Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันวิจัยสิงคโปร์สำรวจมุมมองคนอาเซียนปีนี้ ถ้าต้องเลือกข้างมหาอำนาจ โหวตให้ ‘จีน’ 50.5% ‘สหรัฐ’ 49.5% เป็นครั้งแรกที่จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ตั้งแต่เริ่มทำแบบสำรวจในปี 2563 และส่วนมากมองจีนเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลมากสุดในอาเซียน

สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ISEAS-Yusof Ishak ซึ่งถือเป็นกลุ่มคลังสมองของสิงคโปร์ได้สำรวจมุมมองระดับภูมิภาคของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าครึ่งหน่ึงบอกว่าต้องการที่จะร่วมมือกับจีนมากกว่าสหรัฐ หากอาเซียนถูกบังคับให้เลือกระหว่างมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่งกัน ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีนในภูมิภาคนี้

โดยผลสำรวจสัดส่วนเลือก ‘จีน’ อยู่ที่ 50.5% สหรัฐ 49.5% เมื่อเทียบกับผลสำรวจปีที่แล้วพบว่า 38.9% ชอบจีน และ 61.1% เลือกสหรัฐ

การสำรวจนี้ถูกเผยแพร่ออกมาเมื่อเดือนเมษายนทีี่ผ่านมา โดยสำรวจจากผู้คนจากรัฐบาลและเอกชน ตลอดจนนักวิชาการและนักวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นจึงเป็นการนำเสนอทัศนคติที่มีอยู่ในกลุ่มผู้ที่อยู่ในบทบาทที่มีอิทธิพลต่อนโยบายในประเด็นระดับภูมิภาค

Danny Quah คณบดีคณะนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า ดูเหมือนว่านี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระแส เพราะเป็นครั้งแรกที่จีนแซงสหรัฐ แต่ถ้าดูข้อมูลพื้นฐานลักษณะยังเป็นเหมือนรูปแบบกระดานหกที่สลับไปมามากกว่าจะบอกได้ชัดว่าเป็นแนวโน้ม

ในบรรดา 10 ประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน ความสอดคล้องกับจีนปรากฎชัดเจนที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจากมาเลเซียที่ 75.1% ตามมาด้วยอินโดนีเซีย และลาวที่ 73.2% และ 70.6% ตามลำดับ

ส่วนสหรัฐได้รับการสนับสนุนจากฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ที่ 83.3% และ 79% ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความตึงเครียดที่ทั้งสองประเทศมีกับจีนจากการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันในทะเลจีนใต้

ผลการสำรวจอื่นๆ ผู้ตอบแบบสอบถาม 59.5% มองว่าจีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดในอาเซียน ซึ่งเหนือกว่าสหรัฐที่ 14.3%

ขณะที่กลุ่มประเทศที่สนับสนุนจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และลาวประเทศเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากโครงการริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง และความสัมพันธ์ทางการค้าที่แข็งแกร่ง ซึ่งจีนเป็นคู่ค้าอันดับต้นๆ ของมาเลเซียมานานกว่าทศวรรษ และลงทุนหลายพันล้านในภาคส่วนสำคัญๆ

เมื่อปีที่แล้วรัฐบาลมาเลเซีย กล่าวว่า Geely ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ถือหุ้น 49.9% ในบริษัท Proton และจะลงทุนราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของมาเลเซีย

ขณะที่ความสัมพันธ์ของอินโดนีเซียระดับผู้นำ ประธานาธิบดีคนล่าสุด ปราโบโว ซูเบียนโต ได้พบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในตำแหน่งประธานาธิบดีหลังชนะเลือกตั้ง ซึ่งอินโดนีเซียได้เปิดทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกที่สร้างร่วมกับจีน

ส่วนลาวตอนนี้บริษัทรัฐของจีนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในลาว ซึ่งจีนเป็นผู้ลงทุนอันดับต้นๆ

ภาพรวมมีการให้ความเห็นว่านโยบายของสหรัฐ ที่มีต่ออาเซียน มี 38.2% รู้สึกว่าระดับการมีส่วนร่วมของสหรัฐกับอาเซียนลดลงภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน

นอกจากนี้การสำรวจพบว่า ชาวอาเซียนส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการเลือกข้างมหาอำนาจ มีเพียง 8% เท่านั้นที่ระบุว่าต้องเลือก เพราะการคงความเป็นกลางนั้นทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ

ส่วนอีก 46.8% ระบุว่าควรให้ความสำคัญกับการเสริมความยืดหยุ่นและความสามัคคีเพื่อต่อต้านแรงกดดันจากทั้งสหรัฐ และจีน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า