Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กฤษฎีกา ยอมรับไม่ได้ให้สิทธิ์เท่ากับคู่สมรส โดยสิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับคู่สมรส จะประเมินผลและพิจารณาในระยะต่อไปหลังกฎหมายมีผลใช้บังคับไปแล้ว

วันที่ 8 ก.ค. 2563 นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ…. ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมทั้งได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อแก้ไขบทบัญญัติบางมาตราให้สอดคล้องกัน

นายนพดล ระบุว่า ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต พ.ศ. … ประกอบด้วย 4 หมวด 46 มาตรา มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสิทธิ์และหน้าที่ของคู่ชีวิต โดยเทียบเคียงกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่

หมวด 1 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียนคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์

หมวด 2 ว่าด้วยเรื่องการเป็นคู่ชีวิต มีสาระสำคัญ อาทิ
– คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา
– เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิตมีสาระสำคัญ อาทิ หน้าที่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
– เรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตมีสาระสำคัญ อาทิ ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตนอกจากที่ได้แยกไว้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวย่อมเป็นทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต
– เรื่องความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิตมีสระสำคัญ อาทิ การห้ามการสมรสซ้อนและจดคู่ชีวิตซ้อน
– เรื่องการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิตมีสาระสำคัญ อาทิ การเป็นคู่ชีวิตย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือการเลิกการเป็นคู่ชีวิต

หมวด 3 ว่าด้วยเรื่องบุตรบุญธรรม มีสาระสำคัญ อาทิ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตโดยอนุโลมและสามารถรับบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายเป็นบุตรบุญธรรมของตนได้

หมวด 4 ว่าด้วยเรื่องมรดกมีสาระสำคัญ อาทิ เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก เป็นต้น

“ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีกฎหมายรองรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพศเดียวกันอันเป็นการตระหนักถึงความเป็นจริงของสภาพสังคมในปัจจุบัน และเป็นการส่งเสริมการก่อตั้งสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานที่จะช่วยให้ประเทศมีความมั่นคง โดยกำหนดสิทธิหน้าที่ไว้เช่นเดียวกับคู่สรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

นายนพดล ระบุด้วยว่า ในระยะแรกยังไม่ได้กำหนดให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่สมรสตามกฎหมายอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อใช้บังคับไประยะหนึ่งแล้ว หน่วยงานจะประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดให้ได้รับสิทธิอื่นๆ ได้ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า