Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการปกป้องพลเมืองของตนเองให้ปลอดภัย แม้พลเมืองจะอยู่ต่างประเทศ แต่เมื่อถูกละเมิดจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต รัฐบาลหลายแห่งก็เลือกที่จะดำเนินการช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ เสมอ

workpointTODAY พามาดูกรณีศึกษาเรื่องนี้กัน

ประเทศไทยเคยมีกรณีปี 2553 นายวีระ สมความคิด นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมด้วยคณะอีก 5 คน เดินทางเข้าพื้นที่พิพาทบ้านหนองจาน ต.บ้านโนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ก่อนถูกทางการกัมพูชาจับกุมเนื่องจากอ้างว่าล้ำเข้าเขตแดนกัมพูชาผิดกฎหมายขณะนั้นทางการไทยมีการตอบสนองทันที ผู้จัดการรายงานว่าผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) และแม่ทัพภาคที่ 2 ได้ประสานพุดคุยกับทหารกัมพูชาเพื่อประสานขอตัวบุคคลทั้ง 7 กลับแต่ก็ไม่เป็นผล
วันต่อมานายอภิสิทธิ์แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาปล่อยตัวบุคคลทั้ง 7 ทันที ขณะที่ฮุนเซนแถลงว่าไม่อาจปล่อยตัวได้เนื่องจากทำผิดกฎหมายกัมพูชา
แต่รัฐบาลไทยไม่ลดละความพยายาม ไทยรัฐรายงานว่านายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศในขณะนั้นถึงกับเดินทางไปเจรจาที่กัมพูชาด้วยตัวเอง แต่ไม่เป็นผล นายกษิตให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่ากัมพูชามีคลิปวีดีโอหลกฐานว่าข้ามชายแดนกว่า 1 กิโลเมตร
วันที่ 9 ม.ค.54 ไทยรัฐรายงานว่านายอภิสิทธิ์แถลงแก่สื่อมวลชนว่า “ขณะนี้เราทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือ ทั้งทางการทูต การเจรจาในระดับรัฐบาล รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการเตรียมแผนรองรับ เบื้องต้นเราดูแล 7 คนไทยให้ดีที่สุด ส่วนปัญหาอื่นๆ จะว่ากันภายหลัง”
ในจำนวน 7 คนที่ถูกจับกุม ศาลกัมพูชาให้ประกันตัวได้ 5 คนโดยสถานทูตไทยประจำกรุงพนมเปญสำรองเงินให้ก่อน ส่วนนายวีระและ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกกัมพูชาจากข้อหาลักลอบเข้าเมืองและจารกรรมข้อมูล
น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ได้รับการปล่อยตัววันที่ 1 ก.พ. 2556 จากการพระราชทานอภัยโทษเนื่องในการสวรรคตของเจ้านโรดม สีหนุ เมื่อถึงไทยเธอเข้าพบนายสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อขอให้ช่วยเหลือนายวีระ
จนกระทั่งปี 2557 หลังคสช.ยึดอำนาจ ไทยรัฐรายงานว่าวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 คสช.ส่งนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เข้า พบรมว.การต่างประเทศกัมพูชาเพื่อแจกแจงความเป็นไปของการเมืองไทย วันเดียวกันสื่อไทยก็ลงข่าวนายวีระได้รับอภัยโทษแล้ว ปล่อยตัวและกลับถึงไทยในวันที่ 2 ก.ค. 2557
อย่างไรก็ดี หลังกลับมายังประเทศไทย นายวีระ สมความคิด โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวตัดพ้อว่ารัฐบาลคสช.ไม่ได้มีส่วนช่วยเหลือให้เขาพ้นจากเรือนจำครั้งนี้ อีกทั้งกล่าวว่า”ไม่มีรัฐบาลใดตั้งใจที่จะช่วยผม” นอกจากนี้ก็กล่าวยืนยันว่าตนไม่ได้รุกล้ำพื้นที่หรือทำผิดกฎหมายกัมพูชาในข้อหาใด ๆ ที่ถูกตัดสินแต่อย่างใด

ปี 2560 คนงานเหมืองสัญชาติฝรั่งเศสคนหนึ่งถูกลักพาตัวไประหว่างทำงานที่เหมือนในประเทศ ‘ชาด’ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา สุดท้ายรัฐบาลฝรั่งเศสตัดสินใจร่วมกับกับรัฐบาลซูดานและชาดส่งทหารเข้าไปชิงตัวเขากลับมาอย่างปลอดภัย
คนงานเหมืองคนนี้ชื่อนายเธียรี เฟรอซิเย อายุ 60 ปี ถูกลักพาตัวไปบริเวณเมือง Goz Beid ในตอนใต้ของประเทศชาดเพื่อเรียกค่าไถ่ในวันที่ 23 มีนาคม 2560 รัฐบาลฝรั่งเศส ขณะนั้นนำโดยนายฟรองซัวส์ โอลลองด์ประสานรัฐบาลชาดและซูดานเพื่อขอความร่วมมือในการติดตามตัวกลับคืนมาทันที
ปลายเดือนเดือนมีนาคมรัฐมนตรีด้านความมั่นคงของชาดออกมาคอนเฟิร์มว่าเขายังถูกจับตัวอยู่ภายในประเทศ หน่วยปฏิบัติการลับของซูดานจึงเริ่มปฏิบัติการค้นหาเขา ติดตามแกะรอยจากชาดไปยังซูดาน
สุดท้ายชิงตัวมาได้สำเร็จในต้นเดือนพฤษภาคม 2563 ขณะที่เขาถูกพาตัวไปไว้ที่เขตดาร์เฟอร์ของซูดาน มีการจับกุมผู้ลักพาตัวทั้ง 5 คนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ทั้งเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและซูดานยืนยันว่าปฏิบัติการครั้งนี้ทำสำเร็จโดยไม่ได้เสียค่าไถ่แม้แต่ยูโรเดียว
 

เดือนมกราคม 2020 มุสตาฟา คาสเซ็ม ชาวสหรัฐฯ วัย 54 ปีเสียชีวิตในเรือนจำอียิปต์หลังถูกจำคุกกว่า 6 ปี
คาสเซ็มเป็นชาวสหรัฐฯ ทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ในเมืองนิวยอร์ก ถูกจับในอียิปต์ตั้งแต่ปี 2556 เพราะไปเยี่ยมญาติในอียิปต์ แต่ช่วงนั้นอียิปต์เกิดความไม่สงบทางการเมืองทำให้คาสเซ็มถูกจับกุมเข้าไปด้วยและถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี กลุ่มสิทธิมนุษยชนบอกว่าเขาถูกยัดข้อหาที่ไม่เป็นความจริง
ก่อนหน้านี้เขาพยายามเฮือกสุดท้ายขอความช่วยเหลือจากทรัมป์ โดยการส่งจดหมายน้อยเล็ดลอดออกมาจากคุกที่มีความปลอดภัยสูงสุดออกมา ผู้สื่อข่าววอชิงตันโพสต์รายงานว่าข้อความในจดหมายเขียนว่า “ชีวิตของผมอยู่ในมือคุณ”
หลังจากนั้นเขาป่วยหนักและประท้วงอดอาหารจนเสียชีวิตในเรือนจำอียิปต์ในเวลาต่อมา
สหรัฐฯเคยช่วยเหลือพลเมืองของตัวเองจาการถูกจองจำไม่เป็นธรรมในประเทศอื่นมาแล้ว แต่ครั้งนี้หลายคนมองว่าเป็นเพราะผลประโยชน์ทับซ้อนที่สหรัฐฯต้องเป็นพันธมิตรกับอียิปต์เพื่อรักษาดุลอำนาจในตะวันออกกลางไว้
วอลตรีทเจอร์นัลเคยรายงานว่าทรัมป์ชมผู้นำอียิปต์ว่าเป็นเผด็จการคนโปรดและเป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่
ขณะที่ส.ส.พีท คิง ซึ่งเป็นส.ส.เขตของนายคาสเซ็มกล่าวประนามทรัมป์และร้องขอให้คว่ำบาตรอียิปต์เพื่อรับผิดชอบเหตุการณ์นี้

โซฟี เปโทรแนง ชาวฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรช่วยเหลือเด็กกำพร้าในประเทศมาลี ถูกลักพาตัวไปโดยกลุ่มชายติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2559
พบเจอเธอครั้งสุดท้ายคือภาพวีดีโอจากผู้ลักพาตัวในเดือนมิถุายน 2018 ที่เธอร้องหาลูกชายและขอร้องให้ประธานาธิบดีเอมานูเอล มาครงช่วยเหลือ ก่อนเธอถูกลักพาตัวเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งและมาลาเรีย ภาพในวีดีโอปรากฎว่าสุขภาพทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก
ปี 2560 รัฐบาลทราบว่ากลุ่มติดอาวุธบูร์กินาฟาโซอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้เพราะกลุ่มดังกล่าวปล่อยภาพวีดีโอชาวต่างชาติ 6 คนออกมาและมีโซฟีอยู่ในกลุ่มด้วย
เดือนเมษายน ปี 2563 กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสออกมายืนยันว่าพบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าเธอยังมีชีวิตอยู่อย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 2563 อย่างไรก็ดีรัฐบาลยังไม่พบหนทางที่จะช่วยเหลือเธอได้
ขณะที่ประธานาธิบดีเอมานูเอลมาครองกล่าวว่าฝรั่งเศสกำลังทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อพยายามระบุสถานที่ที่เธออยู่ในปัจจุบัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า