SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขึ้นเวทีเล่าถึงแนวคิดการนำหลัก ESG (Environment สิ่งแวดล้อม , Social สังคม , และ Governance ธรรมาภิบาล) มาพลิกโฉมกรุงเทพมหานคร ในงาน Redefining the Future of ESG in Thailand

TODAY Bizview สรุปสาระที่ผู้ว่าฯชัชชาติกล่าวในงานสัมมนานี้มาให้อ่านกัน

1. ผู้ว่าฯชัชชาติ นำหนังสือของ ศาสตราจารย์ Alain Bertaud (อเลน เบอร์โทด์) ปรมาจารย์ด้านการบริหารจัดการผังเมือง เรื่อง Order without Design : How Markets Shape Cities มาเล่าถึง โดยได้ อธิบายแนวคิดการพัฒนาที่ตกผลึกจากหนังสือเล่มนี้ว่า เวลาเราพูดเรื่องพัฒนาเมือง เรามักพูดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แต่แก่นสำคัญคือ เราต้อง ใส่ใจ “คน” ที่อยู่ในเมือง ด้วยแนวคิดจากหนังสือเล่มนี้ “เมืองคือตลาดแรงงาน” ถ้าเราไม่มีงาน ก็จะไม่มีแรงงาน ก็คงไม่มีคนอยู่ในเมือง ดังนั้นเราจึงต้องโฟกัสบทบาทของเมืองที่มีหน้าที่ในการให้บริการด้านแรงงานและงานกับทุกคน โดยต้องใส่ใจกับทุกคน

2. แนวคิดการพัฒนาคนที่อยู่ในเมืองต้องชื่อมโยงกับ ESG เพราะในอนาคตเราไม่สามารถเลี่ยงเทรนด์ Urbarnization ได้ ดังนั้นแนวทางรับมือที่สำคัญ ก็คือการเข้าสู่ความเป็นเมือง และตอบสนองต่อผู้คนที่หลากหลายในเมืองแห่งนี้ให้ได้

3. การสร้างเมืองที่มีคุณภาพได้จะต้องดึงผู้คนที่มีความสามารถ เป็นคนเก่งเข้ามาที่เมืองให้ได้ จะต้องทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองแม่เหล็กขนาดใหญ่ที่ดึงดูดคนเก่งๆให้เข้ามา พร้อมกับสร้างสรรค์เมืองให้ยั่งยืนไปพร้อมกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ทว่าการจะไปสู่จุดนั้นได้ ผู้ว่าฯชัชชาติ บอกถึงความท้าทายของกรุงเทพฯขณะนี้ว่ามีอะไรบ้าง

การคมนาคม กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูง ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญและจุดเด่นของกทม.เพราะเมืองที่มีประชากรหนาแน่น มีระบบขนส่งมวลชน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจัดเป็นเมืองเศรษฐกิจที่เติบโต เมืองลักษณะนี้จึงมีการเดินทาง การทำงาน การพักผ่อน ทั้งหมดถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ดังนั้นความท้าทายคือ การที่เมืองขยายตัว มีพื้นที่ธุรกิจการค้า ที่พักอาศัย โซนสีต่างๆ รวมทั้งพื้นที่อาศัยที่ขยายตัวออกนอกเมือง สิ่งสำคัญและความท้าทายคือการพัฒนาขนส่งมวลชนที่เชื่อมโยงทั้งระบบ

ความเท่าเทียม ด้วยลักษณะความเป็นเมืองของกรุงเทพฯแม้จะอยู่กันตามที่อยู่อาศัยบ้านเรือนที่ใกล้ชิดกัน แต่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯก็เหมือนแยกกันอยู่ เป็นการอยู่อาศัยในรูปแบบที่ไม่ได้พึ่งพากันและกัน ต่างคนต่างอยู่ จึงเป็นความท้าทายของการพัฒนาชีวิตในรูปแบบนี้ เพราะความเป็นเมือง เราอาจไม่ได้รู้จักเพื่อนบ้านเรา และไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่ได้ใกล้ชิดกันเลย

กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงวัย คนยากจน ผู้พิการ เป็นความท้าทายที่คนกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครที่จะต้องดูแลพวกเขา

“การสร้างกรุงเทพฯที่เป็นสังคมสำหรับทุกคน มีความยุติธรรม เป็นสังคมที่เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นเราจะไม่ยอมประนีประนอมต่อปัญหาต่างๆ เพราะอนาคตเป็นของคนรุ่นใหม่ เราต้องทำทุกอย่างให้อนาคตคนรุ่นใหม่สดใส สร้างเมืองที่เป็นทรัพยากรสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต”

หลังจากนำเสนอความท้าทาย ผู้ว่าฯชัชชาติ ได้หยิบยกแนวทางที่จะมาช่วยรับมือความท้าทาย โดยยกตัวอย่างกรณีการลงมือทำ ตามแนวทาง ESG ของกรุงเทพฯ อาทิ

[ นโยบายสีเขียวผู้ว่าฯชัชชาติ เกือบ 1 เดือน ปลูกต้นไม้ไปแล้ว 4 หมื่นต้น ]

[ รับแจ้งปัญหาร้องเรียน 7 หมื่นเรื่อง แก้ไขแล้ว 2 หมื่นเรื่อง ]

ผู้ว่าฯชัชชาติ เล่าถึงแนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ และฝุ่น PM 2.5 ที่กรุงเทพฯมีแผนปลูกต้นไม้นับล้านต้น โดยประกาศโครงการมากว่า 3 สัปดาห์แล้ว ได้รับความร่วมมือทั้งจากบุคคลทั่วไป บริษัทเอกชน องค์กรต่างๆ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา สามารถปลูกต้นไม่ได้กว่า 4 หมื่นต้นแล้ว

นอกจากนี้ กรุงเทพฯให้ความสำคัญกับเรื่อง Net Zero เรามีเป้าหมายท้าทายที่เรียกว่า BMA NETZERO ที่มีการวางแผนการบริหารจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนการใช้รถพลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้น

ส่วนด้านสังคม ผู้ว่าฯชัชชาติ เล่าว่า จุดที่จะสร้างให้มีความเท่าเทียมมากขึ้นอย่างแรกเลยคือ การศึกษา เด็กๆจะต้องมีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเองและจะช่วยเรื่องความเท่าเทียมมากขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ต่างๆเพื่อให้พวกเขารู้จักการดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะที่ดี สามารถเติบโต ทำงานใช้ชีวิตในเมืองได้มีประสิทธิภาพ และสุดท้ายเรื่อง ธรรมมาภิบาล ผู้ว่าฯชัชชาติ อธิบายถึงการใช้แพลทฟอร์มเพื่อให้ประชาชนทั้งหมดเข้ามาสื่อสารและตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพฯได้ รวมทั้งได้รับรู้ปัญหาจากในพื้นที่จริง เช่น แอปพลิเคชั่น ทราฟฟี่ ฟองดูว์ ที่คนกทม.สามารถส่งปัญหา ใส่รูป แจ้งพิกัดผ่านแพลทฟอร์มได้ หลังจากเปิดให้บริการมีผู้ส่งเรื่องร้องเรียนผ่านแพลทฟอร์มมากกว่า 7 หมื่นเรื่อง และขณะนี้สามารถแก้ไขไปได้แล้วกว่า 2 หมื่นเรื่อง นอกจากนี้ยังมีแพลทฟอร์ม Open Data ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นระหว่างผู้บริหารกรุงเทพฯกับประชาชนผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯมากขึ้น ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานการเอาประชาชนมาเป็นศูนย์กลาง

ผู้ว่าฯชัชชาติ กล่าวปิดท้ายว่า ESG เป็นสิ่งสำคัญและแนวทางที่จะเป็นโซลูชั่นให้กับเมือง ดังนั้น กรุงเทพฯต้องแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่จะพัฒนาเมืองใน “รูปแบบเครือข่ายนวัตกรรม” ที่ถือเป็นโมเดลที่เรานำมาใช้ในการพัฒนากรุงเทพฯขณะนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า