Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่เกิดจากนักเรียนด้วยกันเองหรือครูกับนักเรียน มักจะมีให้เห็นอยู่ในทุกระดับชั้น อย่างกรณีล่าสุดครูมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลด้วยการลงโทษที่เกินกว่าเหตุ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมส่งกระทบกระเทือนต่ออารมณ์และจิตใจของเด็กนักเรียน กลายเป็นภาพจำว่าเมื่อไปโรงเรียนแล้วจะถูกทำร้าย ทำให้เด็กหลายคนกลัวการไปโรงเรียนเพราะโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลอดภัย

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยกับทีมข่าว workpointTODAY ว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องหาวิธีเยียวยาสภาพจิตใจของลูกซึ่งจากเคสที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองจะต้องตั้งสติและทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเด็กอาจได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือคุณพ่อคุณแม่อาจจะพูดคุยกับลูกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่า ลูกมีความคิดเห็นอย่างไร ถามลูกว่าเคยถูกกระทำความรุนแรงหรือเปล่า ถ้าเด็กเคยถูกกระทำรุนแรงจะมีอาการหวาดกลัว ไม่อยากไปโรงเรียน มีพฤติกรรมหรืออาการบางอย่างออกมา คุณพ่อคุณแม่ต้องพาไปปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อหาข้อมูลและเยียวยาสภาพจิตใจ

“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เราคงต้องดูกันในเชิงระบบ ซึ่งจริงๆ แล้วหลายโรงเรียนไม่มีมาตรการดูแลความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ระบบการศึกษาไทยหรือตามโรงเรียนต่างๆ มีมาตรการป้องกันการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนอย่างไร บางทีเราไปเน้นที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเด็กกับเด็ก แต่ปัจจุบันคงต้องมองไปอีกขั้นหนึ่ง มองไปถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก เราจะมีการหาข้อมูลได้อย่างไร มีการสอบสวนสืบสวนอย่างไร ผมคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ประเทศไทยที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงคือ เรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เพราะผลกระทบมันรุนแรงเหลือเกิน มาแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอาจไม่ทัน” นพ.วรตม์ กล่าว

ส่วนตัวมองว่าเคสที่เกิดขึ้นนี้ทางโรงเรียนต้องเร่งหาข้อมูลผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งผู้กระทำและถูกกระทับ สอบสวนข้อมูลอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางช่วยเหลือเยียวยาเด็กนักเรียนอย่างทันท่วงทีและจะช่วยคลายความกังวลให้กับผู้ปกครอง ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย เพราะถ้าตราบใดโรงเรียนไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน เด็กๆ ก็จะไม่มีวันหายจากความหวาดกลัว เรื่องนี้ต้องใช้ความพยายาม เมื่อโรงเรียนช่วยแล้วครูก็ต้องพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น รวมถึงตัวคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องพูดคุยกับลูกเป็นประจำ หากลูกยังหวาดกลัวไม่อยากเล่าให้ฟัง ณ เวลานั้น ก็ไม่ต้องรีบร้อน เพราะการให้ลูกเล่าเหตุการณ์ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนจิตใจลูกได้

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นเชื่อว่าผู้ปกครองทุกคนเลือกโรงเรียนให้ลูกอย่างดีที่สุดแล้ว แต่อยากแนะนำให้ผู้ปกครองมองโรงเรียนในยุคใหม่ๆ ว่าไม่ใช่แค่หลักสูตรการศึกษาหรือชื่อเสียง แต่ให้ดูถึงการกระทำในปัจจุบัน กฎระเบียบ การดูแล และมาตรการต่างๆ ที่เน้นที่การดูแลเด็กอย่างปลอดภัย ให้เด็กรู้สึกว่าสังคมที่เขาอยู่เป็นสังคมที่ปลอดภัย ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ผู้ปกครองจะต้องมองความสำคัญจุดนี้มากขึ้น ไม่อยากให้ผู้ปกครองที่มีลูกในวัยนี้ตกใจไปกันหมด เชื่อว่าทุกโรงเรียนที่เห็นข่าวนี้ หลายโรงเรียนต้องเสริมมาตรการมากขึ้น ตัวผู้ปกครองเองต้องร่วมด้วยช่วยกันในการดูแลลูกหลาน หากพบความผิดปกติกับลูก อาจจะต้องหยิบยกประเด็นไปพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น คุยกับครู เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือร่วมกันต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า