Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เราอยู่ในยุคที่แทบจะแยกการเงินออกจากเทคโนโลยีไม่ได้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกส่วน ลงลึกไปถึงระดับความสัมพันธ์ เทคโนโลยีใหม่ทางการเงินอย่างบล็อกเชนมาพร้อมกับแนวคิดเรื่องการกระจายอำนาจ (decentralization) ชูแนวคิดเรื่องอำนาจทางการเงินไม่กระจุกตัวอยู่ที่รัฐหรือสถาบันใดสถาบันหนึ่ง 

แต่โลกในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้มีแค่ภาพนั้น สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือการที่ชาติมหาอำนาจระดับโลกลงมาเล่นด้วย ล่าสุด จีนสั่งแบนบิทคอยน์ ผลักดันเงินหยวนดิจิทัล ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ทำดอลลาร์ดิจิทัล จนนำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วอนาคตของบิทคอยน์ที่ไม่มีรัฐหนุนหลังจะเป็นอย่างไร

เราจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างไร TODAY Bizview สรุปการพูดคุยจากงานเสวนาใครชี้ขาดอนาคตการเงินโลกโดย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับ สรวิศ ศรีนวกุล CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Band Protocol สตาร์ทอัพคริปโตฯ ชั้นนำระดับโลก

ดร.อาร์ม: ระบบการเงินโลกเปลี่ยนแปลงไปมากในรอบ 5-6 ปี?

สรวิศ: นี่คือการเปลี่ยนแปลงไปถึงระดับความสัมพันธ์ ในโลกยุคก่อนเราถือเงินบาท เงินดอลลาร์ มันหมายความว่าเราเชื่อใจรัฐบาล เราเชื่อใจสถาบันทางการเงิน

แต่บิทคอยน์ คริปโตมันมาพร้อมกับเทคโนโลยีอย่างบล็อกเชน ซึ่งหมายความว่า มันมาพร้อมกับความไม่เชื่อใจในรัฐบาลและสถาบันทางการเงินด้วย มันคือการ decentralization และเราเชื่อใจโค้ด เราจะส่ง จะโอนเงินให้ใคร ก็ไม่มีใครมาหยุดหรือมาห้ามเราได้

คอนเซปต์นี้มันทรงพลัง (powerful) มาก

ดร.อาร์ม: อยากให้ใส่หมวกของสี จิ้นผิง แล้ววิเคราะห์ดูหน่อยครับว่า ทำไมจีนถึงต้องแบนบิทคอยน์?

สรวิศ: ง่ายๆ เลยคือจีนต้องการควบคุม (control) เขาต้องการควบคุมทุน (capital) และเงิน (money) นั่นคือเป้าหมายหลัก บิทคอยต์ทำให้รัฐบาลจีนมองว่า ควบคุมไม่ได้ เขาเลยไม่ชอบ ง่ายๆ แบบนี้เลย 

คือมันเป็นสองขั้วที่ต่างกันมากๆ จีนต้องการควบคุม ส่วนบิทคอยน์โดยตัวของมันเองไม่อยากถูกควบคุม เอาจริงๆ แล้ว จีนแบนบิทคอยน์บ่อยมาก แต่สุดท้ายก็แบนไม่ได้อยู่ดี จีนแบนทุกปี แต่ก็ได้แค่ชะลอลงเท่านั้น

และแม้ว่าครั้งนี้ จีนจะแบนอย่างจริงจัง แต่ก็อาจจะกระทบต่ออุตสาหกรรมอยู่บ้างในระยะสั้น เช่น กระทบราคาอย่างแน่นอน เพราะด้วยความที่อุตสาหกรรมนี้มันใหม่ ผันผวนสูงอยู่แล้ว การมีข่าวเหล่านี้มักสร้างความไม่แน่นอน

แต่ถ้าเรามองในระยะยาว มันจะเป็นภาพของการที่ “ยิ่งตี ยิ่งโต” เพราะแม้ว่ารัฐบาลจะสั่งแบน แต่ในเมื่อตลาดยังมีความต้องการ ก็ได้เกิดกระจายความเสี่ยงออกไปในหลากหลายพื้นที่ ดูได้จากสมัยก่อนการขุดบิทคอยน์จะอยู่ในจีนถึง 50% เดี๋ยวนี้กระจายออกไปแล้ว ไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา 30 ส่วนคาซัคสถานก็มาแรงมาก รวมถึงรัสเซียด้วย

พูดให้ถึงที่สุดก็คือ จีนแบนไม่ได้ จริงอยู่ที่ราคาอาจจะตกตอนแบน แต่หลังจากนั้นราคาก็พุ่งกลับขึ้นมาได้อีก

แต่ถ้าวิเคราะห์กันจริงๆ เหตุผลหลักๆ ที่ถ้าถามว่าทำไมจีนต้องแบนในช่วงนี้ คำตอบคือ จีนต้องการผลักดัน “หยวนดิจิทัล”

ถ้าติดตามข่าวในจีน ก่อนหน้าหยวนดิจิทัล ในจีนเขาก็มีการทำสังคมไร้เงินสด (cashless society) กันอยู่แล้ว แต่ประเด็นที่สำคัญ ทำไมต้องเป็นหยวนดิจิทัล?

ความแตกต่างของเรื่องนี้คือเงินที่โปรแกรมได้ (programmable money) ยุคหลังจากนี้คือใครคุมเงิน คุมข้อมูลได้ นี่คือเรื่องใหญ่ นี่เองที่เป็นสาเหตุที่จีนกังวลเรื่องนี้ รัฐบาลจีนอยากเล่นเกมนี้ด้วยตัวเอง

ลองย้อนกลับไปดูกรณี Ant IPO นี่ก็เรื่องเดียวกัน เพราะอนาคตของโลกทางการเงินคือข้อมูล พลังของ Alibaba จะยิ่งใหญ่เกินไป มีทั้งพลังทุน มีทั้งพลังข้อมูล

ในแง่นี้ หยวนดิจิทัลจึงเป็นความต้องการของรัฐบาลจีนที่ต้องการเข้ามาทำเอง ต้องการคุมทั้งหมด มันเป็นสไตล์ของจีนอยู่แล้ว

การทำแบบนี้ในแง่หนึ่งก็เป็นประโยชน์ รัฐบาลจีนสามารถบอกได้เลย สมมติเกิดวิกฤต ในอดีตการที่รัฐบาลอยากจะแจกเงินก็ยาก แต่ถ้าควบคุมเงิน ควบคุมข้อมูล เงินที่โปรแกรมได้ มันจะทำให้รัฐบาลคุมได้หมด จะแจกเงินให้ใครเท่าไหร่ แล้วคนนั้นจะเอาเงินไปทำอะไรต่อ จะเอาไปรวมกันฐานข้อมูลใน Social Credit System ก็ทำได้ รัฐบาลรับรู้ข้อมูลทั้งหมดได้

BEIJING, CHINA – MARCH 25: Chinese President Xi Jinping accompanies Armenian President Serzh Sargsyan to view an honour guard during a welcoming ceremony inside the Great Hall of the People on March 25, 2015 in Beijing, China. (Photo by Feng Li/Getty Images)

ดร.อาร์ม: แล้วรัฐบาลจีนจะกินรวบเลยไหม?

สรวิศ: คิดว่าไม่ เพราะถึงที่สุดรัฐบาลจีนยังอยากได้ประสิทธิภาพในเรื่องของนวัตกรรมอยู่ เพียงแต่ว่าเป้าหมายที่ชัดเจนคือรัฐบาลจีนต้องการคุม แต่คุมในแบบที่ยังทำให้เกิดนวัตกรรมต่อไปได้ อันนี้คือโจทย์ของจีน

ดร.อาร์ม: แล้วฝั่งสหรัฐฯ เขาไม่กลัว หรือไม่อยากคุมเหมือนจีนหรือ? ฝั่งสหรัฐฯ คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ คิดเหมือนจีนหรือไม่? สหรัฐฯ จะแบนบิทคอยน์บ้างไหม?

สรวิศ: แตกต่างอย่างมาก สหรัฐฯ คิดไม่เหมือนจีน อย่างไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา Gary Gensler ประธานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) บอกว่า จะไม่แบนบิทคอยน์ 

เพราะถ้าศึกษากันจริงๆ บิทคอยน์ไม่ได้มีขึ้นเพื่อแข่งขันกับสกุลเงินอย่างดอลลาร์ หยวน หรือแม้กระทั่งทองคำ บิทคอยน์มีขึ้นเพื่อ decentralize ต่างหาก

สิ่งที่ภาครัฐหรือสถาบันทางการเงินของสหรัฐอเมริกาต้องการหาทางป้องกันคือพวก stablecoin ต้องเข้ามากำกับ (regulate) เพราะเป้าหมายสูงสุดของฝั่งนี้คือ ไม่อยากให้เกิดเหตุไม่คาดคิด หรือล้ม แล้วจะกระทบผู้คนส่วนใหญ่ในวงกว้าง

วิธีคิดที่ต่างกันระหว่างฝั่งสหรัฐฯ กับจีนอยู่ตรงนี้ สหรัฐฯ ต้องการทำอย่างไรก็ได้ให้ไม่กระทบผู้คนและยังหาเงินเข้ารัฐได้ ส่วนจีนเขาต้องการคุมทุกอย่าง

ผมคิดว่าสหรัฐจะหาทางอยู่ร่วมกับมัน คล้ายๆ อินเทอร์เน็ตช่วงแรกๆ ถ้าแบนไม่ได้ ก็ต้องหาทางกำกับ (regulate) และถ้ากำกับดีๆ นวัตกรรมก็จะเกิดขึ้นได้

PARIS, FRANCE – FEBRUARY 16: In this photo illustration, a visual representation of digital cryptocurrencies, Bitcoin, Ripple, Ethernum, Dash, Monero and Litecoin is displayed on February 16, 2018 in Paris, France. Digital cryptocurrencies have seen unprecedented growth in 2017, despite remaining extremely volatile. (Photo Illustration by Chesnot/Getty Images)

ดร.อาร์ม: สุดท้ายแล้ว ใครจะชนะในศึกนี้ ศึกแห่งอนาคตของการเงินโลก จะเป็นดอลลาร์ของสหรัฐฯ หยวนของจีน หรือบิทคอยน์ที่ไม่มีรัฐหนุนหลัง

สรวิศ: คือภาพใหญ่ของโลกเรา มันจะเชื่อมต่อถึงกันหมด (interconnected) โลกมันหมุนไปด้วยโลกาภิวัตน์และอินเทอร์เน็ต โลกยุคก่อน มันแยกขาดกัน แต่ยุคใหม่มันเชื่อมต่อกันหมดแล้ว

ยุคนี้เราจะเคลื่อนย้ายอะไรก็ง่าย และมันไม่ใช่แค่เคลื่อนย้ายเงินประเทศ แต่แม้กระทั่งย้ายในมุมของคน คือย้ายประเทศ ก็ทำได้ สุดท้ายแล้ว ผมมองว่า รัฐบาลก็เหมือนธุรกิจ สุดท้ายก็ต้องการคน เพราะคนจ่ายภาษี ทุกรัฐบาลต้องแข่งกันเพื่อแย่งคนเก่ง

ถ้าพูดในมุมของสกุลเงินต่างๆ สกุลเงินของรัฐไม่มีทางหายไป เพราะรัฐบาลยังสนับสนุน และอีกเรื่องคือสังคมจะอยู่ร่วมกันได้ มันต้องมีตัวกลางอยู่ แต่มันจะเชื่อมต่อกันแบบ seamless มากขึ้น คือการย้ายเงินระหว่างประเทศ หรือระหว่างสกุลเงินจะเกิดง่ายขึ้นมากๆ 

แต่ผมคิดว่าหนึ่งในเทรนด์ที่ชัดเจนทั่วโลกคือ คนจะเชื่อใจรัฐบาลน้อยลง คือยุคนี้ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ๆ ไม่มีใครมาบอกว่า จะไม่เชื่อใจบิทคอยน์หรือคริปโตแล้วนะ จากนี้จะหันไปเชื่อมั่นในรัฐบาลแทนแล้วนะ

เทรนด์แบบนี้มันจะทำให้ไม่มีอะไรมารั้งคนไว้ได้ ผมยกตัวอย่าง สมมติผมมีเงินคริปโต แล้วผมอยู่ในประเทศที่อยู่ดีๆ กลายเป็นรัฐล้มเหลว (failed state) แต่ผมถูกสั่งว่า ห้ามเอาเงินหรือทองคำออกนอกประเทศ วิธีเดียวเลยที่ผมจะตั้งต้นชีวิตใหม่คือคริปโต ผมซื้อบิทคอยน์ แล้วเดินข้ามพรมแดน (border) ของประเทศ แล้วไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศใหม่ได้เลย”

นี่คือสิ่งที่ทรงพลังมากๆ และคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญมากขึ้น

ผมอยากบอกว่า ในมุมเทคโนโลยีมันเกิดขึ้นแล้ว แต่สิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือความคิด (mindset) มากกว่า เทรนด์ภาพใหญ่มาทางนี้อยู่แล้ว คนต้องการเสรีมากขึ้น ย้ายไปไหนก็ได้

เพราะฉะนั้น ถ้าสรุปว่าใครจะชนะในศึกการเงินแห่งโลกอนาคต ดอลลาร์ หยวน หรือบิทตอยน์ สุดท้ายมันจะไม่ได้มีผู้ชนะคนใดคนหนึ่ง แต่มันจะเกิดสภาวะที่อยู่ร่วมกัน (co-exist)

ถ้าเรามองคริปโตในระยะสั้น มันจะผันผวน มูลค่าขึ้นๆ ลงๆ อยู่แล้ว เพราะคนจำนวนมากยังไม่เข้าใจ ข่าวยังส่งผลกระทบต่อมูลค่าได้ง่าย

ในระยะกลางและระยะยาว 5-10 ปีต่อไปจากนี้ สถาบันทางการเงินและภาครัฐจะลงมาเล่นด้วยอยู่แล้ว ตัวธุรกิจคริปโตจะเติบโตไปได้อีก 

และถ้าพูดให้ถึงที่สุด วงการคริปโตต้องการสถาบันทางการเงินลงมาเล่นด้วยซ้ำเพื่อที่จะทำให้อุตสาหกรรมโตไปได้อีกมาก

แต่เราในฐานะผู้บริโภคหรือ user สามารถเลือกได้ว่าอยากเก็บเงินในรูปแบบสกุลไหน ดอลลาร์ หยวน บาท หรือคริปโต ก็ทำได้ 

แต่ทั้งนี้ มันก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของเรา ว่าเราเชื่อมั่นในสกุลเงินไหน เราเชื่อมั่นในรัฐบาลไหน ศึกการเงินโลกคือการเข้าถึง ซื้อขายง่าย และความเชื่อมั่นเชื่อใจ ตรงนี้สำคัญมากๆ

“อนาคตกำลังไล่ล่าพวกเรา” นี่คือคำทิ้งทายของดร.อาร์ม ผู้ดำเนินรายการในงานเสวนาครั้งนี้

ชมงานเสวนา Digital Yuan vs Bitcoin ใครชี้ขาดอนาคตการเงินโลก โดยศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ https://www.facebook.com/ChineseStudiesCenterChula/videos/414348350069564 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า