SHARE

คัดลอกแล้ว

ห่างหายไปนานกับคอลัมน์ ‘ประวัติศาสตร์การเงิน’ การกลับมาในอีพีนี้ เรามาพร้อมกับ ‘การดูโหงวเฮ้ง’ (อ่านชื่อคอลัมน์ไม่ผิด) ที่ครั้งหนึ่งพนักงานแบงก์ต้องดูโหงวเฮ้งและองค์ประกอบอื่นๆ ของลูกค้าให้เป็นก่อนปล่อยสินเชื่อ

เรื่องนี้ถูกเล่าโดย ‘สุรพล โอภาสเสถียร’ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ในวันที่มาสัมภาษณ์รายการ TOMORROW ของ TODAY Bizview

[ เจ้าหน้าที่กลั่นกรองลูกค้าระดับต้น ]

ย้อนกลับไปประมาณปี พ.ศ. 2531-2532 สมัยนั้นไม่มีบัตรเครดิต คนจะสมัครบัตรเครดิตได้ ยาก และ นานมาก และแน่นอนว่า ไม่มีเครดิตบูโร กล่าวคือ ไม่มีที่ไหนบอกได้ว่า คนๆ หนึ่งมีหนี้อยู่กี่ที่ เป็นหนี้อะไรบ้าง และมีพฤติกรรมจ่ายคืนหนี้อย่างไร

แต่ในยุคนั้น ธนาคารมีตำแหน่งงานที่เรียกว่า ‘เจ้าหน้าที่กลั่นกรองลูกค้าระดับต้น’ ที่ถ้าลูกค้าอยากได้สินเชื่อ ธนาคารจะต้องส่งทีมนี้เข้าไปคุย ซึ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กลั่นกรองลูกค้าระดับต้น คือ ต้องคุยให้ได้ข้อเท็จจริง ดูว่าลูกค้าเป็นลูกค้าดีจริงหรือไม่ มีพิรุธหรือไม่

นี่คือการ ‘รู้จักตัวตนของลูกค้า’ (Electronic Know-Your-Customer: KYC) ของธนาคารในสมัยก่อน

‘สมัยนั้นเครดิตบูโรอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เราก็จะโทรไปหาเจ้าหน้าที่ๆ นั่นว่า มีคนชื่อนี้ บริษัทนี้มาขอกู้ เครดิตเขาพอได้ไหม เขาดีไหม หรือถ้ารู้จักเพื่อนฝูงในแบงก์อื่นๆ ที่ลูกค้าคนนี้ใช้ ก็จะโทรไปเลียบๆ เคียงๆ ถาม มันคือการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไม่เป็นทางการ’

[ ดูโหงวเฮ้งลูกหนี้ก่อนปล่อยสินเชื่อ ]

นอกจากการโทรถามแบงก์ชาติและการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการแล้ว เจ้าหน้าที่ฯ จะพิจารณาองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย เช่น การดูโหงวเฮ้ง หรือการดูลักษณะตามทฤษฎีลักษณะอาชญากร เป็นต้น

แม้จะเป็นการแปะป้ายคนที่มีลักษณะหน้าตาแบบหนึ่ง แต่นี่คือความจริงในยุคที่ยังไม่เครดิตบูโรอย่างในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องพิจารณา ซึ่งผู้จัดการใหญ่ของเครดิตบูโรไม่แน่ใจว่า ปัจจุบันยังมีการทำกันอยู่หรือไม่ เช่น เวลาไปตรวจโรงงาน เมื่อเจอกองสต็อกสินค้า ต้องปีนขึ้นไปดูตรงกลางว่ากลวงหรือไม่ เป็นต้น

[ ลำดับพี่น้องก็มีผลต่อการปล่อยกู้ ]

นอกจากสิ่งที่เล่ามาข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่ฯ ยังต้องสังเกตลำดับพี่น้องของลูกหนี้ด้วยว่า เป็นลูกชายคนโต ลูกชายคนรอง ลูกชายคนกลาง หรือลูกสาวคนเล็ก โดยเฉพาะครอบครัวจีนที่มักจะให้ของดีกับพี่ชายคนโต แต่สิ่งที่ดีน้อยที่สุดจะให้ลูกสาวคนเล็ก เป็นต้น

แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น ธุรกิจโรงแรม หากบริหารงานด้วยลูกชายคนโต กิจการมักจะประสบปัญหา แต่ถ้าบริหารด้วยลูกสาวคนเล็ก กิจการมักจะรุ่งเรือง

เหตุผลเพราะลูกชายคนโตมักจะมีเพื่อนเยอะ เพื่อนมักจะมาสังสรรค์ที่โรงแรม หรือมาใช้บริการฟรี แต่ลูกสาวคนเล็กที่แต่งออกจะรู้ว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินชิ้นเดียวของตัวเอง จึงมักจะดูแลกิจการดีกว่า เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ทฤษฎี ‘ลูกคนกลาง’ (Wednesday Child) มาประกอบการพิจารณาสินเชื่อในสมัยนั้นด้วย

[ BMW ป้ายแดงก็มีผลต่อการขอเงิน ]

ยุคสมัยที่ไร้เครดิตบูโรยังไม่จบ จีเอ็มของเครดิตบูโรเล่าประสบการณ์อีกว่า นอกจากใบหน้าและพฤติกรรมของลูกค้าแล้ว นิสัยการใช้เงินก็มีผล เช่น นาย ก เพิ่งขอสินเชื่อธนาคารแห่งหนึ่งมา 10 ล้านบาท และกำลังจะนำที่ดินมาขอสินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนอีก 5 ล้านบาท

หากเหลือบไปเห็นรถ BMW ป้ายแดง เจ้าหน้าที่กลั่นกรองลูกค้าระดับต้นต้องคิดแล้วว่า 10 ล้านบาทที่กู้ไป แท้จริงเอาไปออกรถป้ายแดงหรือเปล่า

หรือตอนเข้าตรวจโรงงาน หากลูกค้าบอกว่า ทั้งโรงงานมีพนักงาน 20 คน เจ้าหน้าที่ฯ จะยังไม่เชื่อ แต่จะไปนั่งนับดูที่ตอกบัตรว่าตอกทั้งหมดกี่แผ่น

นอกจากนี้ ยังมีศาสตร์ของการนับก้าว ซึ่งก้าวของแต่ละคนจะยาวประมาณ 90 เซ็นติเมตร เวลาเดินคุยกับลูกค้าในโรงงานก็ต้องนับก้าวไว้ในใจพร้อมกับประเมินด้วยว่า พื้นเป็นวัสดุอะไร โรงงานก่อด้วยอะไร คุยไปคำนวณไปเพื่อเป็นหลักประกัน

[ สังเกตทุกอย่างเพื่อคำนวณเครดิต]

‘หัวหน้าเราเขาจะถามคำถามที่เรานึกไม่ถึง เช่น กรรมการนามสกุลเดียวกันหมด แต่ดันมีสุภาพสตรีคนละนามสกุล เป็นอนุภรรยาไหม หรือเป็นใคร’

สุรพลบอกว่า สิ่งเหล่านี้ต้องดูให้ออก เพราะล้วนมีผลต่อการดูลูกหนี้ว่าตั้งหน้าตั้งใจทำมาหากินหรือไม่ หากใส่เสื้อยืดตัวมอมอยู่โรงงาน อาจจะแปลว่าทำธุรกิจจริง แต่หากเจ้าหน้าที่สินเชื่อมาแล้วชวนไปเลี้ยงข่าว ไปไนท์คลับ ไปเทค ลักษณะนี้จะไม่ใช่แล้ว

ทั้งหมดนี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย แต่พอมาทำงานธนาคารแล้วจะมี ‘ตำรา’ ที่รุ่นพี่คอยถ่ายทอดให้ ซึ่งคนที่ทำหน้าที่นี้ต้องครูพักลักจําเอา โดยเครื่องมือที่ดีที่สุด คือการสังเกตและการดูทุกอย่าง

แต่ในสมัยนี้ เรื่องราวแตกต่างออกไป เพราะนอกจากจะมีเครดิตบูโรแล้ว ยังสามารถนำชื่อไปเสิร์ช Google ได้ง่ายๆ และหากได้ Facebook มายิ่งดี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า