Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กุมารแพทย์ ระบุการปล่อยเด็กไว้กับโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน กระทบต่อพัฒนาการเรียนรู้ เสี่ยงสมาธิสั้น ชี้ เด็กจะติดโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมพ่อแม่ ผู้ปกครอง แนะ ไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือให้เห็นเป็นแบบอย่างและต้องเล่นกับลูกให้เป็น

จากกรณีเมื่อวันที่ 14 พ.ค.62 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความห่วงใยในช่วงเปิดภาคการศึกษา ที่พบว่าปัจจุบันเด็กเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน และมีผลสำรวจพบว่าเด็กกลุ่มเป้าหมายกว่าร้อยละ 50 หยิบโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งแรกตอนตื่น และเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นกิจกรรมสุดท้ายก่อนเข้านอน อาจส่งผลให้สมาธิสั้น การใช้สมองส่วนความทรงจำลดลง และอารมณ์มีแนวโน้มรุนแรงฉุนเฉียวง่ายขึ้น

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงสอบถามเรื่องนี้กับ ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี เจ้าของเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ ถึงผลกระทบของการปล่อยให้เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือ พร้อมคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงเด็กเพื่อเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลเวชธานี เจ้าของเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ

 

พ่อแม่น่าสนใจกว่าโทรศัพท์มือถือ

ผศ.นพ.วรวุฒิ กล่าวว่า ตามธรรมชาติของเด็กหากมีพ่อแม่เล่นอยู่ด้วย เด็กจะสนใจพ่อแม่กว่าการเล่นอุปกรณ์สื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือ หรือ แท็บเล็ต อยู่แล้ว เพียงแต่พ่อแม่ต้องรู้จักวิธีการเล่นกับลูกเท่านั้น ที่สำคัญเด็กจะติดโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของพ่อแม่-ผู้ปกครอง เพราะหากเล่นให้เขาเห็นเป็นตัวอย่างประจำเด็กก็จะอยากเล่นตาม

ภาพสถานการณ์จำลอง

 

มือถือไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ ทำสมาธิสั้น

การปล่อยให้เด็กดูวิดีโอจากสื่อในโซเชียลมีเดีย พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองบางคนอาจมองว่า จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ เพราะจะเห็นว่าเด็กพูดตาม เล่นตามได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กได้เพียงแค่การจำ แต่ไม่เกิดการเรียนรู้ ที่สำคัญคือทำให้เด็กสมาธิสั้น โดยคุณหมอยกตัวอย่าง เพลงที่เด็กๆ ชอบเปิดดูใน Youtube อย่าง ABC หรือ Old Macdonald Has A Farm  จะเห็นว่าแต่ละวินาทีในวิดีโอนั้นภาพเปลี่ยนเร็วมาก ซึ่งจะดึงความสนใจเด็กได้ ส่งผลให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทันใจ เมื่อเข้าสู่โหมดชีวิตจริง ที่บางครั้งอาจจะต้องมีการรอคอย เด็กจะรอไม่เป็น หรือ ทำสิ่งที่ต้องใช้สมาธิมากๆ ไม่ได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเลี้ยงลูกให้ไกลจากมือถือ โดยเริ่มจากการไม่เล่นให้เห็นเป็นตัวอย่าง

“คุณพ่อคุณแม่ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่าง กลับเข้าบ้านไม่เล่นมือถือ ปิดทีวี เล่น และคุยกับลูก เพราะว่าจริงๆ แล้ว ถ้าถามลูกนะ ถ้าพ่อแม่อยู่กับเขา มันน่าสนใจกว่าพวกไอแพด พวกวิดีโออยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเพียงแค่เล่นกับลูกให้เป็นเท่านั้นเอง การที่พ่อแม่เล่นกับลูก อ่านหนังสือ เล่านิทาน สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ดีกว่าการซื้อของเล่นราคาแพง” ผศ.นพ.วรวุฒิ กล่าว

 

ภาพสถานการณ์จำลอง

 

งานวิจัยชี้อ่านนิทานกับลูก ทำให้สมองทำงานได้ดี

ผศ.นพ.วรวุฒิ ได้ยกตัวอย่างจากการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก 3 กลุ่ม โดยมีนิทานเรื่องเดียวกัน 1 เรื่อง โดยให้เด็กกลุ่มแรกฟังอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ดูหนังสือที่มีภาพและมีคนเล่าเรื่องให้ฟัง และกลุ่มที่ 3 เป็นวิดีโอนิทานมีเสียงมีภาพประกอบ แล้วสแกนด้วยเครื่อง MRI หรือ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พบว่า การตอบสนองของสมองกลุ่มที่ทำงานอย่างพอดีๆ และมีประสิทธิภาพ คือกลุ่มที่นั่งอ่านหนังสือนิทานกับพ่อแม่

ภาพสถานการณ์จำลอง

 

ลูกติดมือถือแล้ว ยังไม่สายเกินแก้

ส่วนเด็กที่ติดโทรศัพท์มือถือไปแล้ว กุมารแพทย์บอกว่า ยังไม่สายเกินแก้ เนื่องจากพ่อแม่สามารถช่วยปรับพฤติกรรมลูกได้ โดยไม่ยื่นโทรศัพท์มือถือให้ลูกเล่น แม้ว่าในช่วงแรกเด็กจะมีอาการงอแง ร้องไห้ เสียใจอยู่บ้าง เพราะเป็นสิ่งที่เขาเคยได้รับมาก่อน แต่เด็กจะค่อยๆ ปรับตัวได้เอง หรืออาจจะเริ่มจากการค่อยๆ ลดชั่วโมงการเล่นลง

ภาพสถานการณ์จำลอง

 

ภาพสถานการณ์จำลอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า