SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการรัฐศาสตร์คนหนึ่งที่ติดตามการเมืองไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังปี 2549 ที่เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของ “อารยะขัดขืน” ในการเลือกตั้ง หลังทักษิณ ชินวัตร ประกาศยุบสภา

ก่อนปี 2549 ปกติผมจะสอนวิชาทางด้านปรัชญาการเมืองตะวันตก ไม่ได้สนใจทำงานวิชาการทางด้านการเมืองไทยเลย พอหลังปี 2549 มีโจทย์เกี่ยวกับบ้านเมืองเราเยอะมาก…

ศาสตราจารย์ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงความสนใจในการการเมืองไทยหลังเหตุการณ์ความวุ่นวายของการเมืองไทยค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่องว่า ได้เริ่มศึกษานักคิดผู้ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มฝั่งสีแดง คือ ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย ซึ่งช่วงประท้วง นายกฯ ทักษิณ ในช่วงแรก ศาสตราจารย์นิธิ ยังให้การสนับสนุน กลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ แต่พอมีการขอใช้มาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ 2540  หรือ ขอนายกฯ พระราชทาน ก็ไม่เห็นด้วยและขอถอนตัวออกมา ผมศึกษาจนได้หนังสือที่ตีพิมพ์ออกมา ชื่อว่า “นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในหรือกับวิกฤติการเมืองไทย” ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติด้วย

นอกจากนี้ ได้ศึกษาประเพณีการปกครองของไทย การยุบสภาที่แตกต่างจากการยุบสภาของอังกฤษจะมีเงื่อนไขได้งานวิจัยชื่อ “ประเพณีการปกครองของไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ทำให้สถาบันพระปกเกล้า

และยังมีงานที่เขียนเล่นๆ แล้วทางมติชนรวบรวมเป็นเล่มชื่อว่า “ตาสว่างกับรัชกาลที่ 4” ซึ่งได้เขียนจากการได้เห็นความคิดของพระองค์ท่านต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งพบว่า พระองค์ท่านน่าจะเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกๆ ที่รับรู้ว่ามีรูปแบบการปกครองในโลกนี้ที่ไม่มีกษัตริย์ด้วย เพราะพระองค์ท่านได้ติดต่อกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และพระองค์ท่านได้พูดถึงเงื่อนไขการจะปกครองในแบบให้ประชาชนเคารพกฎหมาย มีส่วนร่วมทางการเมืองต้องอยู่ที่ประชาชนมีความพร้อมหรือไม่พร้อม

หรือแบ่งเป็นสองพวก คือ เชื่องและไม่เชื่อง เชื่องไม่ใช่สยบยอม เชื่องคือเข้าใจว่ามีกติกา มาช่วยกันออกกติกา และยอมรับกฎหมาย ส่วนอีกพวกคงจะต้องใช้กำลังเพื่อให้เขาอยู่ในระเบียบ ท่านเรียกว่า คนเถื่อน กับ เชื่องราบ นี่คือ 3 เล่มหลักๆ ที่ทำหลังจากปี 2549

ทฤษฎีใช้เหตุผล

อาจารย์ไชยันต์: ผมรู้สึกว่าคนไทยไม่ค่อยใช้เหตุผล ใช้แต่อารมณ์ ไม่ต้องการเมืองหรอก เอาแค่ขับรถบนท้องถนน บางครั้งเราจะเห็นว่าบางสี่แยก แม้ไฟเราเขียวแต่เราเห็นอยู่แล้วข้างหน้าว่ามันติด ถ้าเราออกไปก็ต้องไปอยู่ตรงกลาง สุดท้ายรถทุกคันไปไม่ได้ แต่ทุกคันก็ทำแบบนี้

เหตุผลคืออะไร คือการคิดอะไรต่างๆ เข้าข้างตัวเอง? นิยามของเหตุผลในทฤษฎีตะวันตกยุคใหม่ที่ศึกษาของจอน เอลสเตอร์ (JON ELSTER) คือว่าเราใช้เหตุผลเพื่อจะหาวิธีการที่จะบรรลุสิ่งที่เราปรารถนาอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และประสิทธิภาพ ลงทุนด้านเวลาและเงินทุนน้อยที่สุด

ทฤษฎีการใช้เหตุผลยุคใหม่จะไม่แตะเป้าหมาย เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของเสรีภาพที่เราอยากได้อะไร แต่เขาจะมาชวนเราคิดว่า วิธีการที่จะได้ตามจุดมุ่งหมายอะไรคือวิธีการที่เป็นเหตุเป็นผลที่สุด

เช่น ถามว่าทุกคนอยากรวยไหม แล้วอะไรล่ะที่จะทำให้เราได้การรวยที่สุด คิดอย่างเผินๆ คือการโกง หรือการปล้น แต่มันไม่ปลอดภัยเลย แต่ทฤษฎีนี้จะบอกว่า ในที่สุดแล้วถ้าคิดคำนวณแล้วว่า วิธีการไรที่จะไม่ถูกจับ ใช้เงินได้ ใช้ชีวิตปกติ ทุกคนจะโกงจะปล้น แต่ทฤษฎีนี้จะบอกต่อไปว่า ถ้าทุกคนปล้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ที่เราคิดว่า เป็นเหตุผลเล็กๆ ของเรา แต่พอเป็นภาพรวมจะกลายเป็นสภาพที่เราก็อยู่กันไม่ได้ ดังนั้นเราจะใช้วิธีการใดที่จะทำให้เรารวยที่สุด ซึ่งคงไม่ใช่การปล้น เพราะถ้าเราปล้นเขา เขาก็ปล้นเรา ถ้าเราปล้นแบงก์ได้ในที่สุดก็จะกลายเป็นปล้นกันไปปล้นกันมา

อยากให้คนไทยเหตุผลกันมากขึ้น

อาจารย์ไชยันต์: เขียนหนังสือชื่อ จอน เอลสเตอร์ กับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (JON ELSTER AND RATIONAL CHOICE THEORY) เพราะอยากให้อ่านกัน อยากให้มีเหตุผลกันมากขึ้น ในที่สุดน่าจะส่งผลว่าการเมืองที่ผ่านมาอันตรายมาก เพราะคิดแต่เอาชนะกัน ที่สุดพังทั้งคู่ ตอนแรกๆ รัฐประหารมาทั้งสองฝั่งก็แย่หมด แต่ตอนนี้การที่คสช. มาเป็นรัฐบาลเอง แล้วมีพันธมิตร ที่เป็นคู่ตรงข้ามกับฝ่ายข้าม อันนี้ผมว่ามันไม่ national สู่เป็นกลาง แล้วก็ปล่อยให้นักการเมืองแข่งขันกัน

ผมเริ่มเห็นความไม่เป็นเหตุเป็นผลของคณะรัฐประหาร คสช. ที่พยายามมาเป็นรัฐบาลต่อ ผมไม่เข้าใจว่าเหตุผลของเขาคืออะไร

คนรุ่นใหม่ควรเข้าใจคำว่า อารยะขัดขืน

ก่อนอื่นการกระทำของผม ผมไม่ได้คิดเรื่องอารยะขัดขืน ทำโดยคิดเรื่องเหตุเรื่องผล เรื่องการปกป้องสิ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญ เพราะผมคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนั้นไม่ถูกต้อง แล้วการเลือกตั้งมันเกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่ ที่ผมไปหย่อนบัตร ผมไม่เห็นด้วยการเลือกตั้งครั้งนั้น เพราะการยุบสภาไม่ถูกต้อง ตอนที่ผมทำมันเป็นธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความเชื่อ สิ่งที่ร่ำเรียนและสอนหนังสืออยู่ ถ้าผมปล่อย แล้วบอกว่าการเลือกตั้งนี้ไม่ถูกต้อง ผมจะเอาหน้าไหนไปสอนลูกศิษย์

โดยคนที่ขนานนามว่า อารยะขัดขืน คือ ศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (ศาสตราจารย์ประจำและหัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) จากการที่ท่านศึกษาเรื่องราวมหาตมา คานธี ตัวพ่อของอารยะขัดขืน ที่จำเป็นต้องขัดขืนกฎหมายของอังกฤษเพื่อความเชื่อเกี่ยวกับกฎของพระเจ้าซึ่งสูงกว่ากฎหมายที่มนุษย์ และท่านก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

อารยะขัดขืนไม่ใช่ทำผิดแล้ว ไม่มอบตัว ลอยนวล ส่วนคนรุ่นใหม่ควรเข้าใจอย่างไรนั้น ผมเห็นว่าถ้าคุณทำผิดควรจะมอบตัวทันที ถ้าทำผิดแล้วไม่มอบตัวแล้วรอเวลาที่ฝ่ายฉันชนะ แล้วค่อยมอบตัว เพื่อรู้ว่ารัฐบาลเป็นของฉันอันนี้ไม่ถูก

ผมจำได้ว่าในช่วง กปปส. ตั้งแต่มีปัญหาต่อต้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ผมไม่ได้ไปร่วมอะไรเลย กระทั่งมีเวทีโทรตาม เขาอ้างว่าจะให้ผมไปพูดให้ความรู้เรื่องวิชาการ แต่ไม่ใช่หรอก จริงๆ เขาจะเอาผมเป็นสัญลักษณ์เรื่องอารยะขัดขืน เพราะเขาคิดยาวไปแล้วว่า ยังไงก็ต้องมีการฝ่าฝืนกฎหมาย จำได้ว่าให้สัมภาษณ์ช่วงนั้น จะใกล้เลือกตั้งแล้ว ได้แนะนำให้คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ และผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาให้ไปมอบตัว ก็จะเปลี่ยนโฉมหน้าว่าถึงเวลายุติได้

อารยะขัดขืน เมื่อทำผิดต้องยอมรับ

หลังพรรคอนาคตใหม่ชุมนุมที่สกายวอล์ก ย่านปทุมวัน เมื่อ 14 ธันวาคม 2562  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ให้ความเห็นว่า ก็ต้องอารยะขัดขืน ผมก็บอกว่า เมื่อทำผิด ก็ต้องยอมรับ ต่อสู้คดีความ แต่ไม่ใช่อารยะขัดขืนแล้วหมายความว่า ฉันทำได้ ก็ไม่ยอมให้จับ ไม่ใช่ ถ้าคิดในแง่เป็นเหตุผล ถ้าไม่ยอมให้จับ และเขาจับคุณไม่ได้ คนอื่นๆ ก็จะทำบ้าง แล้วถ้าทำบ้าง

ถ้าทำตามอำเภอใจ แล้วอ้างอารยะขัดขืน ไม่สนใจจะไปอธิบายให้ศาลฟังว่า การชุมนุมไม่ได้ขัด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 อย่างไร ในที่สุดแนวโน้มที่จะไปสู่วิกฤติการเมืองแบบเดิมๆ จะเกิดขึ้น อาจจะไม่ใช่เหลืองแดง อาจเป็นขั้วแบบอนาคตใหม่ หรือไม่เห็นด้วยกับอนาคตใหม่ แต่ยังดีขั้วที่ปฏิเสธอนาคตใหม่ บางทีขั้วนั้นก็ไม่แฮปปี้กับลุงตู่อยู่บ้าง แต่ถ้ามีประเด็นอ่อนไหวซึ่งไม่เกี่ยวกับลุงตู่ แต่ละฝ่ายควรเคารพกฎหมาย ทำอะไรก็แจ้งเจ้าหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ.ฯ กำหนดไว้ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้จัดการไม่ให้เกิดการเผชิญหน้า หรือปะทะกัน

ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร ได้มอบตัวกับตำรวจที่หน่วยเลือกตั้ง 62 แขวงสวนหลวง เขตหลวง หลังฉีกบัตรเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน 2562 การต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรม 3 ศาล ดังนี้

29 ต.ค.2553 ศาลจังหวัดพระโขนง (ศาลชั้นต้น) พิพากษายกฟ้อง

ด้วยเหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งปี 2549 ไม่เที่ยงธรรม

บัตรที่ฉีกไม่ใช่บัตรเลือกตั้ง

4 ธ.ค. 2555 ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ

สั่งจำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท

โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

ใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ฟังไม่ขึ้น

4 ธ.ค. 2557 ศาลฎีกา พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ธรรม

ศาสตราจารย์ไชยันต์ ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งนับจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาดังนั้นจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิในการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2560  และเพิ่งได้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้งทั่วไป 24 มีนาคม 2562

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า