SHARE

คัดลอกแล้ว

ศักราชใหม่ ปี 2563 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินพ้นช่วงอุ่นเครื่องสู่ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ในทัศนะของผู้ที่มองการเมืองไทยอย่างจริงจังมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มองครึ่งปีแรก รัฐบาลยังฉลุย เดินหน้าแก้ไขกติกา รัฐธรรมนูญปี 2560 โดยเฉพาะเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว. ขณะที่ “ม็อบ” มีเลี้ยงกระแสต่อเนื่อง และต้องจับตาเป็นปีครบรอบ 10 ปีเหตุการณ์ “กระชับพื้นที่” สลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อปี 2553 (คลิปสัมภาษณ์ฉบับเต็ม)

ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านให้โอกาส Workpoint News ได้พูดคุยถึงสถานการณ์การเมืองไทยในปีใหม่ จะทิศทางไปทางไหน อย่างไร…

แก้รัฐธรรมนูญ

4 เดือน ผลจากการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 จะออกมาว่าข้อสรุปคืออะไร แต่ต้องยอมรับว่า ช่วงร่างรัฐธรรมนูญ 60 บรรยากาศไม่ค่อยเปิดกว้าง แม้จะมีการรับฟังจากประชาพิจารณ์จากผู้ร่างในขณะนั้น ภายใต้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยคงมีเหตุผลว่าอยากให้แก้รัฐธรรมนูญ และมีการรับฟังความเห็นใหม่

ในทางรัฐศาสตร์ สิ่งที่สำคัญจะเห็นต่าง แตกแยกไม่ว่าอะไร แต่ต้องเห็นพ้องต้องกันในรูปแบบการปกครอง ถ้าไม่ยอมรับเรื่องรัฐธรรมนูญมันยุ่ง ตอนนี้เมื่อมีการมาคุยกันใหม่ ภายใต้คณะกรรมาธิการฯ ต่อไปจะอาจจะมีการตั้งสภาร่าง ทำประชามติอีก ต่อไปก็จะเลิกพูดกันได้แล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าสำคัญ กติการ่วมกันต้องเป็นที่ยอมรับ พอมีปัญหาเมื่อใช้กติกาลงโทษก็จะเกิดการยอมรับ ในคณะกรรมาธิการฯ มีตัวแทนหลายฝ่าย ฝ่ายรัฐบาลมีเฉดพลังประชารัฐ ที่อาจไม่อยากแก้ แต่ก็มีประชาธิปัตย์ที่หาเสียงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

แต่อย่างไรมีบางประเด็นที่ทุกฝ่าย เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ ที่กำหนดให้มีการทำไพรมารีโหวต ที่การส่งผู้สมัครจะตัดสินใจโดยคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในพรรคไม่ได้ ถ้ามีการยุบสภาเร็วๆ นี้แม้แต่พรรคพลังประชารัฐก็คงอยากแก้ตรงนี้ แต่ถ้าคิดว่ายังไม่ยุบสภาคงไม่แก้

ส่วนเรื่องที่มาและอำนาจของ ส.ว. ทางพรรคพลังประชารัฐ คงไม่อยากแตะตรงนี้ แต่พรรคการเมืองอื่นๆ คิดว่าตราบใดที่มี ส.ว. 250 คน คงไม่มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี มองด้วยทฤษฎีการใช้เหตุผล การแก้ตรงนี้คือการปลดล็อกทำให้พรรคการเมืองอื่นๆ ถ้ารวบรวมเสียงได้เกิน 250 เสียง ก็จะเป็นนายกฯได้ ดังนั้นฝั่งที่ ส.ว.เป็นมิตรด้วยก็ไม่อยากแก้ตรงนี้

ผมคิดว่าลึกๆ วาระของทุกพรรคที่ไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐ พุ่งเป้าไปที่เรื่อง ส.ว. คือไม่ให้มีอำนาจเลือกนายกฯ อยากให้ยึดโยงกับประชาชน มีการเลือกตั้ง ส.ว. และจะสะท้อนตัวเลขในรัฐสภา เพราะส่วนใหญ่ก็จะใช้ฐานเสียงเดียวกัน แต่ก็ไม่มีประโยชน์

ปี 2563 จะมีเลือกตั้งใหม่?

ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ เพราะถ้างบประมาณ 2563 ไม่ผ่าน แต่ผมคิดว่าผ่าน ฝ่ายค้านคงสู้เป็นพิธี เพราะงบก็จะลงไปที่แต่ละจังหวัดของส.ส.ฝ่ายค้านด้วย ส่วนอภิปรายไม่ไว้ว่างใจเกิดขึ้นแน่นอน แต่คงพุ่งเป้าไปที่รัฐมนตรีบางคน แต่ตัวพลเอกประยุทธ์ คงไม่สามารถถูกไม่ไว้วางใจได้ขนาดนั้น ถึงแม้จะมีเรื่องถวายสัตย์ฯ แต่เรื่องการทำงานก็พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ทำอะไร ได้แต่กำกับไปเรื่อยไง ยังไม่มีอะชัดเจนในเรื่อผลเสีย

ถ้าความเสียหายของพลเอกประยุทธ์ คือมีรัฐมนตรีต้องคดี ก็ปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วถ้าจะหาว่าสืบทอดอำนาจ เขาก็จะบอกว่าตั้งคณะกรรมาธิการฯ มาศึกษาเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ

ดังนั้นการจะยุบสภาเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ จะเกิดขึ้นได้จาก “สนิมเนื้อใน” คือไปไม่ไหวจริงๆ คือการแก่งแย่งตำแหน่ง ถ้าปรับครม.บ่อยๆ หมุนเวียนได้ประโยชน์ไม่ใช่ทุจริตนะ เพราะถ้าคนของพรรคการเมืองได้ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีก็จะสามารถตอบสนอง หรือทำงานให้กับฐานเสียงเขาได้มากขึ้น หรือมีบทบาท มีผลงาน ถ้าการมีการปรับครม. เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ เคลียร์ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาล ยุบสภาก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าไปไม่ไหวจริงๆ ก็มีสองทางคือ ยุบสภา หรือนายกฯลาออก

แต่ถ้าถามว่าอยากยุบไหม ผมว่าครึ่งปีแรกไม่มีใครอยากยุบ ถ้ามีก็น้อย อาจจะมี ผู้สมัครบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย หรือ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่ไม่ได้เป็น ส.ส. นอกจากนี้ยังไม่เชื่อว่า จะมีการยุบพรรคอนาคตใหม่จากการกู้เงินจาก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

ม็อบลงถนนในยุคโซเชียลเบิกบาน

การชุมนุมที่สกายวอล์กเป็นจุดเริ่มต้น เหมือนภาพยนตร์ สตาร์วอร์ส : เดอะ ไรส์ ออฟ สกายวอล์กเกอร์ แล้วแน่นอนถ้ารัฐบาลปล่อยให้การแสดงออกทางการเมืองทำได้โดยไม่ถือเป็นการชุมนุม ฝ่ายอื่นๆ ก็จะทำอีก ในที่สุดก็จะลงถนน ยิ่งมีโซเชียลมีเดีย การระดมคนจะง่ายมาก แต่จะไม่ค่อยยาว มาเร็วไปเร็ว มาเร็วไปเร็วอาจแรงได้ ยิ่งถ้าไม่เคารพกฎหมายก็จะเกิดการปะทะกัน

ฝากถึงนักการเมืองและคนรุ่นใหม่

ฝากบอกรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ใช้คำว่า เราเตือนท่านแล้ว ตั้งแต่ก่อนท่านเป็นแคนดิเดตด้วย ว่า ฟังเสียงประชาชนหน่อย ส่วนฝั่งฝ่ายค้านคงไม่เจาะตรงไหนเท่าพรรคอนาคตใหม่ คือผมคิดว่าเขากำลังมองว่า ถ้ามีการเลือกตั้งจะได้คนอายุ 18 ปีเสมอ เพราะสิ่งที่หล่อเลี้ยงอยู่ตอนนี้คือโดนใจ เช่น การพูดนโยบายยกเลิกเกณฑ์ทหารแต่ไม่ได้ลงรายละเอียด ซึ่งจริงๆ ต้องมีแรงจูงใจมากเลยถ้าจะยกเลิกเกณฑ์ทหาร บางประเทศที่เขาทำต้องใช้งบประมาณเยอะ หรือการชูประเด็นกฎหมายความหลากหลายทางเพศ คุณก็จะได้เจ็ดถึงแปดเสียงตีกินอย่างนี้

สำหรับคนรุ่นใหม่ การเสมอภาคที่ไม่มีขอบเขตคือการละเมิดซึ่งกันและกัน ต้องมีลิมิต ซึ่งตรงนี้ต้องถามว่า เขาเสนอมาหรือไม่อย่างไร อย่าให้เขาใช้ประเด็นนี้คิดให้ดีๆ ระวังว่า จะเจอเขาใช้นโยบายขายขนมหวาน แต่จะมีผลในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า