SHARE

คัดลอกแล้ว

จำนวนประชากรของจีนลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี ตอกย้ำคาดการณ์อินเดียจะแซงหน้า เป็นประเทศมีประชากรมากที่สุดในโลกปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยข้อมูลประชากรทั่วประเทศ พบว่า ในปี 2022 จีนมีประชากรลดลงราว 850,000 คน เหลือราว 1.41175 พันล้านคน นับเป็นการหดตัวลงมากสุดนับตั้งแต่ปี 1961 ซึ่งอยู่ในช่วงที่จีนเผชิญกับภาวะอดอยากครั้งใหญ่ในปี 1959-1961 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 55 ล้านคนในขณะนั้น 

โดยอัตราการเกิดของประชากรจีนในปี 2022 อยู่ที่เพียง 6.77 ต่อประชากร 1,000 คน ลดลงจากปี 2021 ซึ่งมีอัตราเกิดอยู่ที่ 7.52 ต่อประชากร 1,000 คน อีกทั้งยังเป็นอัตราการเกิดที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนอัตราการเสียชีวิตของประชากรจีนเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 7.37 ต่อประชากร 1,000 คน นับเป็นอัตราส่วนสูงสุดตั้งแต่ปี 1974 ซึ่งจีนอยู่ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม และเพิ่มขึ้นจากปี 2021 ซึ่งจีนมีอัตราการเสียชีวิตของประชากรอยู่ที่ 7.18 ต่อ 1,000 คน

ข้อมูลดังกล่าวได้สร้างความกังวลว่า อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของการหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนและทั่วโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ 

แม้แต่นักประชากรศาสตร์ของจีนเอง ก็แสดงความกังวลถึงเรื่องนี้ว่า จะทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว จากรายได้ที่ลดลงและหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและสวัสดิการที่เพิ่มสูงขึ้น 

“แนวโน้มทางประชากรและเศรษฐกิจของจีนดูมืดมนกว่าที่คาดไว้มาก จีนจะต้องปรับนโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ การป้องกันประเทศ และการต่างประเทศ” อี่ ฝูเซี่ยน นักประชากรศาสตร์ของจีนอธิบาย พร้อมเสริมว่า สิ่งนี้จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก เนื่องจากกำลังแรงงานและการผลิตที่ลดลงของจีน จะทำให้ค่าใช้จ่ายและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และยุโรปเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

ข้อมูลที่ทางการจีนเปิดเผยออกมาล่าสุดนี้ ยังเป็นการตอกย้ำการคาดการณ์ที่มีมาก่อนหน้านี้ว่า อินเดียจะแซงหน้าจีน ก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปี 2023 นี้ ขณะที่เว็บไซต์ World Population Review ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมข้อมูลประชากรทั่วโลก ก็ยืนยันความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าอาจจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ 

World Population Review ได้จัดอันดับ 10 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกขณะนี้ (ข้อมูล วันที่ 17 ม.ค.) พบว่า จีนยังคงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรทั้งประเทศจำนวน 1,425,833,091 คน 

อันดับ 2 อินเดีย มีประชากร 1,422,627,451 คน 

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มีประชากร 339,163,650 คน 

อันดับ 4 อินโดนีเซีย มีประชากร 276,490,868 คน

อันดับ 5 ปากีสถาน มีประชากร 238,340,913 คน

อันดับ 6 ไนจีเรีย มีประชากร 221,395,290 คน

อันดับ 7 บราซิล มีประชากร 215,858,688 คน

อันดับ 8 บังกลาเทศ มีประชากร 172,155,188 คน

อันดับ 9 รัสเซีย มีประชากร 144,671,379 คน

อันดับ 10 เม็กซิโก มีประชากร 128,027,032 คน

ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 20 มีประชากร 71,758,128 คน

ขณะเดียวกัน World Population Review ยังคาดการณ์ว่า อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนในปีนี้ โดยประชากรของอินเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่ประชากรจีนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน

โดยข้อมูลในกราฟด้านบน ชี้ให้เห็นว่าจำนวนประชากรในอินเดีย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ ในปี 2023 อินเดียจะมีประชากรจำนวน 1,428 คน และจะเพิ่มขึ้นไปจนถึง 1,670 คนในปี 2050 ขณะที่จำนวนประชากรจีนเริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป และในปี 2050 คาดว่าประชากรจีนจะเหลือเพียง 1,312 คน 

 

ที่มา : Reuters, World Population Review

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า