Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลกระทบจากรัฐบาลจีนเล่นงานนายทุนในประเทศ หลายธุรกิจซบเซา ไปต่อไม่ไหว ต้องเลิกจ้างพนักงาน หลายแห่งต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด

ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนสั่งปราบบริษัทเทคโนโลยีจีนในประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะรายเล็กรายใหญ่โดนกันถ้วนหน้า ไล่ตั้งแต่ Alibaba, Tencent, Ant Group, ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok และที่หนักที่สุดคือ “วงการติวเตอร์ออนไลน์”

ล่าสุด มีข่าวใหญ่ว่าบริษัทกวดวิชาออนไลน์ชื่อดังของจีนต้องสั่งปลดพนักงานหลายหมื่นคน เพื่อความอยู่รอดของกิจการ พร้อมทั้งเตรียมโยกย้ายไปทำธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หนีการเพ่งเล็งของรัฐบาลจีน

Yu Minhong ประธานบริษัท New Oriental ธุรกิจติวเตอร์ออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในจีน บอกว่า “แรกๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ยังพอรับไหว แต่ตอนนี้มันมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากจนเกินไป … ตั้งแต่นโยบายของภาครัฐ ผลกระทบจากโควิด รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลแค่ธุรกิจของเราเท่านั้น แต่เป็นกันทั่วไปหมด ที่ต้องอยู่กับความไม่แน่นอน”

อันที่จริง ติวเตอร์รายนี้ประกาศไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า อาจจะปิดกิจการ แต่สุดท้ายจบด้วยการปลดพนักงานออกจากบริษัทนับ 60,000 ราย หลังจากที่รายได้ลดลงถึง 80% พร้อมทั้งใช้เงินสดของบริษัทกว่า 1 แสนล้านบาทเพื่อชดเชยให้กับพนักงานจากกรณีที่เกิดขึ้น

หลังจากนี้ มีท่าทีว่า New Oriental จะขยับไปทำธุรกิจอื่น หลังจากที่ปิดกิจการกวดวิชาลงไป โดยดูจากทิศทางของรัฐบาลจีนที่ต้องการผลักดันคนจีนในชนบท ก็เป็นไปได้ว่า จะผันตัวเองไปเป็น ‘แพลตฟอร์มช่วยเหลือเกษตรกรจีน’ โดยคาดว่าจะนำเอาคุณครูที่สอนเด็กๆ ในแพลตฟอร์ม ไปไลฟ์สตรีมช่วยเกษตรกรขายของ นำร่องหาช่องทางใหม่ในการขายสินค้า 

เรียกได้ว่า นี่อาจเป็นการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจครั้งใหญ่ของบริษัท จากบริษัทติวเตอร์ออนไลน์ สู่แพลตฟอร์มขายของการเกษตร

อย่างไรก็ตาม การล่มสลายของวงการติวเตอร์จีน เป็นผลมาจากรัฐบาลจีน โดยสี จิ้นผิงต้องการเข้ามาควบคุมและกำกับ พร้อมทั้งกำชับอย่างหนักว่าวงการนี้ต้องไม่มีกำไร ต้องปรับธุรกิจเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรเท่านั้น

ผลกระทบลามไปทุกวงการ

ไม่ใช่แค่วงการติวเตอร์ออนไลน์ เพราะวงการเทคโนโลยีอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบไปทั่วเช่นกันจากการที่รัฐบาลเข้ามากำกับมากขึ้น

หนึ่งในตัวอย่างคือ Zhao Junfeng คนจีนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบด้านไอทีมาหมาดๆ เขาให้สัมภาษณ์ไว้ว่า หลังจากเรียนจบในปี 2563 ก็เริ่มงานแรกเป็นโปรแกรมเมอร์ให้กับบริษัทอีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่ง 

หลังจากทำงานมาร่วม 2 ปี เขาตัดสินใจย้ายงานอีกครั้ง โดยในเดือนพฤศจิกายนปี 2565 เขาย้ายมาทำงานในเซี่ยงไฮ้ สังกัดบริษัทสตรีมมิ่งจีน iQiyi (อ้ายฉีอี้)

สิ่งที่เขาคาดคิดคือ การย้ายงานไปทำในเซี่ยงไฮ้ จะทำให้ชีวิตดี มีอะไรสนุกๆ ให้ค้นหา เข้าใกล้ชีวิตชนชั้นกลางในเมืองมากขึ้น และมากกว่านั้น ตัวเขาเองก็อยู่ในอุตสาหกรรมไอทีที่ดูมีอนาคตดี 

แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นว่า ผ่านไปเพียงไม่ถึง 1 เดือนหลังจากเข้าทำงาน บริษัทประสบปัญหาหนัก ขาดทุนกว่า 258 ล้านดอลลาร์ หุ้นตกฮวบกว่า 85% ทางบริษัทจึงพิจารณาปลดพนักงานราว 20% ออกจากองค์กร ซึ่งหนุ่มไอทีจีนรายนี้ก็อยู่ในกลุ่มที่ถูกปลดออกจากบริษัท ตอนนี้เขากลายเป็นคนตกงาน และไม่มีงานทำไปเสียแล้ว 

Li Yuan นักเขียนของ The New York Times บอกไว้ว่า การที่รัฐบาลจีนเข้ามากำกับบริษัทเทคโนโลยีจีน ส่งผลต่อจิตวิญญาณของผู้ประกอบการจีนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง

BEIJING, CHINA – MARCH 25: Chinese President Xi Jinping accompanies Armenian President Serzh Sargsyan to view an honour guard during a welcoming ceremony inside the Great Hall of the People on March 25, 2015 in Beijing, China. (Photo by Feng Li/Getty Images)

รัฐบาลจีนทำอะไรไปแล้วบ้างกับนายทุนจีน

ในปี 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนสั่งปราบบริษัทเทคโนโลยีจีนในประเทศ รายเล็กรายใหญ่โดนกันถ้วนหน้า เช่น 

-Alibaba ถูกสั่งปรับกว่า 8 หมื่นล้านบาท นับเป็นค่าปรับบริษัทเอกชนที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในข้อหาอำนาจเหนือตลาด

-Ant Group บริษัทในเครืออาลีบาบา ถูกสั่งห้าม IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ

-แจ๊ค หม่าหายหน้าไปจากสื่อสาธารณะ (TODAY Bizview สรุปและวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ ชมได้ที่ https://youtu.be/Qhi_z5dRC5M)

-Tencent โดนสั่งปรับหลายครั้ง หนึ่งในนั้นคือถูกปรับเรื่องผูกขาดลิขสิทธิ์ธุรกิจเพลง

-ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok พับแผน IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพราะถูกรัฐบาลจีนเพ่งเล็งเป็นพิเศษ 

-Didi แอปเรียกรถเบอร์ 1 ในจีน ถูกสั่งถอดแอปออกจากแอปสโตร์ โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าแอปดังกล่าวมีการรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไม่ถูกต้อง 

-ธุรกิจติวเตอร์ออนไลน์และโรงเรียนกวดวิชา ถูกกำหนดให้จดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงกำไร ไม่สามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือรับเงินลงทุนจากต่างชาติ 

-Weibo โซเชียลมีเดียจีน (ชื่อในวงการคือ ทวิตเตอร์จีน) ถูกปรับเล็กๆ น้อยๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 44 ครั้งในปีที่ผ่านมา

โลกธุรกิจจีนปรับใหญ่อีกครั้ง แต่ก็ต้องบอกว่า ทั้งหมดนี้เป็นแผนของพรรคคอมมิวนิสจ์จีน ตามที่สี จิ้นผิงประกาศไว้ชัดว่า จะเดินหน้าประเทศสู่ความเท่าเทียมที่เรียกว่า “Common Prosperity” หรือ “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” 

หมดแล้วยุคที่นายทุนจีนจะร่ำรวยและมั่งคั่งเหมือนอย่าง 10-20 ปีที่ผ่านมา

อ้างอิง Quartz, Bloomberg, Xinhua, NYT, WSJ, FT

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า