Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รมว.ดีอีเอส หนุน 32 องค์กรภาคีเครือข่ายประกาศเจตนารมณ์ ปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์ ด้านนักวิชาการเผยสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 63 พบเยาวชนไทยเข้าถึงเนื้อหาความรุนแรง การพนัน สื่อลามก สารเสพติดสูงสุด และใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 10 ชม. ต่อวัน 22% เล่นเกมออนไลน์เกิน 10 ชม.ต่อวันสูงถึง 30%

วันที่ 24 ก.ย. 2563 มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) และเครือข่าย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย กรมกิจการเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีนโยบายสาธารณะ ชวน 32 องค์กรภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และเครือข่ายเด็กและเยาวชน ร่วม “ประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือเพื่อการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์”

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ปัจจุบันภัยออนไลน์คุกคามเด็กและเยาวชนอย่างรุนแรงและกว้างขวาง กระทรวงดีอีเอสได้ออกแบบและสร้างกลไกการป้องกันภัยคุกคามทางออนไลน์ในทุกพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังและระงับข้อมูลคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม มีการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ทั้งยังมีโครงการรณรงค์การหยุดกลั่นแกล้งออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนในโลกดิจิทัล แต่ไม่สามารถทำสำเร็จได้ด้วยเพียงหน่วยงานเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ฉะนั้น การจัดเวทีนโยบายสาธารณะประกาศเจตนารมณ์ในครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ที่จะช่วยกันผสานแนวคิดแนวทางและการทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่มีพันธกิจในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์

“ทุกวันนี้เด็ก 80 เปอร์เซ็นต์ รู้ว่าระบบออนไลน์นั้นใช้ประโยชน์ได้ดี มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้ไปในทางไม่ดี และเด็กไทยทุกคนสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่วันนี้เราปลูกฝังให้พวกเขาเป็นคนคิดหรือยัง และทางแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ต้องให้เด็กมาร่วมคิดร่วมทำ เราห้ามเขาไม่ได้ เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ จึงต้องดึงให้เขามามีส่วนร่วมกับเรา ต้องเอาเพื่อนเขาๆ มาคิดมาเป็นเครือข่ายกับเรา” รมว.ดีอีเอส ให้แง่คิดเพิ่ม

ด้าน นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ระบุว่า จากการทำงานร่วมมือขององศ์กรภาคีเครือข่ายพบว่า เด็กและเยาวชนยังขาดความรู้เท่าทันและมีความเสี่ยงสูงจากภัยสื่อออนไลน์ และประเด็นปัญหาสำคัญที่พบ เช่น การถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์  การถูกคุกคามทางออนไลน์ การติดต่อสื่อสารเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม การถูกแบล็คเมล์ทางเพศ และการถูกล่อลวงทางเพศ เป็นต้น ซึ่งทุกปัญหาล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในระยะยาว และภัยโลกออนไลน์ยังหล่อหลอมทัศนคติของเด็กและเยาวชนไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ได้ ถ้าเรามีจัดการให้เด็กและเยาวชนเดินสู่เส้นทางการใช้โลกออนไลน์ที่เหมาะสม เราก็จะได้อนาคตของชาติที่ดี และเป็นกำลังลังสำคัญของประเทศ

“ช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้ดำเนินการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยออนไลน์ ทั้งในการขับเคลื่อนงานผ่านยุทธศาสตร์ส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พ.ศ. 2560 – 2564 ผ่านการจัดทำแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลตามตัวชี้วัด สิ่งสำคัญคือการมีพื้นที่ปฏิบัติงานจริง ทำให้เห็นภาพการทำงานที่เชื่อมโยงจากระดับนโยบายสู่พื้นที่การปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน สำหรับสิ่งที่ท้าทายการทำงานในอนาคต เห็นว่าจะต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความรู้ ความเท่าทันต่อสื่อออนไลน์ และพัฒนากลไกให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับเชื่อมโยงเครือข่ายให้เป็นระบบปกป้องและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากสื่อออนไลน์ได้อย่างแท้จริง รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพเด็ก เยาวชน และบุคคลแวดล้อม ให้ตระหนักถึงการใช้สื่อยุคใหม่อย่างสร้างสรรค์ เท่าทัน และชาญฉลาด” กรรมการ กสทช. กล่าว

เช่นเดียวกับ นายพงศ์ธร จันทรัศมี ผู้จัดการโครงการฯ มสช. กล่าวว่า ปัญหาสื่อออนไลน์ในช่วงหลัง มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนอย่างมาก โดยเฉพาะในมิติด้านสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในระยะยาว ดังนั้น นอกจากการเสริมศักยภาพกลไกในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหา ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณแล้ว มสช.จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีนโยบายสาธารณะในครั้งนี้ขึ้น เพื่อต้องการสร้างความตระหนักอย่างจริงจังให้เกิดขึ้นในสังคม พร้อมทั้งเชื่อมร้อยเครือข่ายพันธมิตร ให้ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันปกป้อง ป้องกัน การใช้สื่อออนไลน์ในเด็กและเยาวชนอย่างเป็นระบบ ด้วยการผลักดันให้เป็นวาระสำคัญของทุกองค์กร

ผลสำรวจพบเยาวชนไทยใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 10ชม.ต่อวัน

ภายในงาน ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนา ได้เผยผลสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ ประจำปี 2563 ซึ่งร่วมกับ ศูนย์ประสานงานส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (ศปอ.) หรือ โคแพท (COPAT) โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เก็บข้อมูลระหว่าง พ.ค.-ก.ค. 2563 พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี จำนวน 14,945 คน มีอิสระในการใช้สื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก และเด็กร้อยละ 89 เชื่อว่าในโลกออนไลน์มีภัยอันตรายหรือความเสี่ยงต่างๆ ส่วนอีกร้อยละ 61 เชื่อว่าหากเผชิญภัยอันตรายดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง ในประเด็นนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบด้วยว่า เว็บไซต์หรือเนื้อหาที่ผิดกฎหมายเป็นอันตรายที่เด็กเข้าถึงมากที่สุด 4 อันดับแรกคือ ความรุนแรง ร้อยละ 49 การพนัน ร้อยละ 22 สื่อลามกอนาจาร ร้อยละ 20 และ สารเสพติด ร้อยละ 16

ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงภัยออนไลน์ 6 อันดับแรกของเยาวชน คือ 1.ซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ที่ไม่รู้จัก ร้อยละ 44 2.รับคนแปลกหน้าเป็นเพื่อน ร้อยละ 39 3.ใส่ข้อมูลตัวตนบนสื่อโซเชียลมีเดีย ร้อยละ 26 4.แชร์ข้อมูลโดยไม่ได้ตรวจสอบ และ 5.นำข้อมูลมาใช้โดยไม่รับอนุญาตหรืออ้างอิงแหล่งที่มา ร้อยละ 24 เท่ากัน และ 6. เข้าถึงสื่อลามก ร้อยละ 14 โดยในส่วนของสื่อลามก มีเด็กถึง 641 คน  บันทึกและดาวน์โหลดสื่อลามกอนาจารเด็ก (ต่ำกว่า 18 ปี) มาไว้ในอุปกรณ์ไอทีหรือพื้นที่ส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ต ขณะที่อีกร้อยละ 45 มีการส่งต่อหรือแบ่งปันสื่อลามกอนาจารเด็กที่ได้มากับเพื่อนและสังคมออนไลน์

ดร.ศรีดา กล่าวต่อถึงผลการสำรวจการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ มีเด็กมากถึง 11,384 คน ที่เล่นเกมออนไลน์ โดยเล่น 1-2 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 26 เล่น 3-10 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 30 เล่นมากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน มีร้อยละ 5 และแจ้งว่ามีการพนันในเกมที่เล่น ร้อยละ 10 ส่วนเติมเงินซื้อของในเกม มีร้อยละ 34 โดยในจำนวนนี้ราวร้อยละ 7 มีการเติมเงินเดือนละ 201-500 บาท ขณะที่ผลของการเล่นเกมออนไลน์ทำให้เยาวชนไทย สนใจทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลงมาก ร้อยละ 43 การเรียนแย่ลงมาก ร้อยละ 20 และ คววามสัมพันธ์กับคนในครอบครัวแย่ลงมาก ร้อยละ 13

“ปัจจุบันเยาวชนไทย ร้อยละ 26 ใช้อินเทอร์เน็ตวันละ 3-5 ชั่วโมง มีจำนวนพอๆ กับกลุ่มที่ใช้วันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และมีเยาวชน ร้อยละ 15 ใช้อินเทอร์เน็ตวันละ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนอีกร้อยละ 22 ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันมากกว่า 10 ชั่วโมง  ซึ่ง ร้อยละ 81 ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน และวัตถุประสงค์ที่เยาวชนใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือเพื่อพักผ่อนหรือความบันเทิง ร้อยละ 61”

ดร.ศรีดา กล่าวทิ้งท้ายว่า ผลการสำรวจทำให้เห็นว่า เด็กมีความเชื่อและพฤติกรรมออนไลน์ที่สุ่มเสี่ยง อาจนำภัยมาถึงตัวได้ ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการกำหนดนโยบาย และวางแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เกิดมาตรการ เครื่องมือ กลไก ที่จะช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า