SHARE

คัดลอกแล้ว

ค่านิยมอยากใช้มือถือราคาถูกต้องซื้อแบรนด์จีน อาจจะค่อยๆ หายไปในอนาคต เพราะเดี๋ยวนี้ แบรนด์จีนเน้นผลิตมือถือฟังก์ชั่นสูง เพิ่มความพรีเมี่ยม แข่งกับตัวท็อปของตลาดพรีเมี่ยมอย่างแอปเปิล และซัมซุงแล้ว 

ในงาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลน่าเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (27 ก.พ. – 2 มี.ค.) ฉายภาพให้เห็นชัดมากขึ้นว่า แบรนด์มือถือจีน กำลังตีตลาดพรีเมี่ยม ต่างจัดบูธใหญ่เด่น ดึงสายตาคนเข้าร่วมงานที่จำนวนไม่น้อยเป็นบล็อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์สายรีวิวมือถือทั่วโลก

เมื่อเดือนที่แล้ว Oppo ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 4 ของโลกได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนพับได้ชื่อ Find N2 Flip ซึ่งราคาเริ่มต้นที่ราว 30,000 กว่าบาท ด้าน Xiaomi

เปิดตัว Xiaomi 13 และ Xiaomi 13 Pro ราคาเริ่มต้น 29,990 บาท, Honor บริษัทมือถือในเครือหัวเว่ย เปิดตัวสมาร์ทโฟนพับได้ในชื่อ Magic Vs ราคาเกือบ 60,000 บาท

สมาร์ทโฟนราคาแพงเหล่านี้ แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ของบริษัทจีน จากมือถือราคาประหยัดสเปกเรือธง ไปเป็นมือถือเรือธง ที่เจาะกลุ่มคนมีเงิน

[ ยอดจัดส่งมือถือลด แต่ส่วนแบ่งมือถือหรูเพิ่มขึ้น ]

ในปี 2022 ยอดการส่งมอบมือถือทั้งหมด แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา แต่ส่วนแบ่งของสมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ ซึ่งมีราคาสูงกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 27,000 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 11% ในปี 2020 เป็น 18% ในปี 2022 และแน่นอนว่าเกือบทั้งหมดเป็นของแอปเปิล และซัมซุง

นั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญ ที่แบรนด์จีน อย่าง  Honor, Oppo, Xiaomi, OnePlus, Vivo, RealMe ฯลฯ ต้องเร่งเครื่อง เปลี่ยนแผนมาจับกลุ่มพรีเมี่ยม ให้สอดคล้องกับเทรนด์ตลาด

การเปลี่ยนกลยุทธ์นี้ ยังมาพร้อมกับช่วงเวลาที่จีนเปิดเมือง ยกเลิกมาตรการป้องกันโควิดที่เข้มงวด ช่วยให้การผลิตไปต่อได้หลังถูกล็อกดาวน์ฉุกเฉินบ่อยๆ และช่วยให้ผู้บริหารซึ่งส่วนใหญ่ต้องติดอยู่ในประเทศ สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น เปิดทางสู่การขยายความสัมพันธ์และโอกาสทางธุรกิจ

[ ความท้าทายที่มือถือแบรนด์จีนต้องเจอ ]

จริงๆ แล้วมือถือแบรนด์จีนที่เจาะตลาดพรีเมี่ยมได้สำเร็จมาก่อนแล้วคือหัวเว่ย แต่ผลกระทบจากความขัดแย้งของสหรัฐและจีน การแทรกแซงและการขึ้นบัญชีดำในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของจีนอย่างกว้างขวางในปี 2019 ฉุดส่วนแบ่งของมือถือหัวเว่ยลงไปมาก

โดยเหตุการณ์ที่กระทบหัวเว่ยมากที่สุดคือ กูเกิล ยุติการสนับสนุนหัวเว่ย ทำให้ผู้ใช้งานมือถือไม่สามาาถโหลดแอปจาก Play Store ของฝั่งแอนดรอยด์ที่มีกูเกิลเป็นเจ้าของได้ 

ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายลง ผู้ใช้งานหัวเว่ยสามารถใช้งาน GMS หรือ  Google Service ได้ แต่ต้องทำการดาวน์โหลดปลั๊กอินเพิ่มเติม 

ดังนั้นความท้าทายของหัวเว่ย รวมถึงแบรนด์มือถือจีนอื่นๆ คือการต้องขยายกลุ่มพรีเมี่ยม ท่ามกลางความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจของรัฐบาลในหลายประเทศ ที่มีต่อประเทศจีน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนทำแคมเปญโฆษณา สร้างความตระหนักในลูกค้าอย่างมาก

ที่มา :  https://www.cnbc.com/2023/03/07/chinese-giants-make-high-end-smartphone-play-against-apple-samsung.html 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า