SHARE

คัดลอกแล้ว

“ถ้ารู้แบบนี้ไปฟังดีกว่า” ต้องพูดว่าหลายคนอาจจะพูดประโยคนี้ หากรู้ว่าสิ่งที่ได้รับจากงาน Corporate Innovation Summit หรือ CIS 2024 ที่จัดขึ้นโดย RISE เมื่อวันที่ 25-26 กันยายนที่ผ่านมา อัดแน่นเนื้อหาไปด้วยอะไรบ้าง ภายใต้ธีมหลักของงานก็คือ ‘Redefining Growth and Sustainabiliy in the AI Era’

คือไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมไหนจะมีการกำหนดทิศทางการเติบโตเสมอ และยิ่งในยุคของ AI (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) ที่ต้องพ่วงมากับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่อย่าง ‘ความยั่งยืน’ สิ่งเหล่านี้จะผสานกันอย่างไร หากขาดการชี้แนะจากกูรูเฉพาะด้าน ซึ่งภายในงาน CIS ปีนี้ วิทยากรกว่า 100 ชีวิตจากทั่วโลก พวกเขาเปรียบเสมือนซูเปอร์ฮีโร่ที่รวมตัวกัน และสลับกันให้ความรู้ แนวคิด และกรณีศึกษาที่น่าสนใจตลอดทั้งวัน

อย่าง หมอคิด – ศุภชัย ปาจริยานนท์ CEO และผู้ก่อร่วมตั้ง RISE ที่กล่าวเปิดงานตั้งแต่แรก เขาได้พูดถึงภูมิทัศน์ด้านนวัตกรรมที่จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปในอนาคต ทั้งยังพูดแตะสถานการณ์ปัจจุบันที่ค่อนข้างสวนทางกัน โดยเฉพาะ ‘อัตราการเกิด’ ในไทยและทั่วเอเชียที่ต่ำลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าจะกระทบต่อภาพรวมทั้งประเทศ ในฐานะที่ไทยเองก็เป็นประเทศแห่งการท่องเที่ยว, ชาติแห่งการผลิต และมีเกษตรกรรมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ ดังนั้น จำนวนประชากรที่น้อยลงเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นส่วนสำคัญในการต่อลมหายใจ

“เชื่อว่าอนาคตของนวัตกรรมองค์กรไม่ได้เกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจมากนัก ทุกองค์กรจำเป็นต้องยอมรับความยั่งยืนเป็นแนวทางใหม่ โดยเปลี่ยนวิกฤตการณ์ให้เป็นโอกาสใหม่ให้ได้”

ภายในงาน CIS 2024 ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจและครอบคุลมใน 5 เรื่องนี้ ก็คือ 

Corporate Innovation, Sustainability, AI & Deep Technology, People Transformation และ Future of Investment สะท้อนให้เห็นว่า เป็น 5 ประเด็นที่สังคมให้ความสำคัญ และมีอิทธิพลสูงในแง่ต่างๆ  

จากที่ได้ฟังมาตลอดทั้ง 2 วันเต็ม TODAY Bizview อยากหยิบบางมุมที่น่าสนใจจากงานนี้มาแชร์ให้ชาวบิซวิวได้อ่านกัน อย่างน้อยๆ ก็น่าจะเป็นคลังข้อมูลที่ย่อยง่ายพร้อมอ่าน และทำความเข้าใจไปด้วยกันได้

 

[ ตัวอย่างบางส่วนจากงาน CIS 2024 ]

Nicolas Sauvage ประธานบริษัท TDK Ventures ที่ได้พูดถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเชิงลึก (Deeptech) ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร มีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนอย่างไร ทั้งยังย้ำว่า นวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ แน่นอนว่ามันไม่ใช่แค่ในภาคธุรกิจ แต่ยังในแง่ของสังคมด้วย

รวมไปถึงวิธีที่ทำ CVC ที่จะผลักดันในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น วิธีการที่มนุษย์เราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนขึ้น ซึ่ง TDK Ventures ที่ผ่านมาก็ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่ง และเน้นที่ประโยชน์จากนวัตกรรมของพวกเขาสู่สังคมและโลกที่ยั่งยืน

ณัฐภัทร ธเนศวรกุล หัวหน้าอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาจาก RISE เป็นคนที่มาช่วยขยายความเกี่ยวกับ CVC ว่าต่างจาก VC ที่หลายคนเคยได้ยิน คือ เป็นการร่วมลงทุนขององค์กร(ส่วนใหญ่เป็นองค์กรใหญ่) ซึ้่งจัดตั้งเพื่อทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพเพื่อได้ใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยี

เขาได้พูดถึงเทรนด์การลงทุน CVC ในปี 2024 ใน 3 ด้านหลักๆ คือ AI, ความยั่งยืน และพลังงานใหม่ โดยยกตัวอย่าง ‘Salesforce’ บริษัทที่ทำ CVC ได้น่าสนใจ คือ แทนที่จะเปิดบริษัทใหม่ไปเลย หรือจัดตั้งบริษัทลูก แต่กลับทำ CVC และพัฒนาร่วมกับสตาร์ทอัพ ซึ่ง Zoom โปรแกรมประชุมทางไกลที่ฮิตกันในช่วงโควิด-19 คือ หนึ่งในผลงานของ Salesforce ที่ชาญฉลาด

วรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ที่มาเล่าแนวคิดเบื้องหลังของการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น AI Map, การร่วมมือกับ 3rd party เพื่อพัฒนาเส้นทางให้ไรเดอร์ในไทยสะดวกขึ้น พร้อมอินไซต์ของร้านค้าในแอปพลิเคชั่น Grab Food 2 ใน 10 ไม่มีรูปอาหารประกอบ จึงเป็นส่วนที่ทำให้ AI เข้ามาช่วยจุดอ่อนนี้ได้ รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆ ที่หลายอย่างที่เน้นการปิด pain point ทั้งผู้ขาย – ผู้ซื้อ และไรเดอร์

ดร.ปรัชญ์ เหตระกูล Marketing Science Partner จาก Meta ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘Social Engagement’ ว่าจริงแล้วมันเป็นแค่ขาหนึ่งที่นักการตลาดใช้ในการวัดผลลัพธ์ แต่ความจริงคือมีเครื่องมืออีกเยอะมากๆ นักการตลาดต้องรู้จักและใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ‘Media Mix Modeling’ (MMM) ให้เป็น มันคือ โมเดลส่วนผสมการตลาด ต้องอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้การวัดและประเมินผลกระทบทางการตลาดต่างๆ

เป็นโมเดลที่จะช่วยให้มาร์เก็ตเตอร์เห็นผลกระทบแบบรอบด้าน เห็นปัญหาจริงๆ ก่อนที่จะลงทุนการตลาด ซึ่ง Social Engagement ไม่ใช่การวัดผลลัพธ์เชิงลึก และไม่เหมาะกับการกำหนดทิศทางเชิงธุรกิจเพียงแค่ข้อมูลส่วนนี้บอก

‘การสร้างแบรนด์’ สำคัญกว่ายอดแชร์ ยอดไลก์ ที่วัดผลผิวเผิน การสร้าง Brand Awareness, Brand Equity, Sales Unit, และ Quality of Leads สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงผลกระทบต่อธุรกิจที่แท้จริง แต่ธุรกิจจำเป็นต้องสร้างความแข็งแรงให้กับแบรนด์ตัวเองเสียก่อน

ฮิโตชิ ฮามากูจิ ประธานของ Dentsu ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเขาได้พูดถึงพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีว่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ดี และทั้งสองสิ่งนี้จำเป็นต้องผสมผสานกันเพื่อให้ธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้นในยุคนี้

“การแก้ปัญหาในปัจจุบันต้องมีทั้งการสร้างสรรคืและเทคโนโลยี แทนที่องค์กรจะเน้นไปที่กำไรเหมือนเมื่อก่อน ตอนนี้ต้องขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเป้าหมาย (Purpose-Driven Organization) โดยสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคมถึงจอยู่รอดได้”

โดยแชร์ 6 ปัจจัยที่องค์กรควรปรับวิธีคิด มองปัญหาต่างๆ ให้เป็นโอกาสอยู่เสมอ ได้แก่

  • ค่านิยมทางสังคม (Societal Values)
  • นโยบายและเป้าหมาย SDGs (Policy and SDGs)
  • การปรับตัวของอุตสาหกรรม (Industry Pivot)
  • เป้าหมายใหม่และโมเดลธุรกิจ (Renewed Purpose & Business Model)
  • ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทันสมัย (Modernised Products & Services)
  • ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Coalitions for Change)

ในมุมของคนทำงานภายในงาน CIS 2024 ก็ถือว่าได้รับกระแสตอบรับดีเช่นกัน มีหลายๆ คนที่ให้ความสนใจสถานการณ์ความเป็นอยู่และการทำงานมากขึ้น ซึ่งในปีนี้ รฐิยา อิสระชัยกุล’ Chief Commercial Officer, RISE ได้พูดถึงการกำจัด ‘ซอมบี้’ ในสถานที่ทำงาน

เธอเล่าย้อนไปถึงต้นเหตุของปรากฎการณ์นี้ว่ามาจากหลายสาเหตุอะไรได้บ้าง เช่น การไม่มีพื้นที่ให้พนักงานที่มีไอเดียเจ๋งๆ ได้ปล่อยของ, ไม่มีการสนับสนุนหรือต่อยอดไอเดียที่น่าสนใจ, ไอเดียนั้นๆ จากพนักงานไม่เคยถูกนำมาใช้จริง หรือพัฒนาให้มันเกิดขึ้นจริง, ไม่เคยได้รับการสนับสนุน หรือให้ทรัพยากรในการพัฒนา

สิ่งเหล่านี้กำลังฆ่าไฟในการทำงานของพนักงานในองค์กรโดยไม่รู้ตัว เพราะคนที่นำเสนอไอเดียจะเริ่มหมดพลัง หมดกำลังใจ ไม่อยากเสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ออกไป และสุดท้ายไม่อยากทำงานอยู่ที่บริษัทนี้อีกต่อไปแล้ว

เธอย้ำด้วยว่า นี่คือสัญญาณอันตรายว่าองค์กรกำลังเผชิญกับ ‘Innovation Zombies’ หมายความว่า พนักงานเองก็รู้สึกเบื่อหน่าย องค์กรเองก็ยังเผาผลาญทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์ สุดท้ายองค์กรก็ย้ำอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน

สิ่งที่เธอแนะนำก็คือ ลดขั้นตอนหรือกระบวนการระหว่างพนักงานกับนายจ้างให้น้อยลง เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และค้นหา Innovation Sponsorship ผู้ที่คอยสนับสนุนทีมเป็น ‘ตัวกลาง’ ในการต่อยอดไอเดียจากทีมที่คิด และสิ่งที่เจ้าของ/นายจ้างต้องการให้เห็นตรงกันมากที่สุด

ทั้งหมดที่หยิบมาเล่านี้เป็นเพียงบางส่วนจากความน่าสนใจที่เกิดขึ้นในงานนี้ ยังมีกูรูอีกมาก รวมถึงประเด็นที่เป็นกระแสในสังคม ทั้งอาหารเพื่ออนาคต, AI กับโลกของเกม, เครื่องมือที่เรียกว่า D-V-F Framework, Fintech, AI กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ถ้าหยิบมาเล่าทั้งหมดเกรงว่าบทความนี้จะยาวเป็น essay แน่ๆ ฉะนั้น สำหรับคนที่พลาดปีนี้ ไม่เป็นไร เจอกันอีกทีปีหน้าจ้า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า