SHARE

คัดลอกแล้ว

เศรษฐกิจจีนกำลังอ่อนแอมากกว่าที่คิดหรือไม่ และถ้าจีนกระทบแน่นอนว่าส่งผลรวมต่อเศรษฐกิจโลก หลังจากนักเศรษฐศาสตร์ของจีนคาดการณ์การเติบโตทั้งปีปรับลดลงไปอีก คือ 4.8% แม้ว่ารัฐบาลจีนพยายามอย่างมากที่จะควบคุมให้จีดีพีรวมทั้งปีจบที่ 5%

แต่แรงกดดันด้านภาวะเงินฝืดในจีน และปัจจัยแวดล้อมอย่างเลือกตั้งสหรัฐฯ และที่สำคัญปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคาราคาซังเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของประเทศ กำลังทำให้เศรษฐกิจจีนอาจจะยังเติบโตช้าไปอีก

พอไปดูประมาณการเฉลี่ยเศรษฐกิจจีนไตรมาสช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน อยู่ที่ 4.6% เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ 4.7% และพอเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วก็ยิ่งพบว่าเศรษฐกิจจีนอ่อนแอลงไปอีก

คำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์ของบริษัท KGI Asia เป็นห่วงว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในจีน การลงทุน ไปจนถึงกลุ่มค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนยังคงมีแนวโน้มลดลง และเห็นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายจีดีพีที่รัฐบาลจีนต้องการที่ประมาณ 5%

ปัญหาอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีทีท่าฟื้น-กังวลเงินฝืด

ที่ผ่านมาช่วงเศรษฐกิจจีนร้อนแรง ภาคอสังหาริมทรัพย์คือหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญ พูดง่ายๆ อสังหาริมทรัพย์คิดเป็นประมาณ 70% ของสินทรัพย์ในครัวเรือนของชาวจีน แต่หลังจากฟองสบู่แตก ราคาบ้านตกต่ำ ก็เท่ากับว่าสินทรัพย์ที่คนจีนถือครองส่วนมากมีราคาความมั่งคั่งลดลง

และถ้าไปดูตอนนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยในจีนลดลงมาก และโอกาสจะเพิ่มก็ยากอีก เพราะโครงสร้างสังคมจีนที่ประชากรวัยหนุ่มสาวมีจำนวนลดลง ยังไม่นับรวมว่าคนรุ่นใหม่ว่างงานเป็นเวลานาน ขณะที่จำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการซื้ออสังหาฯจึงมีแนวโน้มลดลงทั่วทั้งประเทศ

ภาพรวมในจีนตอนนี้จึงเกิดความกังวลถึงภาวะเงินฝืด

ภาคการผลิตและส่งออกของจีนเองตอนนี้ก็กำลังดิ้นรน อย่างที่เราเห็นว่าจีนส่งออกหนักมากจนกระทบกับภาคการผลิตและค้าขายภายในของหลายประเทศ และแน่นอนว่าหลายประเทศก็ต้องออกกฎเกณฑ์กีดกันทางการค้าเพื่อรับมือ ทั้งในอเมริกาและยุโรป ที่มีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมรถรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกจากจีน หรืออินโดนีเซียที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางประเภทสูงขึ้น เช่น กลุ่มสิ่งทอ เพราะจีนอาจมาทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจในอินโดฯได้รับผลกระทบ

จีนหืดจับดิ้นรน แต่ประเทศอื่นก็กระทบด้วย

ความที่จีนต้องดิ้นรนเอาตัวรอดส่งผลให้เกิดอุปทานล้นตลาดและข้อพิพาททางการค้าของจีนกับอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่นๆ ก็เพิ่มขึ้น

จีนเองก็พยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างล่าสุดที่ธนาคารกลางจีนปรับลดดอกเบี้ย และลดอัตราส่วนเงินสำรองประเทศ รวมทั้งมีการแจกเงินสดแบบครั้งเดียวจบให้กลุ่มเปราะบางช่วงวันชาติจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่ตอนนี้นักลงทุนจำนวนมากคาดหวังว่าจีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก อาทิ ออกพันธบัตรพิเศษมูลค่า 285,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศก็มีการรายงานว่า จีนจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ

ท่ามกลางแรงกดดันจากบรรดานักวิเคราะห์ที่มองว่า สถานการณ์เศรษฐกิจจีนต้องการมาตรการที่รุนแรงกว่านี้ และต้องปรับโครงสร้างหนี้ภาคอสังหาฯ และหนี้ในรัฐบาลท้องถิ่นมากกว่าแค่ลดดอกเบี้ยเพื่อยุติภาวะเงินฝืด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า