Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่ใช่แค่ไทยที่กำลังเผชิญปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนเข้าถล่มตลาดจนผู้ประกอบการไทยแขนขาอ่อนแรงลามมาถึงการจ้างงานที่ได้รับผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ จากพายุสินค้าถูกของจีน

ในอินโดนีเซียก็ไม่ได้ต่างกัน มีรายงานว่านับตั้งแต่ TikTok Shop เปิดตัวในประเทศตั้งแต่ 3 ปี ก่อน และขายสินค้าราคาถูกจากจีนบนแพลทฟอร์ม ส่งผลให้ภาคธุรกิจสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าในอินโดนีเซียช็อตฟีลตั้งรับไม่ทันกับการบุกของจีน

ปีนี้แรงงานในอินโดนีเซียราว 49,000 คน ในธุรกิจกลุ่มนี้ มีรายงานว่าถูกเลิกจ้างจากโรงงานต่างๆ และบางโรงงานก็ปิดตัวลง

สถานการณ์จากสาเหตุคล้ายคลึงกับไทยนี้เกิดขึ้นทั่วอาเซียน รัฐบาลอินโดฯ ต้องเผชิญหน้ากับภาคธุรกิจสิ่งทอในประเทศที่เรียกร้องให้ออกมาแก้ปัญหาสินค้าจีนขายตัดราคาบนแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซจนผู้ประกอบการในประเทศจะอยู่กันไม่ได้

วิธีแก้ของอินโดฯ ไม่ได้แตกต่างจากประเทศอื่นๆ คือ การพิจารณาจัดเก็บภาษีนำเข้าบางประเภทให้สูงถึง 200% ซึ่งภาษีนำเข้าใหม่นี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อรับมือกับการนำเข้าสินค้าของจีนที่จะมาขายราคาถูกไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เซรามิก เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ขณะที่ปีที่แล้วอินโดฯ สามารถส่งออกโลหะไปจีนได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกินดุลในสินค้ากลุ่มนี้ได้ แต่ถ้าตัวเลขภาพรวมก็ยังขาดดุลการค้ากับจีนอยู่

ทางด้านมาเลเซียเมื่อต้นปี รัฐบาลออกมาใช้มาตรการจัดเก็บภาษีการขาย 10% กับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศที่ส่ังซื้อทางออนไลน์ในราคาต่ำกว่า 500 ริงกิต (ราวๆ 3,800 บาท) โดยก่อนหน้านี้สินค้าในราคาที่ต่ำกว่านี้ได้รับการยกเว้นภาษีการขายและภาษีนำเข้า ซึ่งภาคเอกชนมาเลย์บอกว่า ภาษี 10% ที่จัดเก็บไม่ได้มีผลกระทบต่อสินค้าราคาถูกจากจีนที่เข้ามาเท่าไหร่นัก

นอกจากนี้ประเด็นนี้ก็ยังถูกตั้งคำถามในที่ประชุมรัฐสภามาเลเซียว่าจะหาทางแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งรัฐบาลมาเลย์บอกว่ากำลังจะมีมาตรการเยียวยาให้เอสเอ็มอีที่ได้รับผลระทบ

เช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT 7% สำหรับสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีมูลตค่าต่ำกว่า 1,500 บาท

เวลาพูดเรื่อง ‘จีน’ มองทางบวกประเทศในอาเซียนต่างก็หวังจะได้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของจีนในเรื่องการท่องเที่ยว และปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายประเทศในอาเซียนก็พึ่งพาตลาดจีนในการส่งออก รวมทั้งก็ต้องการการลงทุนโดยตรงจากจีนด้วยเช่นกัน

แต่ตอนนี้สินค้าจีนที่ผลิตได้มากจนต้นทุนถูกมาก (Economies of Scale) แต่การบริโภคกำลังซื้อภายในจีนเองซบเซา ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจของจีนและแรงบริโภคในประเทศของคนจีนที่ชะลอตัวลงนั้น ทำให้สินค้าเหล่านี้ถูกส่งออกมาขายนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในประเทศอาเซียน

สำหรับประเทศไทยถ้าพูดถึงสินค้าส่งออกอย่างเดียวที่ได้ดุลจีนก็คือ ‘ทุเรียน’ ส่วนสินค้าอื่นๆ ภาพรวมไทยขาดดุลมากกว่า

และไม่ได้แค่ขาดดุลธรรมดา แต่ขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก มีสัญญาณความกังวลออกมาแล้วจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่มีสมาคมธนาคารไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า การขาดดุลการค้าระหว่างไทยกับจีน 6 เดือนแรกของปีนี้ (2567) ไทยนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้าจีน 19,967.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.66%

การขาดดุลนี้ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมภาคการผลิตของไทย 23 กลุ่ม ได้รับผลกระทบมาก

กลุ่มสินค้าที่ไทยขาดดุลกับจีนมากที่สุด คือ สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานยนต์ สินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักรและอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์ เคมีภัณฑ์ เบ็ดเตล็ด ของเล่น เครื่องเกม

แน่นอนว่า การทยอยปิดตัวของโรงงานเกิดขึ้นและส่งผลต่อแรงงานที่ตกงานจากการถูกเลิกจ้าง และอีกส่วนคือโรงงานปิดตัว

นอกจากนี้การเข้ามาเปิดตลาดในไทยของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายดังของจีนล่าสุด ขายสินค้าจากโรงงานตรงในราคาถูก ยิ่งกดดันและซ้ำเติมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่สามารถแข่งขันได้ ไม่ว่าจะด้านราคา และต้นทุนการผลิต ที่อุตสาหกรรมไทยมีต้นทุนสูงกว่าจีน

การที่จีนนำสินค้าผลิตส่วนเกินราคาถูกมาบุกตลาด ทำให้รายได้ภายในประเทศของผู้ประกอบการไทยลดลง และมีผลเป็นลูกโซ่ต่อการจ้างงาน

ตอนนี้รัฐบาลในประเทศอาเซียนมีปัญหาร่วมตรงกันจากสินค้าจีนราคาถูกที่สร้างปัญหา ทั้งกับผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตในประเทศ และจีนก็มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ใหญ่ที่สุดผ่านแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

เรื่องนี้ก็ไม่ได้จะแก้ง่ายๆ เมื่อจีนเองก็กำลังเผชิญเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และบริษัทในจีนก็ต้องการระบายสินค้าในสต๊อกของประเทศออกไป ทำให้มีการส่งออกมาในราคาที่ต่ำมาก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นกลยุทธ์การลงทุนและกระจายความเสี่ยง แต่ก็ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่ขยายวงกว้างขึ้น

ถ้าไปดูตัวอย่างเกาหลีใต้ ประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของเอเชีย ก็บันทึกการขาดดุลการค้ากับจีนเป็นครั้งแรกในรอบ 31 ปี เช่นกัน

แม้บริษัทในเกาหลีใต้จะเป็นผู้นำด้านสินค้าไฮเทค อย่างเซมิคอนดัคเตอร์ แต่สัญญาณบ่งชี้ว่าผู้บริโภคในประเทศกำลังมองหาทางเลือกที่ถูกกว่าเวลาจะซื้อสินค้าพื้นฐานทั่วไป เช่น ของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า เครื่องประดับ นั่นจึงเป็นโอกาสที่สินค้าจีนก็เข้ามาขายราคาถูกในเกาหลีใต้เช่นกัน

วิธีของเกาหลีใต้ไม่ได้ใช้การจัดการเบรกสินค้านำเข้าจากจีน แต่รัฐบาลใช้วิธีเร่งขยายข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่กับจีน และเร่งเจรจาข้อตกลงสามฝ่าย (มีญี่ปุ่นด้วย) เพื่อให้มีการส่งออกนำเข้าที่มีอำนาจต่อรองขึ้น

นอกจากนี้เกาหลีใต้ก็แก้ปัญหาดุลการค้าที่ขาดดุลกับจีนบางส่วนด้วยการให้ความสำคัญกับทางฝั่งสหรัฐ และยุโรปมากขึ้น โดยให้ความสำคัญระดับที่ตอนนี้อเมริกาขึ้นเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนเน้นความสำคัญตลาดส่งออกไปทางตะวันตกแทนเพื่อให้ตัวเลขขาดดุลกับจีนลดลง

กลับมาดูที่ไทยตอนนี้การขาดดุลการค้าของไทยกับจีนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แบบที่ถ้าวาดเส้นกราฟ นำเข้ากับส่งออกเทียบกัน จะเห็นว่า เส้นกราฟนำเข้าจากจีน สูงทิ้งห่างเส้นกราฟส่งออกไปจีนแบบถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า