื่อเป็นต้นแบบในการทำให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง แล้วลองทำเป็นต้นแบบเพื่อเอาผลที่ได้ไปขยายต่อได้ 

อย่างไรก็ตามเลยลองนึกถึงคลองหัวลำโพงที่วิ่งไปถึงหัวลำโพง ตอนหลังโดนถมที่ทำถนน สุดท้ายก็จะเห็นเป็นคลองเล็กๆ มาจากตลาดคลองเตย แล้วก็วิ่งออกที่คลองพระโขนง และไปเชื่อมต่อกับคลองไผ่สิงโตด้วย ก็เป็นจุดที่เราถือว่าท้าทาย จากจุดที่เราอยู่ตรงนี้จะได้กลิ่นน้ำเน่าเหม็นเลย เพราะว่ามีบ้านเรือนที่อยู่ริมคลองแล้วก็ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงเลย ทั้งห้องส้วมทั้งการซักล้างทิ้งลงมาเลย  อีกทั้งต้นทางมีตลาดคลองเตยที่เป็นตลาดใหญ่ มีการเชือดไก่ มีน้ำล้างเขียงหมูแล้วก็ลงคลองหมด ไม่แน่ใจว่ามีบ่อบำบัดหรือเปล่า ก็เป็นต้นเหตุหนึ่ง ซึ่งอยู่ในนโยบายของเราด้วย นโยบายข้อที่ 171 เรื่องการดูแลตลาดให้ถูกหลักสุขอนามัย ซึ่งก็มีความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้ว ที่ผ่านมาได้มีการลงมาดูพื้นที่มานานแล้วเป็นเดือน โดยจะเอาพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่นำร่องในการพัฒนาให้สะอาด ถ้าทำได้จะขยายผลไปทั่วพื้นที่กทม. อีกทั้งตรงนี้เป็นคลองที่ระยะทางมันสั้นแค่ 3 กิโลเมตร เป็นจุดที่เราดูแลได้เต็มที่ ไม่มีการสัญจรทางน้ำ ทำให้การควบคุมดูแลทำได้ง่ายขึ้น 

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า คลองหัวลำโพงตั้งอยู่กลางใจเมือง ห่างจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่จะจัดประชุมเอเปคนิดเดียวเอง ห่างกันไม่กี่กิโล ถนนพระราม 4 ต่อไปก็เป็นแนวถนนที่จะมีการพัฒนาเป็น Smart City ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่ท้าทาย เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการที่เราเริ่มตั้งแต่เข้ามา ตอนนี้เราก็เริ่มลุยเรื่องน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย ต่อไปก็จะทำขนานกันไปคือ เรื่องอากาศพิษ เรื่อง PM2.5 ซึ่งได้มีคณะทำงานเริ่มทำงานเป็นหลายเดือนแล้ว ก็จะเริ่มดำเนินการต่างๆ เดี๋ยวจะมีการเข้าไปคุยกับทางวช.เรื่องการติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย ทำพวกเครื่องฟอกอากาศให้กับชุมชน ก็ดำเนินคู่ขนานกันไป เพราะว่าเรื่องมลพิษเรามีหลายมิติ ขยะเราทำแล้วเรื่องแยกขยะ เรื่องน้ำเสีย ต่อไปเรื่องอากาศพิษ เพราะว่าทุกอย่างก็ต้องลุยในแต่ละงานต่อไป 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า