Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าว “ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนา วัคซีน ChulaCov19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความพร้อม ในการทดสอบในอาสาสมัคร” โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการ บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นี่เป็นอีกความสำเร็จการวิจัยพัฒนาวัคซีน COVID-19 ของไทย สามารถผลิตได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพานำเข้าจากต่างชาติในอนาคต นี่จึงเป็นสิ่งยืนยันได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขกระตือ รือล้นและดำเนินการจัดหาวัคซีน มาโดยตลอด เพื่อให้คนไทยเข้าถึงได้ อย่างครอบคลุม โดยยอมรับว่า ที่ผ่านมา การเจรจาจัดซื้อวัคซีนจากบริษัทต่างชาติไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องผ่านการเจรจาต่อรองหลายครั้งกว่าจะได้รับการยินยอม ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ติดตามความคืบหน้าวัคซีนของจุฬาฯ ทุกสัปดาห์

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการทดสอบวัคซีน โควิด-19 ในลิงเข็มที่สอง ลิงสามารถ สร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง มีสุขภาพดี ดังนั้น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ พร้อม เดินหน้าเปิดทดสอบในอาสาสมัคร ต่อไป
ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากร และหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการทดสอบกับอาสาสมัครอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญเรื่องของความปลอดภัยอย่างสูงสุด เพื่อให้ประชาชน เกิดความ เชื่อมั่น และมั่นใจในความปลอดภัยของการทดสอบฉีดวัคซีนครั้งนี้ ขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลายหน่วยงาน รวมถึงนักวิจัยทางการแพทย์และ นักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนาวิจัย ต่อยอดการคิดค้นผลิตวัคซีนเพื่อใช้ ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชน มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จและสร้าง คุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย ในระดับสากลอย่างแน่นอน

ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า วัคซีน ChulaCov19 นี้ สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 และลดจำนวนเชื้อได้อย่างมากมายในหนูทดลอง ผลการทดลองล่าสุด ภายหลังจากหนูทดลองชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-19 ได้เมื่อ ได้รับการฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบสองเข็ม ห่างกันสามสัปดาห์ เมื่อหนูทดลองได้รับเชื้อโคโรนาไวรัสเข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูทดลองไม่ให้ป่วยเป็นโรคและยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดรวมทั้งสามารถลดจำนวนเชื้อในจมูกและในปอดลงไปอย่างน้อย 10,000,000 เท่า ส่วนหนู ที่ไม่ได้รับวัคซีน จะเกิดอาการแบบ โควิด-19 ภายใน 3-5 วันและทุกตัว มีเชื้อสูงในกระแสเลือด ในจมูกและปอด, วัคซีน ChulaCov19 สามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็นปกติคือ 2-8 oC ได้อย่างน้อย 1 เดือน ขณะนี้กำลังรอผลวิจัยที่ 3 เดือน ดังนั้น การขนส่งกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัด ทั่วประเทศ จึงสามารถทำได้อย่างสะดวก, วัคซีน ChulaCov19 คาดว่าจะผลิตเสร็จเพื่อนำมาทดสอบ ในอาสาสมัครได้ ประมาณต้นเดือนพฤษภาคมนี้ และกำลังเตรียมการพัฒนารุ่น 2 เพื่อทดสอบในหนูทดลองเพื่อรองรับเชื้อดื้อวัคซีนในอนาคต เพราะเนื่องจากมีเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กำลังระบาดในหลายประเทศและบางสายพันธุ์พบว่าเริ่มดื้อต่อวัคซีน ในปัจจุบัน เทคโนโลยีวัคซีน mRNA มีจุดเด่น คือสามารถออกแบบวัคซีนรุ่นที่สองเพื่อตอบโต้เชื้อที่ดื้อวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว

“จากผลการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ พบว่า วัคซีนที่วิจัย มีประสิทธิภาพ 100% โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเกาะเซลล์ได้ผลสูงกว่าวัคซีนของโมเดอร์นา อีกทั้ง ยังสามารถป้องกันเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด ใช้ปริมาณโดสที่ฉีดก็ใช้น้อยกว่าโมเดอร์นา นอกจากนี้จากการทดลองเมื่อนำเชื้อโควิดใส่เข้าไปในจมูกสัตว์ทดลองที่ได้รับวัคซีนพบว่า เชื้อลดลง 10 ล้านเท่า ซึ่งวัคซีนทำให้ไม่เกิดอาการ ป่วยแม้ได้รับเชื้อ ซึ่งจะเท่ากับจะไม่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย ขณะนี้ จุฬาฯ กำลังทำวิจัยวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อโควิด กลายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อังกฤษและสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำวิจัยควบคู่ไปกับ การทดลองวัคซีนชุดแรก รุ่นที่ 1 คาดว่า ในช่วงเริ่มต้นการทดลองระยะที่ 2 จะมีการทดลองวัคซีนเชื้อกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง ในหนูและลิงควบคู่ กันไป ซึ่งวัคซีน mRNA มีจุดเด่นตรงที่ สามารถออกแบบให้สามารถตอบโต้เชื้อดื้อ กลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และ หากการวิจัยวัคซีนรุ่น 2 สำเร็จได้ผลน่าพอใจ ก็อาจจะข้ามไม่ต้องใช้วัคซีนรุ่นที่ 1 ไปฉีดวัคซีนรุ่นที่ 2 แทน”  ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

นพ.นคร เปรมศรีผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ

ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรีผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ยืนยันสนับสนุนการวิจัยวัคซีนโควิด-19 ในประเทศ เพื่อสร้างรากฐานและพัฒนา ขีดความสามารถด้านการวิจัยวัคซีนของประเทศเพื่อรับมือการระบาด วัคซีน mRNA เป็นรูปแบบที่ ณ เวลานี้ได้รับการยอมรับแล้วว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่มีความรวดเร็วและสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่ใช้ในการรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการ กลายพันธุ์ของไวรัส จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทุ่มเทให้กับ การวิจัยวัคซีน mRNA นี้ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อความมั่นคงของประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า