SHARE

คัดลอกแล้ว

China Railway No.10 Engineering Group กำลังเป็นที่จับตาหลังปรากฏเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่พังถล่มจากผลกระทบของแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันศุกร์ (28 มี..) ร่วมกับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อกิจการร่วมค้า ไอทีดีชีอาร์อีซี

ทันทีที่มีการเปิดเผยชื่อบริษัทที่ดำเนินการก่อสร้างนี้ออกมา ทำให้เกิดคำถามตามมามากมายว่า ทำไมถึงมีชื่อบริษัทจีน มาเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการของหน่วยงานราชการไทย จนลุกลามเป็นความข้องใจหลายเรื่อง เช่น สาเหตุที่อาคารถล่มเป็นเพราะการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ นำไปสู่การขุดคุ้ยที่มาที่ไปของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่ปรากฎชื่อเป็นกิจการร่วมค้ากับอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์

 

ชำแหละกิจการร่วมค้า ไอทีดีชีอาร์อีซี

กิจการร่วมค้า ไอทีดีชีอาร์อีซี เป็นบริษัทจดทะเบียนร่วมทุนไทยจีน ระหว่าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด กับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) มีนายชวนหลิง จาง และนายโสภณ มีชัย เป็นกรรมการ และผู้ถือหุ้นประกอบด้วย 

– China Railway No.10 Engineering Group จากจีน ถือหุ้น 49%

นายโสภณ มีชัย   40.80%

นายประจวบ ศิริเขต  10.20%

นายมานัส ศรีอนันท์ 1 หุ้น

จากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท จดทะเบียนในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561

บริษัทลูกรัฐวิสาหกิจใหญ่จีน

จากข้อมูลด้านบน ความน่าสนใจของเรื่องนี้ คือ China Railway No.10 Engineering Group ที่มาจดทะเบียนร่วมทุนกับธุรกิจไทย จริงๆ แล้วเป็นบริษัทย่อยของ China Railway Engineering Corporation (CREC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของจีน หรือพูดง่ายๆ CREC ก็คือกลุ่มบริษัทรัฐบาลจีนถือหุ้นใหญ่อยู่

โดย CREC ถูกจัดอยู่ในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ทำธุรกิจหลากหลายประเภทตั้งแต่การผลิตเครื่องจักรรับเหมาก่อสร้างการสำรวจออกแบบทางวิศวกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปจนถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่และธุรกิจด้านการเงิน

บริษัทใช้รูปแบบการดำเนินธุรกิจตามโมเดลรัฐวิสาหกิจคือรัฐบาลจะถือหุ้นใหญ่ในบริษัทแม่และมีการแตกย่อยออกเป็นบริษัทลูกอีกหลายบริษัทเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

โดยในประเทศจีน CREC รับหน้าที่หลักในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของทางรถไฟทั่วประเทศจีน และยังเป็นผู้ดำเนินการสร้างระบบรถไฟฟ้า และทางด่วนอีกหลายเส้นทาง

นอกจากนี้ CREC ยังมีชื่ออยู่ในทำเนียบ Fortune Global 500  ซึ่งเป็นการจัดอันดับบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 500 บริษัท โดยจากข้อมูลในเว็บไซต์ของบริษัท ระบุว่า CREC อยู่ในทำเนียบ Fortune Global 500 มาถึง 17 ปีติดต่อกัน เมื่อปี 2022 บริษัทอยู่ในอันดับที่ 34 และอยู่ในอันดับ 5 ของบริษัทจีนทั้งหมดที่ติดอันดับบริษัทใหญ่ที่สุดในโลก

 

สยายปีกธุรกิจทั่วโลก

ความน่าสนใจของ CREC คือกลุ่มบริษัทในเครือไม่ได้รับงานแค่ในประเทศจีนเท่านั้นแต่ยังออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก

เช่น China Railway No.10  หรือชื่อภาษาจีนว่าจงเถี่ยสือจวี๋ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในบ้านเราตอนนี้ มีโครงการที่เคยทั้งทำและกำลังทำอยู่ในต่างประเทศหลายโครงการ

จากการย้อนไปดูผลงานของบริษัทนี้ในประเทศต่างๆ มีทั้ง โครงการที่บริษัทเข้าไปทำ ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบราง และโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในหลายประเทศ อย่างเช่น โครงการรถไฟในเวเนซุเอลา และโบลิเวีย ที่ประสบความสำเร็จเรียบร้อย

อย่างไรก็ตาม จุดที่ต้องสังเกตคือ ในหลายๆ โครงการที่ China Railway No.10 ไปดำเนินการในต่างประเทศ พบว่า เคยมีโครงการที่มีปัญหาถึงขั้นพังถล่มในระหว่างการก่อสร้างมาแล้ว

ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ที่สะพาน Sigiri ซึ่งกำลังก่อสร้างในเคนยาพังถล่มตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จ และอีกเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก คือ หลังคาคอนกรีตสถานีรถไฟในเซอร์เบียถล่ม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 16 คน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเซอร์เบียบานปลายเป็นเรื่องใหญ่จนเกิดการประท้วงหลายครั้งล่าสุดเพิ่งมีการประท้วงเกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากมวลชนชาวเซอร์เบียไม่พอใจรัฐบาลและมองว่าต้นเหตุของโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชันปล่อยปะละเลยไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการด้านความปลอดภัย

ข้อกังขาเรื่องความโปร่งใส

ปัญหาความผิดพลาดที่เกิดขึ้ยหลายครั้งในหลายประเทศ ส่งผลให้ CREC ถูกตั้งคำถามมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทในเครือรัฐวิสาหกิจจีน

เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ เมื่อปี 2016 มีข้อถกเถียงเกิดขึ้นมาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายตรงข้าม ถึงความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างบริษัท China Railway No. 3 Engineering Group ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ CREC มารับสัมปทานโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชายแดนทางเหนือ

โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ยอมตรวจสอบประวัติของบริษัทที่มารับสัมปทานให้รอบคอบ เนื่องจากมีฝ่ายตรงข้ามไปขุดคุ้ยเจอว่า บริษัทแม่ของ China Railway No. 3 Engineering Group ที่รัฐไปลงนามด้วย เคยมีประวัติจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่เพื่อคว้าสัญญางานของรัฐ จนทำให้ถูกกองทุนน้ำมันของนอร์เวย์ขึ้นบัญชีดำไปก่อนหน้านี้

ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลสกอตแลนด์ตั้งคำถามขึ้นมาว่ารัฐบาลไม่รู้เรื่องพฤติกรรมติดสินบนของรัฐวิสาหกิจก่อนจะตัดสินใจลงนามจริงหรือและมั่นใจได้อย่างไรว่าบริษัทที่ลงนามไปด้วยนั้นมีความน่าเชื่อถือจริงๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า