SHARE

คัดลอกแล้ว

เศรษฐกิจจีนส่อแววเข้าสู่ภาวะเงินฝืด สวนทางกับทิศทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต่างเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อกันอยู่ในขณะนี้

โดย ‘ภาวะเงินฝืด’ (Deflation) คือภาวะทางเศรษฐกิจที่ราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการมีทิศทางลดลง ในขณะเดียวกันมูลค่าของเงินในช่วงนั้นของเศรษฐกิจก็กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้คนไม่อยากใช้จ่ายเพื่อรักษามูลค่าของเงินตนเองไว้ ซึ่งตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)

และตัวเลขดัชนีผู้บริโภค (CPI) ถือเป็นหนึ่งในดัชนีที่มักถูกนำมาใช้สำหรับการประเมินเงินฝืดและเงินเฟ้อ หาก CPI ติดลบ มักเป็นหนึ่งในตัวสะท้อนของมูลค่าของสินค้าและบริการที่กำลังลดลงในช่วงเวลานั้น ซึ่งหมายถึงภาวะเงินฝืดนั้นเอง

จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเผยว่าตัวเลขดัชนีผู้บริโภคของจีนในเดือน มิ.ย.ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่อ่อนแอที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564

ในขณะที่ ‘อัตราเงินเฟ้อขั้นพื้นฐาน’ (Core Inflation) ที่ถูกหักความผันผวนจากราคาอาหารและพลังงานออกไปแล้วชะลอตัวลงมาแตะ 0.4% จากระดับ 0.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ทิศทางเดียวกับ ‘ดัชนีราคาของผู้ผลิต’ (Producer Price Index) ที่กำลังตกลงไปทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2558 เหลือเพียง 5.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้

อีกหนึ่งตัววัดสำคัญของดัชนีผู้บริโภคอย่างราคาเนื้อหมู ในเดือนมิ.ย.ก็มีการปรับตัวลงกว่า 7.2% จากปีก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าการปรับตัวลดลงในเดือน พ.ค.ที่ลดลงเพียง 3,2% เท่านั้นเอง

‘จาง จือเว่ย’ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Pinpoint Asset Management มองว่า จากตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศจีนในตอนนี้กำลังมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเผชิญกับภาวะเงินฝืด

โดยในขณะนี้ประชาชนจีนก็กำลังรู้สึกว่าสินค้าและบริการต่างๆ ในประเทศกำลังมีราคาที่ถูกลง จนอาจทำให้ผู้คนในประเทศต่างเก็งกันว่าสินค้าและบริการต่างๆ อาจปรับตัวลงต่ออีกในอนาคต ทำให้ลดการใช้จ่ายลง ทำให้ผู้ผลิตยิ่งต้องลดราคาของสินค้าลงเป็น ‘ภาวะเงินเฟ้อรุนแรง’ (Deflation Spiral) ได้

‘บรูซ ปัง’ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของ Jones Lang Lasalle ชี้ว่า ประเทศจีนในขณะนี้อาจมีข้อจำกัดต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายทางมหภาคแล้ว ทำให้ในตอนนี้ผู้นำของประเทศจีนควรมุ่งเน้นการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยจัดการโครงสร้างทางเศรษฐกิจและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ดี

นักวิเคราะห์บางรายยังชี้ว่า รัฐบาลจีนควรเปลี่ยนจุดเน้นจากการแก้ปัญหาที่ฝั่งอุปทาน ไปยังการแก้ปัญหาที่ฝั่งอุปสงค์ให้มากขึ้น ว่าจะเพิ่มความต้องการในการใช้จ่ายได้อย่างไร เนื่องจากในตอนนี้จีนกำลังเผชิญปัญหาของปริมาณอุปทานที่มากจนเกินไป

ที่มา: https://www.bloomberg.com/news/articles/2023-07-10/china-s-inflation-rate-slows-to-zero-as-economic-woes-mount

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า