Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากปัญหาข้อขัดแย้งในด้านความเห็นทางการเมืองที่เกิดขึ้น ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของการคลี่คลายปมเงื่อนของความแตกต่างขัดแย้งด้วยหลักความบริสุทธิ์ใจ และใช้ข้อมูลความรู้ในการแก้ปัญหา โดยอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตระหนักว่า ปัจจุบันสังคมไทยเผชิญกับสิ่งท้าทายรอบด้าน ดังนั้น จึงต้องการให้การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการตอบโจทย์ของสังคมและสาธารณะ โดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม ทั้งนี้ จากการประชุมเพื่อหาแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพของชาวจุฬาฯ ได้ข้อสรุปเชิงหลักการว่า

  1. การยอมรับความหลากหลายทางความคิดและการสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อกันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการย่างก้าวสู่อนาคตของการอยู่ร่วมกัน
  2. ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหา แต่ประเด็นปัญหาคือ การทำให้ความแตกต่างขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง ดังนั้น การแก้ไขจึงไม่ควรอาศัยแต่เครื่องมืออำนาจและระเบียบบังคับแต่อย่างเดียว หากต้องใช้เครื่องมือที่สามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพในการแก้ปัญหาร่วมกัน
  3. การตัดสินกันด้วยความชอบ-ไม่ชอบเพราะคิดเห็นต่างกัน และการสร้างความเกลียดชังต่อกัน สามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรุนแรง และนำสังคมไปสู่ทางตันได้ ดังนั้น ต้องคลี่คลายปมความเห็นต่างด้วยการขยายความรู้ความเข้าใจร่วมกัน การพิจารณาประเด็น เช่น ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุและความแตกต่างในการให้คุณค่านั้น จำต้องใช้วิชาการรวมถึงสหวิชาการจึงจะสามารถคลี่คลายปมปัญหาได้

ในส่วนของแนวทางการดำเนินการอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะสั้น การสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคต ด้วยบรรยากาศเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็น และหารือกันเกี่ยวกับกติกาและเสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งคณาจารย์ นิสิต และนิสิตเก่า ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เวทีเสวนา การระดมความคิด ฯลฯ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนพื้นที่และดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้มีรายวิชาศึกษาทั่วไปใหม่ๆ เช่น วิชาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกยุคดิจิทัลด้วย

ระยะกลาง สนับสนุนโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกำหนดควบคุมดูแลกันเอง และส่งเสริมการศึกษาวิจัยแบบสหสาขาวิชาหัวเรื่องใหม่ๆ เช่น เสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกแห่งความเสี่ยงพลังหนุ่มสาว (youthquake) เพื่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุ(generation gaps) กับพลังสังคมยุคดิจิทัล แล้วนำผลจากการวิจัยมาบูรณาการในการเรียนการสอนและกิจกรรมไปด้วย

สำหรับในระยะยาว อนาคตประเทศชาติย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ทางสังคม ในท่ามกลางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยไม่ใช้ความรุนแรง จุฬาฯ จึงเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนหาทางออกสังคม โดยร่วมสร้างความรู้ที่เหมาะสม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และเพิ่มสมรรถนะในการทำความเข้าใจความคิดที่หลากหลาย

ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว

จุทั้งนี้ ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ซึ่งเคยทำหน้าที่ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านสังคม เช่น การพัฒนา คนชายขอบ และโลกาภิวัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ดังปรากฏในกรณีโรคระบาดโควิด-19 นี้ จุฬาฯ จะเร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างพื้นที่ในการร่วมสร้างความรู้และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อการตอบโจทย์ร่วมกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า