Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดตัวระบบ #เช็กให้รู้ ตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยี Deep Learning โดยภาคีจากภาครัฐและเอกชนรวม 5 แห่ง ร่วมพัฒนาระบบต้นแบบศูนย์ตรวจสอบและสร้างเครือข่ายฯ รับมือข่าวปลอม

ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล ภาคีเครือข่ายการตรวจสอบ Fakenews ด้านสุขภาพ ได้เปิดตัวระบบต้นแบบ #เช็กให้รู้ หรือระบบอัจฉริยะต้นแบบช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมด้านสุขภาพ (Fact Checking Intelligent Platform)

ผศ.ดร.บุหงา ชัยสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม กล่าวถึงที่มาของระบบอัจฉริยะต้นแบบ #เช็กให้รู้ว่า พัฒนาโดยคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาษา และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หวังเป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจข้อมูลข่าวปลอมให้กับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ฯลฯ เป้าหมายเพื่อกระตุ้นการตระหนักรู้ของประชาชน

พร้อมกันนี้ได้ลงนามความร่วมมือภาคีเครือข่ายและพัฒนาระบบต้นแบบกับทางคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ใน “โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม” และสามารถรับมือข่าวปลอมสุขภาพที่เกิดในสังคมไทยปัจจุบัน โดยดำเนินโครงการด้วยทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2562

นายกิตติพงศ์ กิตติถาวรกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด (Backyard Co., Ltd.) กล่าวว่า ระบบต้นแบบ #เช็กให้รู้ บริษัทในฐานะแกนหลักด้านการพัฒนาเทคโลโลยีร่วมมือกับภาคีเครือข่ายฯ ทั้ง 5 หน่วยงานพัฒนาเกณฑ์ 6  มิติ ได้แก่ มิติโครงสร้างข่าว มิติบริบท มิติเนื้อหา มิติด้านภาษา มิติด้านโฆษณาและผู้สนับสนุน และมิติด้านสุขภาพ

ซึ่งในด้านมิติที่เกี่ยวข้องกับ “ภาษา” เริ่มจากกระบวนการทำงาน Data Scientist ได้พัฒนาโมเดล ด้วยการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ผ่านการสร้าง Annotation แล้วให้กลุ่มนักนิเทศและนักภาษาศาสตร์ ในเครือข่ายความร่วมมือฯ ทำหน้าที่จำแนกองค์ประกอบข่าว เช่น พาดหัวคลิกเบท (Clickbait), เนื้อหาเชิญชวนให้ซื้อสินค้าหรือทำตาม (Misleading), เนื้อหากล่าวอ้าง (Imposter)

หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลการวิเคราะห์โดยมนุษย์สร้างโมเดลการเรียนรู้ให้ระบบคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ แยกแยะโครงสร้างของข้อมูลข่าวด้วยเทคโนโลยี Deep Learning จนนำไปสู่ระบบอัจฉริยะช่วยตรวจสอบข่าวปลอมด้านสุขภาพขึ้น ซึ่งระบบจะสามารถระบุถึง “แนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะเป็นข่าวปลอม” (Fake news probability)  ขณะเดียวกันโครงการฯกำลังพัฒนาต่อยอดให้ประชาชนทั่วไป สามารถนำข่าวที่ได้รับมาร่วมตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลผ่านเว็บไซต์ในอนาคตด้วย

นายวิษณุ โรจน์เรืองไร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ปัญหาการส่งต่อข้อมูลสุขภาพแบบผิดๆ ถือเป็นปัญหาระดับประเทศ และเรื่องแชร์ผิดๆ เดิมๆ หลายเรื่องมีการกลับมาแชร์ซ้ำอีกหลายครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย. จึงดำเนินโครงการ “เช็ก ชัวร์ แชร์” โดยรวบรวมข้อมูลที่มีการแชร์กันผิด ๆ มาแก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับตรวจสอบความถูกต้องเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพในรูปแบบบทความ อินโฟกราฟิก และคลิปวิดีโอ

สำหรับ “โครงการพัฒนาศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสารและสร้างเครือข่ายระดับประเทศในการรับมือกับข่าวปลอม” ยังมีงานส่วนอื่นๆ ที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป ทั้งการวิจัยองค์ความรู้ การพัฒนาระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงให้มีความแม่นยำ และครอบคลุมบริบทต่าง ๆ มากขึ้น การจัดอบรม การตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่องค์ความรู้ การตระหนักรู้ และผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งขยายเครือข่ายไปส่วนภูมิภาคซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากลไก และเทคโนโลยีช่วยในการตรวจสอบข้อมูลข่าวเท็จ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนวงกว้างต่อไป

ผู้ที่สนใจทดลองใช้ระบบ #เช็กให้รู้ ติดตามร่วมเป็นเครือข่ายตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลข่าวสาร และรับข่าวสารหรือร่วมการทดลองระบบ ได้ที่ facebook fanpage : #เช็กให้รู้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า