SHARE

คัดลอกแล้ว

อาเซียนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นที่จับตามองของบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ยกตัวอย่าง แอปเปิลสร้างโรงงานผลิตสินค้าในเวียดนาม, Tesla เลือกอินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ ตั้งเป้าผลิต 1 ล้านคันต่อปี, Foxconn ผู้ผลิตและประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะเปิดโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าในไทยโดยร่วมทุนกับ ปตท. เริ่มผลิตปี 2024

อาเซียนยังเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสูง ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และยิ่งทวีคูณในช่วงโรคระบาด 

Google, Temasek Holdings และ Bain & Co. ทำรายงานคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโต 20% เป็น 1.94 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2022 ที่ผ่านมา ความต้องการใช้ดาต้าเซนเตอร์ เพื่อให้การประมวลผลและใช้งานแอปพลิเคชั่นทำได้ไว จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย  

ผลที่ตามมาคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นตลาดที่น่าจับจองในสายตาบริษัทเทคโนโลยีคลาวด์ ทั้งสัญชาติอเมริกัน และสัญชาติจีน 

เฉพาะปี 2022 ก็มีการลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลในไทย ทั้งจาก Google และ AWS 

โดย Google ขยายศูนย์ข้อมูลในไทย เป็น 1 ใน 34 แห่งของศูนย์ข้อมูล Google ที่มีอยู่ทั่วโลก และเป็น 1 ใน 11 แห่งที่ตั้งอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ส่วน AWS หรือ Amazon Web Services ตั้ง Cloud Region ในไทย และจะมีการลงทุนเพิ่มหลักแสนล้านบาท 

ฝั่งจีน ก็ไม่แพ้กัน ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่อย่างหัวเว่ย และ อาลีบาบา ต่างก็เข้ามาจับจองและลงทุนในไทยและอาเซียน เพราะเป็นพื้นที่ที่ยังมีกำลังเติบโตได้ ยังไม่อิ่มตัว

เดือนพฤศจิกายนปี 2022 หัวเว่ยสร้างศูนย์ข้อมูลในอินโดนีเซียเสร็จสมบูรณ์ มีกำลังดึงดูดลูกค้าในท้องถิ่นได้ประมาณ 30 รายภายในสิ้นปีนี้ อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่สามในอาเซียน ที่หัวเว่ยมาเป็นโฮสต์ศูนย์ข้อมูล ร่วมกับไทยและสิงคโปร์ โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะลงทุน 300 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ในอินโดนีเซีย

ในไทยเอง หัวเว่ยมีการลงทุนสูงมาระยะหนึ่งแล้ว เลือกไทยเป็นพื้นที่สำคัญในการจัดสัมมนา ดึงดูดผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศมาเข้าร่วม และยังเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลไทย โรงพยาบาล สถาบันการศึกษาในการทำดิจิทัลดิสรัปชั่น และฝึกอบรมบุคลากรและใตาร์ทอัพเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มในพื้นที่อาเซียน

ด้านอาลีบาบา ก็เพิ่งสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งแรกในไทยเมื่อปีที่แล้ว และกล่าวด้วยว่าจะใช้ 1 พันล้านดอลลาร์ในระยะเวลาสามปี เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลให้มีศักยภาพเทียบเท่ากับศูนย์ที่ใช้จัดการระบบค้าปลีก ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของอาลีบาบา

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเป็นศูนย์กลางของอาลีบาบา ในการฝึกอบรมพนักงาน 1 ล้านคนในสาขาดิจิทัล และสนับสนุนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี 100,000 ราย 

นอกจากเหตุผลที่อาเซียนเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสการเติบโตสูง ยังมีอีกเหตุผลคือ ธุรกิจคลาวด์ในจีน เริ่มชะลอตัวแล้ว ไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว ตลาดจีนสำหรับบริการคลาวด์เติบโตเพียง 8% (Canalys) แต่การเติบโตไปอยู่นอกจีนแทน 

โดยพื้นที่ APAC ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มขึ้น 30% เป็น 8.7 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว คิดเป็น 14% ของตลาดโลก

เมื่อดูเผินๆ แล้ว ธุรกิจคลาวด์จากจีน ดูมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย และพื้นที่อาเซียนมากกว่า แต่จริงๆ แล้ว ส่วนแบ่งคลาวด์จีนยังน้อยเมื่อเทียบกับฝั่งอเมริกัน เพราะปฏิเสธยากว่า คลาวด์อเมริกันอยู่มาก่อน โดยคลาวด์จาก Amazon, Microsoft และ Google ควบคุมประมาณ 70% ของตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกัน (Canalys)

Amazon ยังวางแผนที่จะใช้เงิน 5 พันล้านดอลลาร์ในอินโดนีเซียในช่วง 15 ปีนับจากปี 2021 เพื่อสร้างศูนย์ข้อมูลที่จะขยายระบบนิเวศดิจิทัลของ Amazon

จึงเป็นความท้าทายของคลาวด์จากจีน ที่จะเจาะเข้ามาและช่วงชิงส่วนแบ่งในตลาดนี้ หนึ่งในกลยุทธ์ที่บริษัทจีนใช้คือ ราคาที่แข่งขันได้ นักวิเคราะห์บอกว่า โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการระบบคลาวด์ของจีน จะเสนอราคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกกว่าประมาณครึ่งหนึ่งของราคาของบริษัทในสหรัฐฯ 

แต่ราคาถูกกว่า อาจไม่เพียงพอ เพราะต้องไม่ลืมว่า สหรัฐ-จีนมีปัญหากันแบบตึงเครียด และใช้เทคโนโลยีเป็นตัวประกัน ที่ผ่านมาสหรัฐฯ จำกัดการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงไปจีน เพิ่มแรงกดดันให้บริษัทที่มีลูกค้าและคู่ค้าในต่างประเทศ บีบให้ต้องเลือกว่าจะใช้เทคโนโลยีของใคร ระหว่างจีน และสหรัฐฯ 

ที่มา : Nikkei Asia 1 2, TODAY 1 2 3

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า