SHARE

คัดลอกแล้ว

จีนไม่ต้องการเป็นแค่โรงงานโลก เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคตนั้น ปริมาณจะไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพ คำถามคือ แล้วจีนต้องการจะเป็นอะไร TODAY Bizview จะอธิบายให้เห็นภาพในบทความนี้

เศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาบอบช้ำไม่น้อย ขณะเดียวกันการเติบโตของเศรษฐกิจจีนก็ไม่สามารถเติบโตได้เหมือนเช่นเก่า เราได้เห็นว่าผู้นำระดับสูงของจีนหลายคน ออกมาย้ำถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจจีนหลายครั้งมากขึ้น

นอกจากนี้ ปัญหาภายนอกของจีนเอง ที่มีความขัดแย้งทางเศรษฐกิจกับประเทศตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งคู่ขัดแย้งคนสำคัญก็คือสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ภาคการผลิตของจีนเผยจุดอ่อนออกมามากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีของภาคการผลิตจีน ที่ยังตามหลังประเทศอื่นอยู่มาก แม้ว่าจะมีความได้เปรียบด้านราคาสินค้าที่จับต้องได้ก็ตาม

ขณะเดียวกัน จีนเองก็พบความท้าทายในประเทศไม่น้อย นั่นก็คือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่เน้นภาคการส่งออก โดยเฉพาะจากฉายาที่เรารู้จักกันดีว่าเป็น ‘โรงงานของโลก’ มาเป็นการผลิตสินค้าชั้นสูงเหมือนประเทศพัฒนา เน้นการผลิตสินค้านวัตกรรม และเร่งการบริโภคภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น

ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจจีนนับจากนี้ จะเอาอย่างไรต่อ? เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน 5 ปีฉบับที่ 13 เริ่มไม่ตอบโจทย์กับปัญหาที่เกิดขึ้น คำตอบของจีนจึงเป็นการสร้างแผนใหม่ นั่นคือ ‘แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14’ ที่ถือว่าเป็นแผนเศรษฐกิจสำคัญที่จะนำพาจีนก้าวสู่การเติบโตครั้งใหม่ได้อีกครั้ง

[ จีนเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (หนักขึ้นอีก) ]

อย่างที่เรารู้ แม้ว่าจีนจะเป็นประเทศที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของจีนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 นี้ก็ยังมีการลงทุนในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น

– การลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเช่น การถ่ายทอดสัญญาณภาพระดับ 4K หรือ 8K เทคโนโลยีอย่าง AR/VR 

– นอกจากลงทุนในระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับ 5G และยังมีการพัฒนาและวิจัยในเรื่องของเทคโนโลยี 6G รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ อย่างเช่น ดาวเทียม IoT หรือแม้แต่การสื่อสารไร้สายประเภทอื่นด้วย 

ในแผนใหม่นี้ จีนยังจะขยายความเร็วของอินเตอร์เน็ตในระดับกิกะบิตตามเมืองต่างๆ ให้มากขึ้น ทั้งในเมืองใหญ่และพื้นที่เมืองรอง หรือแม้แต่ชนบทก็ต้องมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแค่นั้นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอนาคตก็ต้องมีการวางแผนในการอัพเกรดระบบดังกล่าวง่ายขึ้นมากกว่าเดิมด้วย

นอกจากนี้ จีนยังมีแผนการพัฒนาศูนย์ข้อมูลเอาไว้สำหรับเน้นการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก หรือ Big Data ให้เชื่อมต่อระหว่างมณฑล ขณะเดียวกันก็รวมถึงการเชื่อมต่ออื่นๆ ของบริการภาครัฐ อย่างเช่น Beidou System ซึ่งเปรียบเสมือนระบบนำทางในประเทศจีน (ระบบเดียวกับ GPS) 

รัฐบาลจีนมองว่าการเสริมแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลนั้นจะช่วยต่อยอดให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ ของจีนได้อีกมาก

[ ภาคอุตสาหกรรมจีนจะต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ]

สิ่งหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมของจีนนั้นยังเสียเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วนั่นก็คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในภาคการผลิตมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ลดความสูญเสียในภาคการผลิต นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ภาคการผลิตของจีนเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้อีกด้วย 

โดยแผนการดังกล่าวนี้ ในรายละเอียดนั้นประกอบไปด้วย การเชื่อมต่อของโรงงานต่างๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้มีหลากหลายส่วนภาคอุตสาหกรรม หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเดียวกัน ที่ไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำจนถึงปลายน้ำเชื่อมต่อกัน 

ขณะเดียวกันภาครัฐของจีนเองก็จะสนับสนุนผู้นำในภาคการผลิต รวมถึงมีความพยายามในการบูรณการภาคการผลิตให้มีการแบ่งปันทรัพยากรมากขึ้น จีนต้องการให้ประสานงานระหว่างกันโดยใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง

การเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมของจีน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งนั้น ถือว่าเป็นงานใหญ่ และท้าทายไม่น้อย เพราะว่าหลายอุตสาหกรรมเองจะต้องมีการลงทุนเครื่องจักร หรือแม้แต่จะต้องติดตั้งระบบใหม่ เพื่อที่จะทำให้เข้ากับแผนการใหม่ของรัฐบาลจีน

[ เปลี่ยนจากโรงงานโลก เป็นโรงงานนวัตกรรม พัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ ]

อย่างที่เราทราบกันว่า จีนเป็นโรงงานของโลก ผลิตสินค้าหลากหลายชนิด และยังทำให้สินค้ามีราคาถูก แต่สินค้าของจีนที่ราคาถูกและหลากหลาย แต่ตัวของสินค้าเองจำนวนไม่น้อยยังมีคุณภาพที่ต่ำ เมื่อเทียบกับสินค้าของอีกหลายประเทศทั่วโลก

ที่หนักกว่านั้น สินค้าจำนวนมากที่ผลิตในจีน ในระยะยาวก็ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจมากนัก

นี่จึงเป็นที่มาที่ว่า หลังจากนี้ จีนเองจะต้องการขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคการผลิต เพื่อทำให้สินค้าจีนมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาคุณภาพที่สูงขึ้น จะทำให้สินค้าจีนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในระดับโลก

แผนการที่จีนจะทำหลังจากนี้ คือส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ลงลึกไปถึงการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย และองค์กรต่างๆ และเพิ่มความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างหน่วยงาน 

ขณะที่ในภาคการผลิตนั้น รัฐบาลจีนมีแผนที่จะพยายามยกระดับฐานอุตสาหกรรม ปรับความทันสมัยของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมถึงสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรม และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในด้านการค้าเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฝั่งผู้ผลิตด้วย

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • ถ้ายังจำแผน Made in China 2025 ที่จะเปลี่ยนจีนให้เป็นประเทศที่มีภาคการผลิตที่แข็งแกร่งภายในปี 2025 แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 นี้ถือว่าเป็นอีก 1 แรงผลักดันทางด้านนโยบายที่จะทำให้จีนไปถึงเป้าหมายดังกล่าวให้ได้ แม้ว่าจีนจะประสบปัญหากับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม
  • ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 จีนยังใช้รัฐวิสาหกิจเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจจีนนอกจากภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่มีความอ่อนไหว เช่น ในเรื่องของการพัฒนาด้านเซมิคอนดักเตอร์ ด้านของ AI หรือแม้แต่ด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์ เราอาจได้เห็นบทบาทของรัฐวิสาหกิจเพิ่มมากขึ้น
  • ขณะเดียวกันเราจะเห็นภาคการผลิตของจีนจริงจังกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น เช่น การดูแลเรื่องการปล่อยก๊าซพิษต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสภาวะแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน รวมถึงการผลักดันให้ภาคการผลิตใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
  • ไม่เพียงเท่านั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 ยังจะเน้นให้จีนมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นกว่าในอดีต ปัจจุบันผลิตภาพแรงงานของจีนยังตามหลังประเทศพัฒนาในหลายประเทศ เช่น เยอรมัน หรือแม้แต่ญี่ปุ่น

เราจะเห็นว่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 ของจีนถือว่าเป็นการต่อยอดแผน Made in China 2025 นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาจุดอ่อนในภาคการผลิตของจีนที่ต้องปรับปรุงอีกมาก

อย่างไรก็ดี แผนการนี้ถือว่าเป็นแผนที่ใหญ่และต้องใช้เวลาในการพัฒนา แถมยังมีความสุ่มเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยี หรือแม้แต่ประเด็นสำคัญอย่างสังคมผู้สูงอายุในจีน 

ถ้าหากแผนนี้ จีนทำได้สำเร็จ ก็จะเปิดหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจจีนครั้งใหม่ได้เลยทีเดียว แต่ถ้าหากแผนการนี้ล้มเหลว หรือทำได้เพียงแค่บางส่วน ก็อาจมีคำถามต่อไปว่า เศรษฐกิจจีนจะไปในทิศทางใดหลังจากนี้

ที่มา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า