SHARE

คัดลอกแล้ว

ในปัจจุบันที่ประเทศส่วนใหญ่ของโลกเริ่มต้นฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชากร คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวัคซีนจากบริษัทสัญชาติจีนมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สำหรับการกระจายวัคซีนไปในหลายพื้นที่

ทางการจีนเผยว่ากำลังส่งออกวัคซีนไปสู่ 27 ประเทศ และบริจาคให้กับ 53 ประเทศ เท่ากับว่าจะมีอย่างน้อย 80 ประเทศในโลกที่นำวัคซีนจากจีนมาใช้ แต่เมื่อทางผู้สื่อข่าวของ AP ติดต่อขอรายชื่อประเทศที่จีนกล่าวอ้าง กลับได้รับคำปฏิเสธกลับมา

สมมุติว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นจริง เมื่อเปรียบเทียบจำนวนประเทศที่จีนตัดสินใจ ‘บริจาค’ ให้แบบฟรีๆ กับประเทศที่จีน ‘ขาย’ ให้ จะเห็นว่าประเทศที่ได้บริจาคนั้นสูงกว่าประเทศที่ต้องเสียเงินซื้อเป็นเท่าตัว

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่วัคซีนกำลังเป็นสินค้าที่มีอุปสงค์ (Demand) สูงมาก ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เหตุใดจีนถึงนำสินค้าเหล่านี้มาแจกฟรีให้กับหลายๆ ประเทศ 

 

กอบกู้ภาพลักษณ์

มีการตั้งข้อสังเกตว่า จีนอาจกำลังพยายามที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ในด้านลบ ที่ถูกมองว่าเป็นตัวการในการทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปทั่วโลก จึงไม่แปลกที่การบริจาควัคซีนให้ประเทศต่างๆ อาจเป็นการหวังผลในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ที่ผ่านมา จีนพยายามประวิงเวลาไม่ยอมให้นานาชาติเข้าไปตรวจสอบต้นตอของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวนี้อยู่เสมอ กว่าที่จะปล่อยให้นักวิทยาศาสตร์จากองค์การอนามัยโลกเข้าไป ก็ล่วงเลยมาจนกระทั่งปลายเดือนมกราคม 2564

หวัง หุยเย่า ประธาน Centre for China and Globalization ออกมาปฏิเสธความเชื่อมโยงที่ว่าจีนกำลังกู้ภาพลักษณ์ผ่านวัคซีน โดยให้เหตุผลว่า จีนเพียงต้องการช่วยเหลือประเทศอื่น เพราะจีนเองรับมือกับโควิด-19 ได้ดีอยู่แล้ว 

ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนก็ออกมาบอกในลักษณะเดียวกันว่า การบริจาควัคซีนไม่ได้เกี่ยวกับภารกิจทางการทูตแต่อย่างใด เป็นการช่วยเพื่อหวังให้เกิดผลดีต่อโลกเท่านั้น

ทางประเทศผู้รับบริจาคเอง อย่างเช่นฟิลิปปินส์ ประธานาธิบดี โรดริโก ดูแตร์เต ก็ยืนยันว่าจีนไม่ได้ขออะไรเป็นการตอบแทน หลังจากที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคจากจีนเป็นจำนวน 600,000 โดส โดยเอ่ยเพียงว่าตัวเขาจะเดินทางไปขอบคุณประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ด้วยตนเอง หลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลง

แต่สิ่งที่จีนได้รับจากการประกาศบริจาควัคซีนครั้งนี้ คือการสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับประเทศที่เป็นคู่ขัดแย้งในเรื่องทะเลจีนใต้ นับเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวกทางการทูตชิ้นหนึ่ง

 

วัคซีนตะวันตกขาดตลาด

ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันทั่วโลกเริ่มมีแนวโน้มลดลง นับตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังคงไม่สามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้

ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะได้วัคซีนของ ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna) มาครอบครอง เนื่องจากกำลังการผลิตมีจำกัด และประเทศร่ำรวยก็มักจะคว้าโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนเหล่านั้นได้ก่อน 

ด้วยเหตุนี้ วัคซีนของจีนจึงเห็นช่องทางในการเข้าไปตีตลาด โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง รวมถึงบางส่วนของยุโรปและแอฟริกา แม้ว่าจะไม่ใช่ตัวเลือกแรกที่ต้องการก็ตาม

เช่นเดียวกันกับผลสำรวจของ YouGov บริษัทสำรวจการตลาด พบว่า คนฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับวัคซีนจากซิโนแวค มีความเชื่อมั่นในวัคซีนตัวนี้น้อยกว่า 20%

แต่เนื่องจากประเทศเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนที่คนให้ความเชื่อมั่นได้ จึงจำเป็นต้องคว้าสิ่งที่มีในตลาดมาใช้ก่อน โดยหวังว่าจะมีส่วนช่วยให้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลงบ้าง แม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี

อีกทั้งการที่วัคซีนของจีนเป็นแบบ ‘วัคซีนเชื้อตาย’ หรือ Inactivated ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ใช้มานาน ทำให้บางส่วนมองว่า การใช้วัคซีนเหล่านี้ดูจะไม่ใช่เรื่องเสียหายเท่าใดนัก

 

ความสงสัยในข้อมูล

แม้วัคซีนของจีนจะได้รับอนุมัติให้ใช้งานในกรณีฉุกเฉินในหลายประเทศแล้ว แต่ก็ยังมีการตั้งคำถามถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับวัคซีน ที่ทางจีนดูจะไม่ยอมเปิดเผยต่อสาธารณชนมากเท่ากับวัคซีนจากฝั่งตะวันตก

วัคซีน Sputnik V ของรัสเซียก็เคยเจอข้อกล่าวหาในลักษณะเดียวกันมาก่อน แต่หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet ก็ทำให้ความสงสัยคลายลงไปได้เยอะ

แต่สำหรับวัคซีนของจีนเอง กลับยังไม่มีตัวใดในเฟส 3 ผ่านกระบวนการ Peer review ที่เป็นการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ในการตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพทย์ใดๆ

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบ ‘ประโยชน์’ กับ ‘ความเสี่ยง’ ที่จะได้รับแล้ว ส่วนหนึ่งยังคงประเมินว่าประชากรในประเทศจะได้รับผลดีสูงกว่าจากการฉีดวัคซีนจีนที่นำมาใช้ได้ในทันที แทนที่จะต้องรอวัคซีนจากตะวันตก ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้รับตอนไหน

 

อ้างอิง:
https://apnews.com/article/china-vaccines-worldwide-0382aefa52c75b834fbaf6d869808f51
https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)00191-4/fulltext
https://www.rappler.com/nation/duterte-plans-visit-china-thank-xi-jinping-sinovac-vaccines

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า