Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
สุดสัปดาห์นี้ โรงภาพยนตร์ที่จีน ทำรายได้รวมสูงสุดมากกว่าปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
โดยรายได้รวมของโรงหนังที่จีน ในวันที่ 1-3 ตุลาคม 2020 สูงถึง 282 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,900 ล้านบาท) คาดว่า พ้นวันอาทิตย์นี้จะกวาดรายได้สุดสัปดาห์นี้ไป มากกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 10,000 ล้านบาท
ในขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวในหลายปีที่ผ่านมา มีรายได้ ดังนี้
4-6 ต.ค.2019: 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5-7 ต.ค. 2018: 98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
6-8 ต.ค. 2017: 164 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
30 ก.ย.-2ต.ค.2016: 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สะท้อนให้เห็นว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่จีนนั้น ฟื้นตัวกลับมาโดยสมบูรณ์แบบแล้ว
หลังการระบาดของโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก หลายกิจกรรมต้องหดตัวลง รวมถึงโรงหนัง
แต่หลังจากที่หลายชาติ เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ อาทิเช่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ไทย ฯลฯ โรงหนังก็เริ่มทยอยกลับมาเปิดกันใหม่ และเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ในขณะที่ฝั่งอเมริกาที่มี Hollywood เป็นหัวหอกหลักของอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกมานาน ยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวจากโควิด-19 นัก หนัง Hollywood จึงยังไม่กลับมาฉาย และ ยังคงเลื่อนวันฉายกันอยู่เรื่อยๆ
มีเพียง TENET ที่ปล่อย ออกมาชิมลางและฉายไปทั่วโลก ส่วน Mulan ก็เลือกฉายเพียงบางประเทศ และปล่อยเข้า Streaming ที่อเมริกาทันที ไม่เข้าฉายที่โรง
แม้ว่าโรงหนังในหลายๆ ประเทศ จะเริ่มทยอยกลับมาเปิด แต่ ต้องยอมรับว่า เมื่อไม่มีหนัง Hollywood ฟอร์มยักษ์เข้าฉาย โรงหนังก็ยังคงซบเซาอยู่ แม้บรรยากาศจะเริ่มดีขึ้นบ้างก็ตาม
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า หนัง Hollywood นั้นเป็นรายได้หลัก ของโรงหนังทั่วโลก ทีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น ที่หนังในประเทศ จะยังคงเป็นรายได้สำคัญของโรงหนังอยู่
อาทิเช่น อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี และ จีน
โดยอินเดีย แม้จะบริโภคหนังตัวเองเป็นหลัก แต่ยังไม่ฟื้นตัว จากการระบาดของโควิด-19
ส่วนเกาหลีนั้น ฟื้นตัวจาก โควิด-19 บ้างแล้ว โรงหนังเปิดปกติแล้ว หนังเกาหลีเริ่มกลับมาทำรายได้แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับหนัง Hollywood แม้ทุกๆ ปี ที่เกาหลี จะมีหนังเกาหลี ที่ทำรายได้ถล่มทลายเป็นประจำก็ตาม แต่ก็มีเพียง 1-3 เรื่องต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับหนัง Hollywood ยังถือว่าน้อยอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดี
ขณะที่ในญี่ปุ่น แม้โควิด-19 จะไม่จางลงนัก แต่รัฐบาลเลือก ที่จะบริหารเศรษฐกิจควบคู่กันไปกับการควบคุมโรค คือ ทยอยปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินการใกล้ภาวะปกติ รวมถึงโรงหนังด้วย ซึ่งหนังทำเงินส่วนมากก็เป็นหนังญี่ปุ่นเองโดยเฉพาะ Animation แต่ก็เช่นเดียวกับเกาหลีคือ เมื่อขาดหนัง Hollywood โรงหนังเองก็ยังไม่ตื่นตัวเต็มที่นัก มีตื่นตัวเป็นครั้งๆ เมื่อมีหนังดังๆ ในประเทศเข้าฉายเพียงแค่นั้น
ส่วนที่จีน ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมานี้ จีนเริ่มขยับตัวในอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างจริงจัง พร้อมๆ กับที่เปิดให้หนังจาก Hollywood เข้าฉายได้มากขึ้น หนัง Hollywood Blockbuster ทยอยเข้าทำรายได้ที่จีนเป็นกอบเป็นกำทุกปี แต่หนังจีนเองก็ทำรายได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

ย้อนกลับไปไล่ดูหนังทำรายได้สูงสุดที่จีนใน10 ปีย้อนหลัง จะพบดังนี้
2010 : Avatar ทำรายได้ 203 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2011 : Transformers: Dark of the moon ทำรายได้ 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2012 : Titanic (3D) ทำรายได้ 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2013 : Journey to the West (ไซอิ๋ว เวอร์ชันซูฉี) ทำรายได้ 197 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2014 : Transformers: Age of Extinction ทำรายได้ 301 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2015 : Furious 7 ทำรายได้ 391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2016 : The Mermaid (เงือกสาวปังปัง) ทำรายได้ 527 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2017 : Wolf Warrior 2 ทำรายได้ 854 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2018 : Operation Red Sea ทำรายได้ 576 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2019 : Ne Zha (นาจา) ทำรายได้ 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2020 : The Eight Hundred ทำรายได้ 441 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และ ยังมี Legend of deification กับ My people my homeland ที่เพิ่งเข้าฉายได้เพียง 3 วันทำรายได้ไปมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วทั้งคู่
ถ้าย้อนไปดู 5 ปีหลัง นับจากปี 2016 เป็นต้นมา แม้จะมีหนัง Hollywood ฟอร์มยักษ์เข้าไปทำรายได้ที่จีนเป็นกอบเป็นกำ จำนวนมาก อาทิ เช่น Zootopia, Warcraft, Captain America, Kungfu Panda, Fast 8, transformers 5, Pirate of the Caribbean 5, Avengers: Infinity War, Venom, Jurassic Park, Ready Player One, Avengers: Endgame, Hobbs And Shaw, Spiderman, Bumblebee ฯลฯ
แต่หลังจากปี 2017 เป็นต้นมา ใน 10 อันดับหนังทำรายได้สูงที่สุดในแต่ละปีนั้นเริ่มเป็นหนังจีนเสียเองมากกว่า 6-7 เรื่องใน10 อันดับแรกทุกปี ไม่ได้มีแต่หนัง Hollywood ฟอร์มยักษ์เพียงเท่านั้นที่ทำรายได้สูง
จำนวนโรงหนังที่จีนที่ขยายตัวมากขึ้นตามเมืองที่เจริญเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับหนังจีนเองที่ผลิตออกมามากขึ้น และ ผู้คนท้องถิ่นเองก็ยังคงบริโภคหนังท้องถิ่นอยู่ แม้ว่าจะมีหนัง Hollywood ฟอร์มยักษ์จำนวนมาก ทยอยเข้าฉายต่อเนื่องมาตลอดใน 5-10 ปีหลัง
ดังนั้นเมื่อหนัง Hollywood เองต้องชะงักตัวลง เพราะการระบาดของโควิด-19 และเมื่อหนังในประเทศมีจำนวนและ คุณภาพเพียงพอที่จะทดแทนได้ อุตสาหกรรมภาพยนตร์จีน และโรงหนังจึงฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ เพราะโรงหนังเอง ก็ต้องการหนังที่เป็นแม่เหล็กในการเรียกคนดูกลับเข้าโรง
ในขณะเดียวกัน จีนเองก็เริ่มขยาย social media platform ออกไปทั่วโลก อาทิเช่น TikTok, WeChat, WETV, iQIYI ฯลฯ ซึ่งเป็นอีกโอกาสในการที่จีนจะขยายอุตสาหรกรรมบันเทิง หรือที่เรียกกันว่า Softpower ออกไปทั่วโลก เหมือน ที่เกาหลีทำสำเร็จผ่าน Parasite, BTS, Blackpink

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า