SHARE

คัดลอกแล้ว

วันนี้ ‘ศรีสุวรรณ’ บุกศาลากลางเสาชิงช้า ถาม ‘ผู้ว่าฯ ชัชชาติ’ ปม ‘สวนชูวิทย์’ ตกเป็นของแผ่นดินแล้วหรือไม่

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยรับหนังสือสอบถาม “สวนชูวิทย์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วหรือไม่?” จากนายศรีสุวรรณ จรรยา อุปนายกและเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ในวันนี้ (24 มี.ค. 66)

โดย ผู้ว่าฯ ชัชชาติ บอกว่า สิ่งที่ กทม.จะดำเนินการในรายละเอียดมี 2 ส่วน ส่วนแรกที่เกี่ยวข้องกับกทม. เช่น การขออนุญาต การจ่ายภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ที่ผ่านมา ส่วนที่ 2 คือ ต้องไปยื่นคำร้องขอคัดคำพิพากษา ซึ่งตรงนี้เราไม่มีข้อมูลตรงนี้ เนื่องจาก ตอนที่ศาลมีคำพิพากษาออกมาก็ไม่ได้ส่งให้กทม.

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ อธิบายเพิ่มเติมว่า สวนของคุณชูวิทย์ กทม.ไม่เคยเข้าไปดูแล ไม่เกี่ยวข้องกับทำสวน เพราะว่าที่ผ่านมาเราไม่ได้ไปลงทุนใดๆ ทั้งสิ้น การเปิด-ปิด ก็เป็นการดำเนินการของทางสวน เรื่องนี้ กทม. รับไปตรวจสอบข้อมูล เนื่องจากเรื่องนี้ต้องมีความชัดเจน ต้องมีการตรวจสอบในระยะเวลาว่าอะไรเกิดขึ้นบ้าง โดยจะเร่งดำเนินการโดยเร็ว

สำหรับเนื้อหาหนังสือของนายศรีสุวรรณ ที่สอบถาม “สวนชูวิทย์เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วหรือไม่ ?” มีดังนี้

“ตามที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เมื่อ ม.ค.59 ในคดีรื้อบาร์เบียร์ บริเวณสุขุมวิทซอย 10 เมื่อปี 2546 โดยตัดสินลงโทษจำคุกนายชูวิทย์ และพวก 2 ปี ลดจาก 5 ปีที่ศาลอุทธรณ์เคยพิพากษาไว้ อันเนื่องจากศาลฎีกาเห็นว่าหลังเกิดเหตุ นายชูวิทย์กับพวก ได้ร่วมกับจำเลยอื่นชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายไปบางส่วนแล้ว และยังมีการนำที่ดินพิพาทไปทำประโยชน์เป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้ โดยไม่ได้นำที่ดินไปทำธุรกิจแสวงหาผลกำไรอีก บ่งบอกว่าจำเลยรู้สึกสำนึกผิด นับว่ามีเหตุปรานี เห็นสมควรกำหนดโทษใหม่ให้เหมาะสม พิพากษาแก้ว่าจากจำคุก 5 ปี ให้เหลือแค่ 2 ปี ไม่รอลงอาญา”

“สำหรับที่ดินที่นายชูวิทย์นำไปยื่นศาลเพื่อขอลดโทษนั้น ถูกนำไปสร้างเป็นสวนสาธารณะ เรียกว่า “สวนชูวิทย์” เป็นไปตามเงื่อนไขที่ให้ไว้ต่อศาล ที่จะยกที่เป็นสาธารณประโยชน์ แต่ทว่าล่าสุด สวนดังกล่าวไม่มีแล้ว เมื่อพื้นที่สวนดังกล่าวกำลังก่อสร้างพลิกโฉมเป็นอาคารสูงโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ อันเป็นที่สงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมกันอย่างมากว่า การอุทิศที่ดินของนายชูวิทย์ให้เป็นสวนสาธารณะ โดยมิได้นำไปจดทะเบียนนั้น จะถือได้ว่าที่ดินกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามป.พ.พ.มาตรา 1304 โดยไม่จำต้องนำไปจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 525 นั้น จะถือว่ามีผลโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วหรือไม่ หากมีผลสมบูรณ์แล้ว เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.ที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า