SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ธนาคารซิตี้แบงก์’ คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2567 จะมีการเติบโตที่ราว 3.6% จากการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว ตลอดจนการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะจากต่างประเทศ

ขณะที่ยังต้องติดตามข้อสรุปของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่ยังมีความไม่แน่นอน แต่หากไม่มีมาตรการนี้ ยังคงมองว่าภาครัฐมีแนวโน้มออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง พร้อมกันนี้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 1.7% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะยังคงอยู่ที่ 2.5% จนถึงปี 2568

‘นลิน ฉัตรโชติธรรม’ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เผยว่าว่า “ธนาคารคาดการณ์ว่า GDP ประเทศไทยในปี 2567 จะเติบโตอยู่ที่ 3.6% โดยมีปัจจัยหลักจากการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นหลังการขึ้นค่าแรงและมาตรการทางการคลัง นอกจากนี้ภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวอยู่ที่ 3.3% จากปีก่อนหน้าจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ยังคงเผชิญความท้าทายจากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลก ขณะที่แผนการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ของรัฐบาลอาจส่งเสริมการเติบโตให้แก่ภาคส่วนดังกล่าวในอนาคต อย่างไรก็ตามหนี้ครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจะเป็นปัญหาทางโครงสร้างที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีนี้”

ด้านภาคการท่องเที่ยวยังคงมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางสู่ประเทศไทยราว 35.2 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 41 ล้านคนในปี 2568 ซึ่งตัวเลขการคาดการณ์ดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนพร้อมกันนี้มาตรการฟรีวีซ่าสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางจากประเทศรัสเซีย จีน อินเดีย และไต้หวัน จะเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตให้ภาคการท่องเที่ยวได้

ขณะที่ในปีนี้และระยะปานกลางรัฐบาลมีแนวโน้มดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว โดยคาดว่าการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐจะเร่งตัวขึ้นหลังมีการประกาศใช้พ.ร.บ งบประมาณปี 2567 อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามข้อสรุปของการอนุมัติร่างพ.ร.บ. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งคิดเป็น 2.8% ของ GDP

ทั้งนี้ หากดิจิทัลวอลเล็ตไม่เกิดขึ้น ซิตี้แบงก์คาดการณ์ว่ารัฐบาลอาจมีมาตรการอื่นๆ ซึ่งอาจจะใช้งบที่ลดลงและมุ่งเน้นไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และด้วยการดำเนินมาตรการทางการคลังเชิงรุกดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้การลดระดับการขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Consolidation) กลับมาอยู่ที่ระดับใกล้เคียงก่อนช่วงโควิดที่ประมาณ 3.0% GDP อาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีก 3-4 ปี

สำหรับเทรนด์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่โดดเด่น ได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขการขอสนับสนุนการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนอีกด้วย

นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในระดับ 1-3% ของกรอบเป้าหมาย ที่ 1.7% ในปี 2567 และ 2.2% ในปี 2568 แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อหลายเดือนที่ผ่านมาออกมาต่ำกว่าคาด แต่ในปีนี้ยังคงมีความเสี่ยงขาขึ้นจากปัจจัยความไม่แน่นอนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และการทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานของรัฐบาลและธนาคารซิตี้แบงก์คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะรักษาดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.5% จนถึงปี 2568 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า